คู่มือประจำตำแหน่ง ชอล.กวกด.ฝศษ.รร.นร.

๑. ชื่อ – สกุล   พ.จ.อ.ณัฐกร พันธุ์ภูคำ   ตำแหน่ง   ชอล.กวกด.ฝศษ.รร.นร. 

๒. หน้าที่หลัก

๒.๑ ดูแลรักษาและซ่อมบำรุงเครื่อง  เครื่องฝึกจำลองการเดินเรือ

๒.๒ ดูแลรักษาและซ่อมบำรุงเครื่องมือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการฝึกเกี่ยวกับวิชาการเรือ เดินเรือ

๓. ภาระงานที่ได้รับมอบหมายจาก รร.นร. และ ฝศษ.รร.นร.

๓.๑ ดูแลรักษา จัดทำทะเบียนควบคุมพัสดุครุภัณฑ์และซ่อมบำรุงเครื่องมือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการฝึกเกี่ยวกับวิชาการเรือและเดินเรือ รวมทั้งเครื่องฝึกจำลองการเดินเรือ ดูแลป้องกันภัยต่างๆ  อันอาจเกิดขึ้นกับพัสดุครุภัณฑ์ และอาคารสถานที่ในความรับผิดชอบอันได้แก่ การโจรกรรม

๓.๒ สนับสนุนการเรียนการสอนของครู – อาจารย์ ที่สอนวิชาการเรือและเดินเรือ

๔. หน้าที่พิเศษที่ได้รับมอบหมาย

๔.๑ ควบคุมดูแลทะเบียนควบคุมพัสดุครุภัณฑ์สาย อล.

๔.๒ ปฏิบัติงานอื่นๆตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

แบบประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง(Authentic Assessment)

การประเมินตามสภาพจริง(Authentic Assessment)

                วิธีการวัดและประเมินที่ยอมรับกันว่าสอดคล้องกับแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญคือ การประเมินตามสภาพจริง(Authentic Assessment) เพราะเป็นวิธีการที่สามารถค้นหาความสามารถ และความก้าวหน้าในการเรียนรู้ที่แท้จริงของผู้เรียน และยังเป็นข้อมูลสำคัญที่สามารถนำมาใช้ประกอบการตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ด้วยการประเมินตามสภาพจริง มีลักษณะ ดังนี้

  1. เป็นการประเมินที่กระทำไปพร้อม ๆ กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการเรียนรู้
  2. เป็นการประเมินที่เน้นพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียนที่แสดงออกมาจริงๆ
  3. เน้นการพัฒนาผู้เรียนอย่างเด่นชัด และให้ความสำคัญกับการพัฒนาจุดเด่นของผู้เรียน
  4. เน้นการประเมินตนเองของผู้เรียน
  5. ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสถานการณ์ที่เป็นชีวิตจริง
  6. ใช้ข้อมูลที่หลากหลาย มีการเก็บข้อมูลระหว่างการปฏิบัติในทุกด้าน

ในการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือในวิชาประวัติศาสตร์ กวกส.ฯ ได้ออกแบบประเมินให้สอดคล้องกับวิธีการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย

      1. แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม (๒๐ คะแนน)

      2. แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ( ๓๐ คะแนน)

3. แบบประเมินความคิดเห็นของ นนร.ที่มีต่อผลงาน

4. แบบบันทึกการทำงานกลุ่ม

รายละเอียดตาม แบบประเมินประวัติศาสตร์57