สารบัญ
บทที่ ๑
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
๑ วารสารวิชาการมีความสำคัญยิ่งในฐานะที่เป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ความรู้ ความคิดและพัฒนาการที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ตลอดจนความเคลื่อนไหวในแง่มุมต่าง ๆ ของวิทยาการอันหลากหลาย การอ่านวารสารวิชาการ จึงเป็นสิ่งสำคัญในการติดตามความรู้ใหม่เพื่อเป็นข้อมูลในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย เผยแพร่ไปยังประชาคมวิชาการ ตลอดจนชุมชนเป้าหมายที่จะนำผลการศึกษาวิจัยไปใช้ประโยชน์
๒ การจัดการศึกษาของ รร.นร. มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งสู่มาตรฐานระบบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา ด้านงานวิจัย โดยการยกระดับงานวิจัยของคณาจารย์ รร.นร.ให้เป็นไปตามมาตรฐานการเผยแพร่งานวิชาการ เพื่อให้มีคุณภาพสูงขึ้นและเพื่อผลักดันให้เกิดมาตรฐานที่ใกล้เคียงหรือเทียบได้กับนานาชาติ ซึ่ง รร.นร.เห็นชอบให้มีการจัดทำวารสารทางวิชาการของ รร.นร.เองเพื่อเป็นพื้นที่/เวทีให้แก่คณาจารย์ และนักวิจัย รร.นร. และจากสถาบันภายนอกในการเผยแพร่ผลงานทางวิชา
กวกส.ฝศษ.รร.นร. มีพันธกิจในการให้ความรู้แก่ นนร.ทางด้านสังคมศาสตร์ และในฐานะที่เป็นกองบรรณาธิการวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ได้ตระหนักถึงภารกิจในอันที่จะเป็นแหล่งรวบรวมและเผยแพร่ความรู้ความคิดในรูปของการเสนอบทความทางวิชาการ งานวิจัย ความคิดเห็น บทวิจารณ์ และเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ รวมทั้งภารกิจที่จะจัดระบบส่งเสริมสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัย รวบรวม เผยแพร่ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในผลการศึกษาวิจัยเหล่านั้น ไปสู่กลุ่มผู้อ่านที่เป็นประชาชนทั่วไปได้กว้างขวาง อันจะยังคุณค่าต่อการศึกษาอย่างสูง ด้วยเหตุนี้ จึงได้พยายามผลักดันให้มีการจัดทำวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ขึ้น มีกำหนดออกในระยะแรกปีละ ๑ ฉบับ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก รร.นร. ปีละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท และบทความทุกเรื่องได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอก รร.นร.
ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ กวกส.ฯ จึงได้จัดทำคู่มือวารสารวิชาการ รร.นร. เพื่อจะได้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติงาน และพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการของ รร.นร.อย่างต่อเนื่อง ให้เป็นวารสารวิชาการที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์มาตรฐานวารสารวิชาการสาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ต่อไป
วัตถุประสงค์
๑ เพื่อเป็นคู่มือในการปฏิบัติงานผลิตวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์
๒ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทราบวิธีและขั้นตอนการจัดทำวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ อย่างชัดเจน
๓ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ สอดคล้องกับนโยบายและวัตถุประสงค์ของการจัดทำวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์
ขอบเขตหรือข้อจำกัด
คู่มือการจัดทำวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ สามารถปรับใช้กับวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านอื่นได้
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑ ได้คู่มือในการปฏิบัติงานด้านการจัดทำวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์
๒ ผู้ปฏิบัติงานทราบวิธีและขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านการจัดทำวารสารวิชาการ รร.นร. ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ และสามารถปฏิบัติงานดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ และสอดคล้องกับนโยบายและวัตถุประสงค์ของการจัดทำวารสารวิชาการของ รร.นร.อย่างชัดเจน
