เทคนิคการตัดเหล็กให้ได้มุม 45 องศาพอดี

เรือตรีกิตติพงษ์ จันทร์เปล่ง

ช่วยราชการแผนกช่างโลหะแผ่นกองโรงงานฝ่ายบริการโรงเรียนนายเรือ

งานหลักๆของแผนกโลหะแผ่นคือฝึกสอนนักเรียนายเรือวิชาการโรงงานและซ่อมแซมงานภายในหน่วย

สภาพงานเป็นการฝึกสอนงานเชื่อมเหล็กเป็นขั้นพื้นฐานประกอบงานบ้างงานรองโดยทั่วไปเป็นงานโครงสร้างเหล็กมีทั้งการซ่อมแซมและมีการทำขึ้นมาใหม่ ตามแบบงาน จากการที่มีงานทำอยู่เป็นเนืองนิตย์ทำให้เครื่องมือหลายๆชนิดมีสภาพที่เสื่อมลงแต่ยังสามารถใช้และอาจมีอุปกรณ์บางชนิดไม่เที่ยงตรงโดยเฉพาะอุกรณ์ตั้งศูนย์ของเครื่อง”แต่”อาศัยเทคนิค และความชำนาญของช่างในการใช้งาน ในส่วนนี้จะขอยกตัวอย่างเครื่องตัดเหล็กที่มีสภาพที่เก่าลงและอุปกรณ์วัดองศาไม่เที่ยงตรงแต่ยังสามารถใช้งานได้

สภาพปัญหา

1.มีอายุการใช้งานมานาน

2.ตัวปรับองศาไม่เที่ยงตรง

3.ตัดเหล็กไม่ได้องศาตามที่ต้องการ

4.ประกอบงานไม่สวยงาม

5.สิ้นเปลืองเวลา

6.สิ้นเปลืองลวดเชื่อมและไฟฟ้าในการเชื่อมพอกให้เต็ม

 

 

ผลจากการตัดเหล็กเป็นมุมฉากเมื่อประกอบงานแล้วมีช่องว่างไม่ได้มุม90องศาทำให้มีช่องว่างไม่สวยงามสิ้นเปลืองเวลาและลวดเชื่อมในการพอกงานให้เต็ม

ผู้เขียนจึงนำเสนอเทคนิคในการปรับแต่งเครื่องตัดเพื่อให้สามารถตัดเหล็กให้ได้มุม 45 องศาทุกครั้ง

มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.เตรียมอุปกรณ์ฉากเหล็กเหล็กแบนและเหล็กขีด

2.ใช้ฉากเหล็กทาบกับเหล็กให้ได้มุม 45 องศาแล้วขีดเป็นเส้นให้เห็นเด่นชัดโดยทำมุมกับเหล็ก 45 องศาพอดีตามองศาที่เราจะตัด

3.นำขนาดมุม45 องศาที่ขีดไว้ไปเทียบองศากับตัวใบตัดเหล็กโดยตรงจากเครื่องตัดเหล็กโดยไม่ใช้วิธีตั้งค่ามุมจากอุปกรณ์วัดมุมของเครื่องตัด

4.ล๊อคสกรูปรับยึดองศาให้แน่นเพื่อพร้อมใช้งาน


ขั้นตอนต่อไปพร้อมนำไปใช้งาน

 

 

ผลที่ได้รับจากการใช้เทคนิคมีการปรับองศา

1.การประกอบชิ้นงานได้มุม 90 องศา

พอดี

2.ชิ้นงานมีความสวยงาม

3.ประหยัดลวดเชื่อมในการพอกเนื้อ   งานให้เต็ม

4.ประหยัดเวลาในการทำงาน

5.ประหยัดงบประมาณของทางราชการ

6.การทำงานสะดวกยิ่งขึ้น

ผลที่ดีขึ้นจากการใช้เทคนิคปรับปรุง

จบการนำเสนอ

คู่มือตำแหน่งช่างแผนกช่างไม้กงน.ฝบก.รร.นร.

 

คู่มือตำแหน่งช่างแผนกช่างไม้กงน.ฝบก.รร.นร.

๑. ยศ/ชื่อ – สกุล  พ.จ.อ.องอาจ  สังข์ทองตำแหน่ง ช่างแผนกช่างไม้กงน.ฝบก.รร.นร.

