บทความแนวคิดทางธรรมเรื่อง “อดเปรี้ยวไว้กินหวาน” โดย น.ท.สมปอง วัฒนกูล อศจ.บก.รร.นร.

เรื่อง  อดเปรี้ยวไว้กินหวาน

โดย  น.ท.สมปอง  วัฒนกูล  อศจ.บก.รร.นร.

คำว่า อดเปรี้ยวไว้กินหวาน เป็นสำนวน คือเป็นถ้อยคำที่มีความหมายไม่ตรงตามตัวหนังสือหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ ซึ่งในภาษาไทยมีอยู่หลายคำ อดเปรี้ยวไว้กินหวานนี้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้คำนิยามว่า อดใจไว้ก่อนเพราะหวังสิ่งที่ดีกว่าข้างหน้า  หมายถึง รู้จักรอคอยเพื่อผลที่ดีกว่านั่นเอง

การอดทนและรอคอยนี้เป็นวิธีการหนึ่งแห่งการเข้าถึงความสำเร็จ  ดังมีเรื่องเล่าว่า ชายสองคนหาขวดขายด้วยกัน ทั้งสองทำสัญญากันว่า ถ้ายังไม่มีเงินถึง ๘๐ ชั่ง จะไม่ยอมกินเป็ดกินไก่เป็นอันขาด วันหนึ่งระหว่างที่คนแรกหาขวดขายก็ไปพบกับวงการพนันเข้า จึงตัดสินใจเล่นพนัน ปรากฏว่าชนะ     จึงซื้อเป็ดซื้อไก่กินอย่างเอร็ดอร่อยแล้วเอามาฝากเพื่อนด้วย คนที่สองพอทราบเรื่องแทนที่จะดีใจกลับโกรธที่เพื่อนไม่รักษาสัจจะ ไม่ยอมกินเป็ดไก่นั้นและตัดสินใจเลิกคบกัน แล้วตั้งใจรักษาสัจจะให้มั่นกว่าเดิม     ทำมาหากินด้วยความพากเพียรจนกระทั่งร่ำรวย ในที่สุดได้รับบรรดาศักดิ์เป็นถึงพระยา ในขณะที่คนแรกนั้นหากินไปเล่นการพนันไป สุดท้ายหมดตัว สังขารก็ทรุดโทรมขายขวดต่อไม่ไหวต้องกลายเป็นขอทาน กระเซอะกระเซิงมาจนถึงบ้านของพระยาที่เคยขายขวดมาด้วยกัน  ท่านพระยาจำได้ก็จูงมือเพื่อนเก่าขึ้นไปบนบ้าน พาไปดูไม้คานที่ตัวเองเคยหาบขวดขายจนตั้งตัวได้ และนำมาปิดทองตั้งบูชาไว้ในตู้     เพื่อสอนให้เพื่อนตระหนักในคุณค่าแห่งการรอคอยเพื่อสิ่งที่ดีกว่า ดังที่ตัวได้ทำสำเร็จมาแล้ว

อดเปรี้ยวไว้กินหวานนี้ ที่ว่าเป็นเครื่องมือให้เข้าถึงความสำเร็จเพราะเป็นการฝึกผู้ปฏิบัติให้รู้จักอดทน ขยันหมั่นเพียร  ยึดมั่นในสัจจะ และดำเนินชีวิตด้วยปัญญา ซึ่งตรงกันข้ามกับประเภทใจเร็วด่วนได้ หรือชิงสุกก่อนห่ามที่แม้จะดูว่าสมประโยชน์ในเบื้องต้นและได้เสพสุขแบบทันใจ แต่ก็ไม่ยั่งยืนถาวรและมักจะตามมาด้วยความทุกข์ความผิดหวังในที่สุด

หน้าที่ประจำตำแหน่ง จนท.คลัง กวอย.ฝศษ.รร.นร. (จ่าปืน กร.)

  1. ทำการเบิก-จ่ายเครื่องสรรพาวุธและเครื่องสนามประจำกายให้กับ นนร.ที่มาขอเบิก-ยืม
  2. ปฏิบัติงานตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมายจาก ผอ.กวอย.ฯ และ รอง ผอ.กวอย.ฯ
  3. ให้การช่วยเหลืองานภายในคลังเครื่องสรรพาวุธและคลังเครื่องสนามตามที่นายคลังสั่งการให้ปฏิบ

คู่มือการปฏิบัติงาน พ.จ.อ.จารุพันธ์ บรรจงปรุ

มีหน้าที่จัดทำหนังสือราชการประเภทต่าง ๆ

จัดทำคำสั่ง รร.นร.