๓ ผู้บริหารสามารถใช้ประโยชน์เพื่อการบริหารจัดการงานวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทที่ ๒
หลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติงาน
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ร่วมกันในการที่จะยกมาตรฐานการเผยแพร่งานวิชาการในประเทศให้มีคุณภาพและเพื่อผลักดันให้เกิดมาตรฐานที่ใกล้เคียงหรือเทียบได้กับนานาชาติ มาตรการหนึ่งในบรรดามาตรการทั้งหลายคือการสนับสนุนให้เกิดวารสารวิชาการ อันจะเป็นที่รวมและเผยแพร่ความรู้ของประชาคมวิชาการในประเทศไทย โดยไม่เพียงแต่สนองความต้องการของสถาบันใดสถาบันหนึ่ง เพื่อให้วารสารวิชาการโของสถาบันการศึกษาในประเทศไทยได้ทำหน้าที่เป็นแหล่งกลางในการเผยแพร่งานวิชาการของประชาคมอุดมศึกษาให้มีมาตรฐานเทียบเคียงกันระดับนานาชาติ ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงกำหนดเกณฑ์คุณภาพวารสารวิชาการที่สมควรได้รับการสนับสนุนไว้ ดังนี้
เกณฑ์คุณภาพวารสารวิชาการ
๑ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้กำหนดเกณฑ์คุณภาพวารสารวิชาการ ดังนี้
๑) กองบรรณาธิการของวารสารวิชาการในประเทศ ต้องมีศาสตราจารย์หรือเทียบเท่า หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอกจากภายนอกสถาบันที่จัดพิมพ์วารสารวิชาการ
๒) ผู้ประเมินบทความต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ ทำงานวิจัยและมีผลงานการวิจัยอย่างต่อเนื่อง
๓) บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ผู้เขียนควรมาจากสถาบันอื่นที่ไม่ใช่สถาบันที่จัดทำวารสารวิชาการนั้น บทความดังกล่าวควรมีจำนวนไม่น้อยกว่า ๑๐% ของจำนวนบทความทั้งหมด ในอนาคตควรมีการเพิ่มจำนวนบทความประเภทดังกล่าวให้ถึง ๒๕% ของบทความทั้งหมด เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพวิชาการของประเทศ
๔) บทความที่เขียนโดยนักวิชาการในสถาบันที่จัดทำวารสารวิชาการนั้นต้องให้ผู้ประเมินจากสถาบันภายนอกเป็นผู้พิจารณาเท่านั้น
๕) กำหนดให้มีการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการทุก ๆ ๒ ปี ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
๖) บทความแต่ละบทความต้องมีบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ในกรณีที่ติพิมพ์เป็นภาษา ต่างประเทศต้องมีบทคัดย่อเป็นภาษาไทยด้วย
๗) วารสารวิชาการต้องออกตรงตามเวลาอย่างต่อเนื่อง
๘) วารสารวิชาการต้องมีบทวิจารณ์หนังสือ (Book Review)
๙) วารสารวิชาการควรมีการตีพิมพ์บทความปริทรรศน์ (Review Article) เป็นครั้งคราว
ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Index Citation Center) ได้กำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกวารสารวิชาการเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI ดังนี้
๑) เป็นวารสารวิชาการ ที่จัดทำขึ้นในประเทศทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
๒) เป็นวารสารวิชาการที่ตีพิมพ์บทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศน์บทความเรื่องสั้น และบทแนะนำหนังสือ
๓) กองบรรณาธิการของวารสารวิชาการควรมีศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอกจากภายนอกสถาบันที่จัดพิมพ์วารสารวิชาการนั้น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น ๆ
๔) บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ต้องมีบทความที่ผู้เขียนมาจากสถาบันอื่นที่มิใช่สถาบันที่จัดทำวารสารวิชาการนั้นไม่น้อยกว่า ๑๐% ของจำนวนบทความทั้งหมด
๕) เป็นวารสารวิชาการที่มีอายุการตีพิมพ์ไม่น้อยกว่า ๓ ปี และหรือจัดพิมพ์ตรงเวลาอย่างต่อเนื่อง
๖) ควรมีบทความที่มีบทคัดย่อภาษาไทย และ/หรือภาษาอังกฤษ
๗) ควรมีการตรวจสอบคุณภาพของบทความที่นำเสนอขอรับการตีพิมพ์ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความอย่างน้อย ๒ ท่าน
๘) สามารถขอรับการประเมินคุณภาพผลงานโดยศูนย์ TCI ตามระยะเวลา
หลักเกณฑ์ของวารสารวิชาการ รร.นร.
