การนำเสนอผลงานการจัดการความรู้ประจำปี งป.60

คณะทำงานการจัดการความรู้ รร.นร.นำทีมโดย พล.ร.ต.หญิง พรทิพย์ เมฆลอย ผทค.ทร. ไปนำเสนอผลงานการจัดการความรู้ประจำปี งป.60 เมื่อ 7 ก.ค. 60 ณ ห้องประชุม 2 บก.ทร. ต่อคณะกรรมการตัดสินรางวัลการจัดการความรู้ของ ทร. โดย รร.นร.นำเสนอ “การปรับกระบวนทัศน์ (paradigm shift) เพื่อพัฒนาสู่ RTNA 4.0” หรือยกระดับ รร.นร.สู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ องค์กรนวัตกรรม และองค์กรขีดสมรรถนะสูง  เป็นการแสดงการขับเคลื่อนแบบก้าวกระโดด โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ ตามนโบาย Thailand 4.0  ในบริบทของสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทาง

เทคนิคการสอน นนร.ภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ ที่ทำให้ลดเวลาการเรียนรู้ของ นนร.

การเรียนการสอนของ นนร.มีข้อจำกัดหลายประการ  ที่ทำให้ลดเวลาการเรียนรู้ของ นนร. อาจารย์ ฝศษ.รร.นร.จึงต้องใช้เทคนิคที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของแต่ละวิชา ซึ่ง ฝศษ.รร.นร.เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ จึงจัดเวลาให้อาจารย์จากกองวิชาต่าง ๆ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ซึ่งหลาย ๆ ท่านสามารถนำเทคนิคเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ได้

เทคนิคการสอน

การสร้างรากแก้วกองทัพเรือ โดย พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์

องค์ความรู้เรื่อง “การสร้างรากแก้วกองทัพเรือ” เป็นการถอดความรู้ แนวคิด และประสบการณ์ของ พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผบ.รร.นร. โดยคณะนายทหารที่เข้ารับการอบรมเป็นผู้ส่งเสริมการจัดการความรู้เมื่อปี งป.๕๙

การสร้างรากแก้วกองทัพเรือ

แบบประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง(Authentic Assessment)

การประเมินตามสภาพจริง(Authentic Assessment)

                วิธีการวัดและประเมินที่ยอมรับกันว่าสอดคล้องกับแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญคือ การประเมินตามสภาพจริง(Authentic Assessment) เพราะเป็นวิธีการที่สามารถค้นหาความสามารถ และความก้าวหน้าในการเรียนรู้ที่แท้จริงของผู้เรียน และยังเป็นข้อมูลสำคัญที่สามารถนำมาใช้ประกอบการตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ด้วยการประเมินตามสภาพจริง มีลักษณะ ดังนี้

  1. เป็นการประเมินที่กระทำไปพร้อม ๆ กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการเรียนรู้
  2. เป็นการประเมินที่เน้นพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียนที่แสดงออกมาจริงๆ
  3. เน้นการพัฒนาผู้เรียนอย่างเด่นชัด และให้ความสำคัญกับการพัฒนาจุดเด่นของผู้เรียน
  4. เน้นการประเมินตนเองของผู้เรียน
  5. ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสถานการณ์ที่เป็นชีวิตจริง
  6. ใช้ข้อมูลที่หลากหลาย มีการเก็บข้อมูลระหว่างการปฏิบัติในทุกด้าน

ในการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือในวิชาประวัติศาสตร์ กวกส.ฯ ได้ออกแบบประเมินให้สอดคล้องกับวิธีการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย

      1. แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม (๒๐ คะแนน)

      2. แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ( ๓๐ คะแนน)

3. แบบประเมินความคิดเห็นของ นนร.ที่มีต่อผลงาน

4. แบบบันทึกการทำงานกลุ่ม

รายละเอียดตาม แบบประเมินประวัติศาสตร์57