ตรวจกำกับวินัยทหาร พลบริการ บก.รร.นร.

รับผิดชอบ ควบคุมความประพฤติ

การปฏิบัติงานของ พลบริการ บก.รร.นร.

 

พยาธิตืดหมูและพยาธิตืดวัว

 

พยาธิตืดหมูและพยาธิตืดวัว(Taenia solium and Taenia saginata)

  • เป็นพยาธิตืดหมูและตืดวัว ติดจากการทานเนื้อหมูหรือเนื้อวัวที่ดิบและมีพยาธิ
  • ในประเทศไทยยังคงเป็นพื้นที่การระบาด (ข้อมูลจากhttp://www.who.int/mediacentre/factsheets/Endemicity_Taenia_Solium_2015-1000×706.jpg?ua=1 )
  • สำหรับวงจรชีวิตเกิดจากหมูหรือวัวนั้นกินอาหารที่มีการปนเปื้อนของไข่พยาธิเข้าไป หลังจากนั้นพยาธิก็จะไปฝังตัวบริเวณกล้ามเนื้อต่างๆเพื่อเจริญเติบโต ทำให้บางครั้งถึงเห็นลักษณะเม็ดขาวๆคล้ายเม็ดสาคูนั่นเอง
  • สำหรับอาการส่วนใหญ่มักไม่ค่อยมีอาการ แต่บางครั้งอาจพบมีอาการปวดท้อง แน่นท้อง มีเบื่ออาหาร น้ำหนักลดหรืออาจพบปล้องของพยาธิหรือตัวพยาธิเองออกมาพร้อมอุจจาระ
  • แต่สำหรับพยาธิตืดหมูสามารถขึ้นไปที่สมองได้ ทำให้มีอาการชักหรือมีปัญหาการมองเห็นได้
  • สำหรับการรักษาควรปรึกษาแพทย์เพื่อได้รับยาฆ่าพยาธิที่เหมาะสม(praziquantel or niclosamide) และอาจจำเป็นต้องตรวจสุขภาพแก่บุคคลใกล้ชิดหรือบุคคลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคด้วย
  • สำหรับการป้องกัน คือ เลือกซื้อเนื้อหมูและเนื้อวัวอย่างสะอาดถูกหลักอนามัย และควรผ่านความร้อนอย่างเหมาะสมเพื่อกำจัดเชื้อ

รูปภาพเพิ่มเติม

วงจรชีวิตของพยาธิ

ไข่พยาธิจากอุจจาระ

ตัวพยาธิ

 

ที่มา

https://www.who.int/mediacentre/factsheets/Endemicity_Taenia_Solium_2015-1000×706.jpg?ua=1

https://www.cdc.gov/parasites/taeniasis/prevent.html

https://www.afrivip.org/sites/default/files/Helminths-ruminants/musculature.html

https://www.cdc.gov/parasites/features/ncc_cme_feature.html

 

ไวรัสโรต้า(Rotavirus)

  • ไวรัสโรต้าเป็นการติดเชื้อที่มักพบมากในช่วงฤดูหนาว และส่วนใหญ่พบได้ในเด็ก
  • การติดต่อของเชื้อโดยผ่าน fecal-oral route หรือหากมีการปนเปื้อนอุจจาระในสิ่งแวดล้อมและสามารถติดได้โดยการสัมผัส รับประทานอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อ
  • เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ (ทำให้มีอาการไข้ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียนและท้องเสีย หากในเด็กเล็กอาจจะมีอาการขาดน้ำและนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ส่วนผู้ใหญ่สามารถเกิดขึ้นได้แต่จะมีอาการเล็กน้อย)
  • การรักษา ไม่มียาที่รักษาได้หายขาดเป็นเพียงการรักษาแบบประคับประคองอาการเท่านั้น(เช่น การให้สารน้ำทดแทน เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำในร่างกาย) โดยอาการจะดีขึ้นใน 2-3 วัน
  • สำหรับการป้องกัน การล้างมือและการทำความสะอาดเป็นสิ่งที่สำคัญในการป้องกันโรค
  • สำหรับวัคซีน(Rota vaccine) ในประเทศไทยขณะนี้ยังเป็นวัคซีนทางเลือก โดยจะช่วยป้องกันการเกิดโรคได้ประมาณ 70% โดยฉีดในเด็กอายุ 2 เดือนเป็นต้นไป (จำนวนครั้งของการฉีดวัคซีนขึ้นอยู่กับชนิดและประเภทของวัคซีน)

ที่มา : https://www.cdc.gov/rotavirus/index.html