กวกส.ฯ ได้ปรับปรุงวารสารวิชาการ รร.นร. ให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ ดังนี้
๒.๒.๑ วัตถุประสงค์ของวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์
๑) เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ ความคิดเห็นทางวิชาการ
๒) เพื่อเผยแพร่งานการศึกษาค้นคว้าและวิจัยด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์
๓) เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นทางวิชาการด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์
๒.๒.๒ หลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการ
๑) ต้องเป็นบทความด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์
๒) เป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ ในกรณีเป็นภาษาต่างประเทศต้องผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญภาษาก่อนส่งกองบรรณาธิการ
๓) ต้องระบุชื่อบทความ ชื่อ-นามสกุลจริง (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ตำแหน่งและสถานที่ของผู้เขียนบทความอย่างชัดเจน
๔) ต้นฉบับบทความต้องมีความยาวไม่เกิน ๑๕ หน้ากระดาษขนาด A4 พร้อมทั้งแฟ้มข้อมูลที่บันทึกบทความในแผ่นบันทึกข้อมูล โดยจัดส่งทางไปรษณีย์ หรือ E-Mail
๕) ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
๖) หากเป็นงานแปลหรือเรียบเรียงจากภาษาต่างประเทศ ต้องมีหลักฐานการอนุญาตให้ตีพิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์
๗) เกณฑ์การพิจารณา จะยึดถือแนวทาง ดังนี้
– กองบรรณาธิการจะเป็นผู้รับผิดชอบพิจารณา
– เกณฑ์การพิจารณาเนื้อหา กองบรรณาธิการจะรับผิดชอบดำเนินการตรวจสอบความถูกต้อง ให้ข้อคิดเห็นในด้านความมีสาระในเนื้อหา และความสัมพันธ์ระหว่างชื่อกับเนื้อหา
๘) บทความต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีความยาวรวมกันไม่เกินหนึ่งหน้ากระดาษ A4
๙) บทความที่ไม่ผ่านการพิจารณาให้ตีพิมพ์ ทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบ แต่จะไม่ส่งต้นฉบับคืนผู้เขียน
การอ้างอิงและบรรณานุกรม
เพื่อให้การอ้างอิงท้ายบทความเป็นไปในรูปแบบมาตรฐานสากล กองบรรณาธิการจึงได้กำหนดการอ้างอิง ดังต่อไปนี้
การอ้างอิงในเนื้อเรื่องใช้รูปแบบ ชื่อ ปี ส่วนการอ้างอิงท้ายบทความใช้ตามรูปแบบของ APA (American Psychological Association) ดังตัวอย่าง
เมื่อกล่าวถึงความหมายของภูมิปัญญาท้องถิ่น (wisdom) มีหลายทัศนะ คือ ข้อมูลที่สั่งสมต่อๆ กันมา (Newfeldt & Guralnik, eds, ๑๙๘๘ : ๑๕๓๓) หรือพื้นฐานความรู้ ความสามารถราชบัณฑิตสถาน, ๒๕๔ ๒: ๘ ๒๖) ส่วนภูมิปัญญาท้องถิ่นในทัศนะของนักสังคมศาสตร์ได้ให้ความหมายที่สอดคล้องกันคือ เป็นระบบความรู้ ระบบคิดหรือวิธีคิดของชาวบ้านที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมและสืบทอดต่อกันมา(เอกวิทย์ ณ กลาง, ๒๕๔๔ : รัตนะ บัวสนธ์, ๒๕๓๓ และอานันท์ กาญจนพันธุ์, ๒๕ ๒๘) ในระบบสังคม การควบคุมทางสังคมจะเป็นเสมือนกลไกให้สมาชิกในสังคมได้ประพฤติในสิ่งที่สังคมคาดหวัง ลาฟิเออร์ (Lapiere, ๑๙๕๔ : ๑ ๒- ๑๓) ได้กล่าวถึงการควบคุมทางสังคมมุ่งไปในแง่ของการวิเคราะห์พฤติกรรม ได้แก่ สถานภาพ กลุ่ม บรรทัดฐาน ค่านิยม การทอดทิ้งทางสังคม การควบคุมแบบเผด็จการ การควบคุมแบบประชาธิปไตย วิกฤตการณ์ทางสังคม และความเชื่อทางสังคม โดยให้แต่ละคนมุ่งประพฤติและปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของสังคมที่ได้กำหนดขึ้น
การรักษาคุณภาพมาตรฐานของวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์
กวกส.ฯ ได้ตระหนักในความสำคัญนี้ จึงได้ออกแบบคู่มือการทำงานด้านวารสารวิชาการ รร.นร. เพื่อให้การปฏิบัติงานในขั้นตอนต่าง ๆ โดยผู้ที่จะมารับผิดชอบต่อสามารถปฏิบัติได้ตามกรอบมาตรฐานหรือดีกว่า
ปัจจุบันวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ มีการเผยแพร่อยู่ในระบบ http://www.rtna.ac.th ซึ่งการดำเนินการธำรงรักษาคุณภาพวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ มีดังนี้
๑ กองบรรณาธิการของวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ มีศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอกจากภายนอกสถาบัน ทำหน้าที่ทบทวนบทความ (Peer Review)ดังนี้ คือ
รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิปี 57
สาขา | ชื่อ – สกุล | หน่วยงาน |
รัฐศาสตร์ | รศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
รัฐศาสตร์ | ผศ.ดร.ศุภมิตร ปิติพัฒน์ | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ศิลปศาสตร์ | ดร.ภัททิยา ยิมเรวัต | มหาวิทยาลัยมหิดล |
ดร.ประทีป ฉัตรสุภางค์ | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
ดร.จีรวัฒน์ วีรังกร | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | |
ดร.อัจฉรา เสาร์เฉลิม | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | |
ผศ.ดร.อธิปัตย์ บุญเหมาะ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี | |
รศ.ดร.นวลจิต เชาวกีรติพงศ์ | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | |
ผศ.กิตติภูมิ มีประดิษฐ์ | มหาวิทยาลัยศรีปทุม | |
ดร.ศรีมณา เกษสาคร | นักวิชาการอิสระ | |
รศ.ดร.เทพวาณี หอมสนิท | ข้าราชการบำนาญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
ดร.จิรณี ตันติรัตนวงศ์ | ข้าราชการบำนาญสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา | |
ความสัมพันธ์ระหว่างประทศ | พล.ร.ต.รศ.ทองใบ ธีรานันทางกูร | ข้าราชการบำนาญ กองทัพเรือ |
พล.ร.ต.จุมพล ลุมพิกานนท์ | ผอ.ศยร.ยศ.ทร. | |
กฎหมาย | น.อ.สมเจตน์ คงรอด | ผอ.สธน.ทร. |
กฎหมาย | น.อไพรัช รัตนอุดม | สธน.ทร. |
๒ ผู้ประเมินบทความเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ทำงานวิจัย และมีผลงานต่อเนื่อง โดยกระบวนการประเมินมีขั้นตอนดังนี้คือ
ขั้นตอนที่ ๑ กองบรรณาธิการจะประเมินบทความทั้งหมด โดยให้กรรมการในกองบรรณาธิการ ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละเรื่องได้พิจารณา บทความละ ๒ คน โดยการกลั่นกรองตรวจสอบขอบข่ายเนื้อหาของบทความว่าสอดคล้องกับกรอบของวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์
ขั้นตอนที่ ๒ คณะกรรมการได้พิจารณาบทความแล้ว เห็นควรให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ อ่าน โดยกำหนดให้เป็นบุคคลภายใน รร.นร. ๑ คน และภายนอก ๑ คน
๓ บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ รร.นร. ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ มีบทความที่ผู้เขียนมาจากสถาบันอื่น ไม่น้อยกว่า ๑๐% มีบทความที่มาจากบุคคลภายนอกในแต่ละฉบับ ไม่น้อยกว่า ๓ -๕ บทความ คิดเป็นร้อยละ ๒๕ ของบทความทั้งหมดในแต่ละฉบับ
๔ บทความที่เขียนโดยนักวิชาการใน รร.นร. ได้รับการประเมินจากสถาบันภายนอกไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ประเมินทั้งหมด ใช้กระบวนการเช่นเดียวกับข้อ ๒
๕ กำหนดให้มีการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ทุก ๆ ๒ ปี ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
แนวทางการดำเนินงาน
๑) กำหนดขั้นตอนการพิจารณาบทความ เป็น ๒ ขั้นตอน คือขั้นตอนแรก กองบรรณาธิการเป็นผู้รวบรวม บทความกลั่นกรองบทความโดยตรวจสอบความครบถ้วน ถูกต้องของบทความโดยทั่วไป ขั้นตอนที่สอง บทความที่ผ่านการคัดเลือก จะนำเสนอให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานั้น ๆ เป็นผู้พิจารณาคุณภาพ หลังจากผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความแล้ว และแจ้งผลมายังกองบรรณาธิการ กองบรรณาธิการจะสรุปผลการประเมินคุณภาพบทความและแจ้งผลให้เจ้าของบทความทราบ เพื่อปรับปรุงแก้ไขบทความ
๒) กำหนดใช้รูปแบบการอ้างอิงตามรูปแบบของ APA
๓) บทความแต่ละบทความต้องมีบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ในกรณีที่ตีพิมพ์เป็นภาษาต่างประเทศต้องมีบทคัดย่อภาษาไทย โดยมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาตรวจสอบบทคัดย่อภาษาอังกฤษ
๔) วารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ต้องออกตรงตามเวลาอย่างต่อเนื่อง ปีละ ๑ ฉบับ
๕) การแจกจ่ายวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ กำหนดให้แจกจ่ายห้องสมุดแห่งชาติ และสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามการพิจารณาของกองบรรณาธิการ
รายการแจกจ่ายวารสารสังคมศาสตร์
บ้านเลขที่สถาบันนอก ทร.
ระบบสนับสนุนการจัดทำวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์
มีการจัดทำเกณฑ์สนับสนุนการทำวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ดังนี้ คือ
๑ ค่าตอบแทนผู้เขียนบทความ (ยังไม่มีการพิจารณา)
๒ ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิที่อ่านประเมินบทความและค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจแก้ไขบทคัดย่อภาษาอังกฤษ คนละ 1000 บาทต่อการอ่าน 1 บทความ
๓ มีการเผยแพร่วารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ในเว็บไซต์ http://www.rtna.ac.th โดยได้จัดทำข้อมูล ประกอบด้วย ระบบการปฏิบัติงานด้านวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ขั้นตอนการส่งบทความ ใบสมัคร พร้อมทั้งรายละเอียดในการเขียนบทความ มีบทคัดย่อทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
วิธีการในการปฏิบัติงาน
๑ โครงสร้างการทำงานของการจัดทำวารสารวิชาการ รร.นร. ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ อยู่ในความรับผิดชอบและดำเนินการในรูปของของคณะกรรมการ
๒ การประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่นับเป็นส่วนสำคัญอันหนึ่งของการเผยแพร่ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ต่าง ๆ รวมทั้งเป็นการเพิ่มจำนวนเครือข่าย และจำนวนบทความ ตลอดจนการถูกนำบทความไปใช้ประโยชน์ โดยการประชาสัมพันธ์จะเป็นการประชาสัมพันธ์ภายใน รร.นร. และภายนอก รร.นร.ในระดับประเทศ และระดับภูมิภาค โดยผ่านเว็บไซต์ของ รร.นร.
– การประชาสัมพันธ์ภายใน รร.นร. ประกอบไปด้วยการจัดทำประกาศเชิญชวนสมัครเป็นสมาชิกและส่งบทความ
– การประชาสัมพันธ์ภายนอก รร.นร. ประกอบด้วยการจัดส่งวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ หน่วยงานภายในและภายนอก รร.นร.ที่เป็นเครือข่ายและนอกเครือข่าย คณะกรรมการวารสารวิชาการ รร.นร. เจ้าของบทความ ศูนย์ดัชนีอ้างอิงวารสารไทย ฯลฯ
๓ กองบรรณาธิการ เป็นผู้พิจารณาอ่านและคัดเลือกบทความเบื้องต้นสำหรับตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการ รร.นร. ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ และเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาบทความด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ เขียนบทบรรณาธิการ ตรวจสอบบรรณานุกรม บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ติดต่อประสานงานกับโรงพิมพ์ ตรวจปรู๊ฟ และจัดส่งวารสารให้กับหน่วยงานที่เป็นเครือข่าย
๔ ฐานข้อมูล จะประกอบด้วยฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ เพื่อบันทึกข้อมูลด้านบทความของบุคลากรใน รร.นร. และฐานข้อมูลของ รร.นร. เพื่อบันทึกข้อมูลบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ พร้อมทั้ง Scan บทความ เพื่อประกอบการรายงานตัวชี้วัด
๕ งานด้านบทความ จะประกอบด้วย
– รวบรวมบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์
– ประสานงาน หรือทาบทามในการเชิญเป็นผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ
– จัดทำหนังสือเชิญผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ หนังสือเชิญผู้ทรง และคำสั่งตั้งกองบรรษธิการ ๖๐
– สรุปข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ
– จัดทำหนังสือถึงผู้เขียนบทความแก้ไขตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิเสนอแนะ
– ตรวจสอบบทความที่ผู้เขียนปรับปรุงแก้ไข
– รวบรวมบทความทั้งหมดให้ผู้ทรงคุณวุฒิด้านบรรณารักษศาสตร์ตรวจสอบบรรณานุกรม และผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาษาต่างประเทศ ตรวจสอบบทคัดย่อภาษาอังกฤษ
– แก้ไขบรรณานุกรม และบทคัดย่อ
– จัดพิมพ์บทบรรณาธิการ สารบัญ รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ
– จัดส่งต้นฉบับให้โรงพิมพ์ดำเนินการ
– ตรวจปรู๊ฟต้นฉบับ
– ตรวจรับวารสาร
๖ กฎเกณฑ์ และ/หรือระเบียบ ประกอบด้วย
– เกณฑ์วารสารวิชาการ กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ของ สกอ.