๒. หน้าที่หลัก 

๒.๑ ช่วยเหลือประจำแผนก รับผิดชอบเกี่ยวกับด้านงานเอกสารต่างๆ

๒.๒ ดูแลและบำรุงรักษารับผิดชอบเครื่องมือเครื่องใช้ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

๒.๓ ปฏิบัติงานช่างไม้ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

๓.ลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติ :

๓.๑ ช่วยเหลือประจำแผนก รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านเอกสารต่างๆ

๓.๒ ดูแลและบำรุงรักษารับผิดชอบเครื่องมือเครื่องใช้ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

๓.๓ปฏิบัติงานอื่น ๆ ขัดไม้/ ทาสี/ติดตั้ง/ซ่อมทำสนับสนุนงานไม้ต่างๆภายในหน่วย

คู่มือตำแหน่งช่างแผนกช่างไม้ กงน.ฝบก.รร.นร.

 

คู่มือตำแหน่งช่างแผนกช่างไม้กงน.ฝบก.รร.นร.

๑. ยศ/ชื่อ – สกุล  พ.จ.อ.นิธิศพงศ์  วงษ์พันธรรมตำแหน่ง ช่างเขียนแบบกงน.ฝบก.รร.นร.ช่วยราชการแผนกช่างไม้ฯ

๒. หน้าที่หลัก 

๒.๑ ปฎิบัติงานด้านงานสี/งานไม้ทุกชนิด

๒.๒ ดูแลและบำรุงรักษารับผิดชอบเครื่องมือเครื่องใช้ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

๒.๓ ปฏิบัติงานช่างไม้ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

๓.ลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติ :

๓.๑ ปฎิบัติงานด้านงานสี/งานไม้ทุกชนิด

๓.๒ ดูแลและบำรุงรักษารับผิดชอบเครื่องมือเครื่องใช้ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

๓.๓ปฏิบัติงานอื่น ๆ ขัดไม้/ ทาสี/ติดตั้ง/ซ่อมทำสนับสนุนงานไม้ต่างๆภายในหน่วย

คู่มือประจำตำแหน่ง ประจำแผนกช่างไม้ กงน.ฝบก.รร.นร.

คู่มือประจำตำแหน่ง ประจำแผนกช่างไม้ กงน.ฝบก.รร.นร.

๑. ยศ/ชื่อ – สกุล  ร.อ.สมบัติ  ศักดิ์สิทธิ์ ประจำแผนกช่างไม้กงน.ฝบก.รร.นร.

๒. หน้าที่หลัก 

สนับสนุนการซ่อมทำให้กับ นขต.รร.นร.และผู้บังคับบัญชาชั้นสูงตามที่ได้รับมอบหมาย

๓.ลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติ :

๓.๑การกำกับดูแลและควบคุมในการซ่อมทำงานอื่นๆให้กับ นขต.รร.นร.และผู้บังคับบัญชาชั้นสูงตามที่ได้รับมอบหมาย

๓.๑.๑การตรวจสอบงานที่ไดรับมอบหมาย

๓.๑.๒ จัดหาวัสดุ/อุปกรณ์

๓.๑.๓ ดำเนินการซ่อมทำ

๓.๒กำกับดูแลข้าราชการในแผนกฯในเรื่องต่างๆ ระเบียบ วินัย และการปฏิบัติงานให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

คู่มือตำแหน่งช่าง แผนกช่างปรับ กงน.ฝบก.รร.นร.

คู่มือตำแหน่งช่าง  แผนกช่างปรับ กงน.ฝบก.รร.นร.

๑. ยศ/ชื่อ – สกุล  พ.จ.อ.วิโรจน์  เพิ่มพอพิศ   ตำแหน่ง ช่างแผนกช่างปรับ กงน.ฝบก.รร.นร.

๒. หน้าที่หลัก 

๒.๑.  ช่วยเหลือประจำแผนก รับผิดชอบเกี่ยวกับการปฏิบัติการทำวัสดุและการปรับแต่ง

๒.๒.  ดูแลและบำรุงรักษารับผิดชอบเครื่องมือเครื่องใช้ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

๒.๓.  ป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับนักเรียนในการใช้เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง

๒.๔.  ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

๓.ลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติ :

๓.๑.  ช่วยเหลือประจำแผนก รับผิดชอบเกี่ยวกับการปฏิบัติการทำวัสดุและการปรับแต่ง

๓.๒.  ดูแลและแนะนำการใช้เครื่องมือให้กับนักเรียนในระหว่างฝึกปฏิบัติ

๓.๒.๑. การดูแบบชิ้นงาน/การใช้เครื่องมือช่าง/การใช้เครื่องมือวัด

๓.๒.๒. การใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยในการฝึกปฏิบัติ

๓.๒.๓. ลักษณะท่าทางการฝึกปฏิบัติ/เป็นพี่เลี้ยงนักเรียนระหว่างฝึกปฏิบัติ

๓.๓  ดูแลและบำรุงรักษารับผิดชอบเครื่องมือเครื่องใช้ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

๓.๔  ปฏิบัติงานอื่น ๆ ได้แก่ ติดตั้ง/ซ่อมทำ