เทคนิคการตัดเหล็กให้ได้มุม 45 องศาพอดี

เรือตรีกิตติพงษ์ จันทร์เปล่ง

ช่วยราชการแผนกช่างโลหะแผ่นกองโรงงานฝ่ายบริการโรงเรียนนายเรือ

งานหลักๆของแผนกโลหะแผ่นคือฝึกสอนนักเรียนายเรือวิชาการโรงงานและซ่อมแซมงานภายในหน่วย

สภาพงานเป็นการฝึกสอนงานเชื่อมเหล็กเป็นขั้นพื้นฐานประกอบงานบ้างงานรองโดยทั่วไปเป็นงานโครงสร้างเหล็กมีทั้งการซ่อมแซมและมีการทำขึ้นมาใหม่ ตามแบบงาน จากการที่มีงานทำอยู่เป็นเนืองนิตย์ทำให้เครื่องมือหลายๆชนิดมีสภาพที่เสื่อมลงแต่ยังสามารถใช้และอาจมีอุปกรณ์บางชนิดไม่เที่ยงตรงโดยเฉพาะอุกรณ์ตั้งศูนย์ของเครื่อง”แต่”อาศัยเทคนิค และความชำนาญของช่างในการใช้งาน ในส่วนนี้จะขอยกตัวอย่างเครื่องตัดเหล็กที่มีสภาพที่เก่าลงและอุปกรณ์วัดองศาไม่เที่ยงตรงแต่ยังสามารถใช้งานได้

สภาพปัญหา

1.มีอายุการใช้งานมานาน

2.ตัวปรับองศาไม่เที่ยงตรง

3.ตัดเหล็กไม่ได้องศาตามที่ต้องการ

4.ประกอบงานไม่สวยงาม

5.สิ้นเปลืองเวลา

6.สิ้นเปลืองลวดเชื่อมและไฟฟ้าในการเชื่อมพอกให้เต็ม

 

 

ผลจากการตัดเหล็กเป็นมุมฉากเมื่อประกอบงานแล้วมีช่องว่างไม่ได้มุม90องศาทำให้มีช่องว่างไม่สวยงามสิ้นเปลืองเวลาและลวดเชื่อมในการพอกงานให้เต็ม

ผู้เขียนจึงนำเสนอเทคนิคในการปรับแต่งเครื่องตัดเพื่อให้สามารถตัดเหล็กให้ได้มุม 45 องศาทุกครั้ง

มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.เตรียมอุปกรณ์ฉากเหล็กเหล็กแบนและเหล็กขีด

2.ใช้ฉากเหล็กทาบกับเหล็กให้ได้มุม 45 องศาแล้วขีดเป็นเส้นให้เห็นเด่นชัดโดยทำมุมกับเหล็ก 45 องศาพอดีตามองศาที่เราจะตัด

3.นำขนาดมุม45 องศาที่ขีดไว้ไปเทียบองศากับตัวใบตัดเหล็กโดยตรงจากเครื่องตัดเหล็กโดยไม่ใช้วิธีตั้งค่ามุมจากอุปกรณ์วัดมุมของเครื่องตัด

4.ล๊อคสกรูปรับยึดองศาให้แน่นเพื่อพร้อมใช้งาน


ขั้นตอนต่อไปพร้อมนำไปใช้งาน

 

 

ผลที่ได้รับจากการใช้เทคนิคมีการปรับองศา

1.การประกอบชิ้นงานได้มุม 90 องศา

พอดี

2.ชิ้นงานมีความสวยงาม

3.ประหยัดลวดเชื่อมในการพอกเนื้อ   งานให้เต็ม

4.ประหยัดเวลาในการทำงาน

5.ประหยัดงบประมาณของทางราชการ

6.การทำงานสะดวกยิ่งขึ้น

ผลที่ดีขึ้นจากการใช้เทคนิคปรับปรุง

จบการนำเสนอ

การใช้งานและดูแลรักษาเครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้า(STABILIZER)

เพื่อให้ผู้ที่ย้ายบรรจุุมาใหม่สามารถใช้งานอุุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง ไม่เกิดการชำรุดจากการใช้งานที่ผิดขั้นตอนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการจัดทำคู่มือการใช้งานเบื้องต้นให้เข้าใจง่าย และสามารถปฏิบัติงานได้

มือใหม่…ประเมินผลการปฏิบัติหลังเสร็จสิ้นโครงการ

มือใหม่…ประเมินผลการปฏิบัติหลังเสร็จสิ้นโครงการ

การประเมินผลการปฏิบัติ ไม่ใช่เป็นการมุ่งตรวจสอบหรือจับผิดการปฏิบัติ แต่มีเป้าประสงค์หลักคือ ต้องการข้อมูลที่บ่งชี้ว่าโครงการที่ดำเนินการนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ รวมถึงเป็นการศึกษาว่าในการปฏิบัติมีปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไขในเรื่องอะไรบ้าง สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงพัฒนาโครงการต่อไป
สำหรับผู้ที่ไม่เคยทำ สามารถทำได้ง่าย ๆ ตามนี้
มือใหม่…ประเมินผลการปฏิบัติหลังเสร็จสิ้นโครงการ