เกณฑ์ที่ยังไม่ได้สร้าง แต่จำเป็นต้องสร้างในอนาคต
– ประกาศ รร.นร. เรื่องหลักเกณฑ์การให้รางวัลตีพิมพ์เผยแพร่
– ประกาศ รร.นร. เรื่อง หลักเกณฑ์ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ
– เกณฑ์สนับสนุนการทำวารสารวิชาการ รร.นร.
๒.๖.๗ การเงิน ประกอบด้วย
– ส่งใบเสร็จรับเงิน หรือใบส่งของค่าพิมพ์วารสารวิชาการให้แก่เจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการเบิกจ่ายเงิน
– การเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ
ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ทรงคุณวุฒิ
ตัวอย่างใบสำคัญรับเงินผศ.ดร.กีรติพร จูตะวิริยะ
– การเบิกจ่ายเงินรางวัลให้แก่ผู้เขียนบทความ (ยังไม่มีการพิจารณา)
๒.๖.๘ บันทึกลงฐานข้อมูล รร.นร.(ส่วนงานวิจัย) หลังจากการตีพิมพ์วารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์แล้ว กองบรรณาธิการได้ทำการบันทึกข้อมูลวารสารลงในฐานข้อมูลของสำนักงานวิจัย เพื่อประกอบรายงานตัวชี้วัดของ รร.นร.
บทที่ ๓
กระบวนการปฏิบัติงาน
การจัดทำวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ เป็นการทำงานที่ต้องใช้ความรู้ ทักษะ ความสามารถ และความอดทนสูง เพราะผู้ที่ทำงานในด้านนี้ต้องมีความรู้ด้าน กฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ต้องเข้าใจในเกณฑ์ มาตรฐาน ต้องมีความรู้ในการบริหารจัดการภายใต้กรอบที่จำกัดของเวลาและงบประมาณ อีกทั้งต้องมีทักษะความสามารถที่ต้องประสานงานกับหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้เขียนบทความ ผู้ทรงคุณวุฒิ จนท.พัสดุ จนท.การเงิน โรงพิมพ์ เป็นต้น เพื่อให้ได้วารสารวิชาการ รร.นร.ด้านด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ที่มีคุณภาพตรงตามเกณฑ์มาตรฐาน และแล้วเสร็จตามกำหนดเวลาและที่สำคัญผู้เขียนบทความในวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์นั้นจะเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางวิชาการเฉพาะด้าน ซึ่งโดยทั่วไปจะมีบุคลิกเฉพาะตัวที่ต้องอาศัยทักษะ ความสามรถของผู้ประสานงานในอันที่จะติดต่อ หรือติดตามบทความที่ต้องได้รับการแก้ไข ปรับปรุง ตามข้อแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะด้าน อันเป็นจุดสำคัญที่จะทำให้ผู้เขียนบทความปรับแก้ต้นฉบับตามกรอบของเวลา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพของการจัดทำวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ในด้านการจัดการ จึงได้กำหนดกระบวนการปฏิบัติงานดานการจัดทำวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านวิชาการ รร.นร.เป็นขั้นตอนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
๓.๑ กิจกรรมและแผนในการปฏิบัติงาน
๓.๑.๑ ขั้นเตรียมการ
๑) ศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้น ประกอบด้วย คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ซึ่งมีหน้าที่อ่านคัดเลือกบทความสำหรับตีพิมพ์ลงวารสารวิชาการ เสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาบทความวารสารและเขียนบทบรรณาธิการ พร้อมทั้งเชิญผู้ทรงคุณวุฒิหน่วยงานต่าง ๆ การตรวจสอบบรรณานุกรม บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การติดต่อประสานงานโรงพิมพ์ การตรวจบรู๊พวารสาร และจัดส่งวารสารให้กับเครือข่าย และผู้เกี่ยวข้อง
๒) แผนการปฏิบัติงาน ในการดำเนินการจัดทำวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ จะต้องมีการกำหนดแผนการปฏิบัติงาน เพื่อจัดทำวารสารวิชาการให้ออกตรงตามเวลาที่กำหนด
๓) รวบรวมบทความเพื่อพิจารณาเบื้องต้น บทความที่ต้องพิจารณา คือบทความที่ส่งมาของคณาจารย์ รร.นร. และบทความที่กองบรรณาธิการได้ขอเชิญให้ผู้มีชื่อเสียงเขียนและส่งมาเพื่อตีพิมพ์
๔) เสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาอ่าน และให้ข้อเสนอแนะ งานวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ได้มีการจัดทำฐานข้อมูล ทำเนียบรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาบทความ ซึ่งจะเป็นผู้ที่มีความรู้มีความเชี่ยวชาญในแต่สาขาวิชา เมื่อคณะกรรมการพิจารณาบทความเบื้องต้นและเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิเพื่ออ่านและให้ข้อเสนอแนะ กองบรรณาธิการจะต้องทาบทามผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งก่อนจะทาบทามโดยทางโทรศัพท์ หรือ E-Mail จะต้องมีการจัดเตรียมข้อมูลรายละเอียดให้เรียบร้อย ขออนุญาตผู้ทรงคุณวุฒิทางโทรศัพท์ ขอความอนุเคราะห์ในการพิจารณาบทความ ซึ่งในขั้นตอนนี้จะต้องใช้ทักษะ ความชำนาญ การพูด คำพูดต่างๆ ด้วย
๕) ประชุมคณะกรรมการวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ในการประชุมจะต้องมีการจัดเตรียมวาระการประชุม ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการประกอบวาระนั้น และจะต้องมีการสำรวจวัน เวลา ที่คณะกรรมการสามารถเข้าร่วมประชุมได้ รวมทั้งการจัดเตรียมห้อง อาหารว่างและเครื่องดื่ม
๖) จดบันทึก และจัดทำรายงานประชุม สรุปมติ และแจ้งมติให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการ
๗) การติดตามบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิพร้อมแบบประเมิน การติดตามทวงถามบทความ จะต้องมีทักษะ ความพยายามสูง คำพูดที่นุ่มนวล ไม่ให้ท่านรู้สึกว่าถูกทวงถามหรือติดตามบทความ
๘) การสรุปข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ และแจ้งให้เจ้าของบทความปรับปรุงแก้ไขตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิเสนอแนะนั้น การสรุปข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ และจัดส่งให้เจ้าของบทความดำเนินการแก้ไขและบางบทความปฎิเสธการตีพิมพ์ ในขั้นตอนนี้ ในการจัดทำหนังสือตอบปฏิเสธ จะต้องใช้ทักษะในการร่างหนังสือ คือ ย่อหน้าแรก อ้างถึงเรื่องที่ส่งบทความมา ย่อหน้าที่สอง ( ๑) ต้องแสดงความขอบคุณ ( ๒) ให้เหตุผลอย่างชัดเจนจนถึงสาเหตุที่ต้องปฏิเสธ (๓) ภาษาที่ใช้ในการตอบปฏิเสธต้องนุ่มนวล และย่อหน้าสุดท้าย ต้องแสดงน้ำใจหรือให้ความหวังที่จะให้ความร่วมมือในโอกาสหน้า และแสดงความเสียใจและขออภัยอีกครั้ง
๙) การตรวจสอบความถูกต้องของบทบรรณานุกรม และบทคัดย่อภาษาอังกฤษ กองบรรณาธิการ ได้กำหนดผู้ทรงคุณวุฒิด้านการตรวจสอบบรรณานุกรม และผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาษาเพื่อดำเนินการในแต่ละด้านนี้
๑๐) การจัดทำสารบัญ
๑๑) การเขียนบทบรรณาธิการ บรรณาธิการประจำฉบับ/วารสารจะเป็นผู้เขียนบทบรรณาธิการ หรือฝ่ายเลขานุการจะเป็นผู้เขียนฉบับร่างให้และให้บรรณาธิการประจำฉบับพิจารณาอีกครั้งก็ได้
๓.๑.๒ ขั้นดำเนินการ อ่านตรวจปรู๊ฟต้นฉบับวารสารที่ส่งโรงพิมพ์ดำเนินการ ซึ่งจะต้องดำเนินการตรวจสอบ ๒ ครั้ง เพื่อการเป็นต้นฉบับสมบูรณ์
๓.๑.๓ การติดตามและประเมินผล
๑) จัดส่งเล่มวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ให้แก่เครือข่าย อภินันทนาการให้แก่หน่วยงานภายในรร.นร. และหน่วยงานภายนอก
๒) ส่งแบบประเมิน ให้แก่เครือข่าย และหน่วยงานภายใน ภายนอก เพื่อตอบแบบประเมินในการนำไปใช้ประโยชน์ของวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์
๓.๒ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความชัดเจนในการปฏิบัติงานจึงได้กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
(Work Flow Chart) ดังนี้
ตารางที่ ๑ ขั้นตอนการจัดทำวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์
ตารางที่ ๑ ขั้นตอนการจัดทำวารสารวิชาการ รร
๓.๓ การขอหมายเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร ISSN
ในการจัดทำวารสารวิชาการ ต้องมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร ISSN[1] เพื่อ…….แล้ว ซึ่งสามารถขอได้ที่หอสมุดแห่งชาติในวันและเวลาราชการ เพื่อตีพิมพ์ที่หน้าปกวารสารวิชาการมุมบนหรือล่างด้านขวามือของวารสาร และเมื่อตีพิมพ์วารสารเป็นรูปเล่มเสร็จแล้ว ต้องส่งวารสารให้หอสมุดแห่งชาติ อย่างน้อย 2 ฉบับ โดยจัดส่งไปที่ศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติแห่งประเทศไทย กลุ่มงานคลังข้อมูลสารสนเทศศูนย์สารนิเทศห้องสมุด สำนักหอสมุดแห่งชาติ มีขั้นตอนและรายลเอียดที่จะต้องดำเนินการ ดังนี้
๓.๓.๑ การขอเลข ISSN
ผู้ขอเลข ISSN ต้องส่งหลักฐานเพื่อประกอบการขอเลข ดังนี้
๑) สำเนาแบบฟอร์มการขอเลข ISSN พร้อมลงรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลวารสารอย่างครบถ้วน แบบฟอร์มดูได้จาก website ของสำนักหอสมุดแห่งชาติ
๒) สำเนาหน้าปกวารสารและสารบัญ
๓) สำเนาใบอนุญาตตีพิมพ์ จากกองบัญชาการตำรวจสันติบาล (เฉพาะที่จัดพิมพ์ โดยหน่วยงานเอกชน)
๔) ติดต่อขอเลข ISSN โดยทางโทรศัพท์ โทรสาร จดหมาย จดหมายอิเลคทรอนิกส์และติดต่อด้วยตนเอง
สถานที่ติดต่อ
ศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติแห่งประเทศไทย
ศูนย์สารนิเทศห้องสมุด
สำนักหอสมุดแห่งชาติ
โทร/โทรสาร : 0-2281-7533
E-mail : issn_thai@yahoo.com, issn@nlt.go.th
Website : www.nlt.go.th.
๓.๓.๒ การพิมพ์เลข ISSN บนตัวเล่ม เลข ISSN กำหนดให้พิมพ์ในตำแหน่งที่เห็นชัดเจน คือ
๑) หน้าปกมุมบนขวา เป็นตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุด
๒) หน้าปกใน
๓) ปกหลัง
บทที่ ๔
ปัญหา อุปสรรคและแนวทางในการแก้ไขและพัฒนางาน
๔.๑ ปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงาน
๔.๑.๑ บทความ
๔.๑.๒ ผู้ทรงคุณวุฒิ
๔.๑.๓ การประชุม
๔.๑.๔ การจัดทำรูปเล่ม
๔.๑.๕ การประเมิน
๔.๑.๖ การบริหารจัดการ…………….
๔.๒ ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการ รร.นร.ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์
[1] เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) เป็นเลขรหัสเฉพาะที่กำหนดให้แก่สิ่งพิมพ์ประเภทวารสารแต่ละชื่อเรื่อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้สำหรับการค้นข้อมูลวารสาร การแลกเปลี่ยนและการติดต่อต่างๆ เกี่ยวกับวารสารให้ถูกต้อง สะดวก และรวดเร็ว
เห็นด้วย ครับ