ผู้บุกเบิกศาสตร์ทางทะเลและมหาสมุทร ตอนที่ 2

วันนี้ ขอนำเสนอนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลรุ่นบุกเบิก ครับ………
ช่วง 500 B.C. ถึง 500 A.D. มีนักวิทยาศาสตร์ ที่บุกเบิกการสำรวจทางทะเล (oceanographic survey) ประกอบด้วย…….
โปไซโดนิอุส (Posidonius, ca. 135 BCE – 51 BCE) แจ้งว่าสามารถวัดความลึกน้ำทะเลใกล้เกาะซาร์ดิเนีย (Sardinia) ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ได้ประมาณ 1,800 เมตร (6,000 ฟุต)……


ไพลนี (Pliny, 23 AD – August 25, 79 AD ) พบว่า ดิถีดวงจันทร์มีความสัมพันธ์กับการขึ้น–ลงของระดับน้ำในทะเล และพบว่ามีกระแสน้ำไหลผ่านช่องแคบยิบรอลตาร์ (Gibraltar)……
เครดิต : ขอบคุณ ภาพประกอบจากวิกิพีเดีย……..

ผู้บุกเบิกศาสตร์ทางทะเลและมหาสมุทร ตอนที่ 1

ผู้บุกเบิกศาสตร์ทางทะเลและมหาสมุทร…….
ช่วง 300 ปีก่อนคริสตศักราช ไพทีส (Pytheas) นักเดินเรือชาวกรีกเดินเรือจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนสู่ประเทศอังกฤษ เขาใช้ดวงอาทิตย์ ดวงดาว และลม ช่วยในการหาทิศทาง และพยายามที่จะกำหนดละติจูดและลองกิจูด ข้อมูลที่เขารวบรวมนำไปสู่รากฐานของการสำรวจในรุ่นต่อ ๆ มา…….
ประมาณ 200 ปี ก่อนคริสตศักราช อีราทอสเทนีส (Eratosthenes) ชาวอียิปต์ ได้จัดสร้างแผนที่ขึ้น และคำนวณเส้นรอบวงของโลกได้ 40,250 กิโลเมตร หรือ 25,000 ไมล์ (ปัจจุบัน วัดได้ 40,067 กิโลเมตรหรือ24,881 ไมล์)……..
ปโตเลมี (Claudius Ptolemaeus,Ptolemy) ได้นำแนวความคิดเรื่องโลกกลมของ Eratosthenes มาใช้ในการสร้างแผนที่โดยเริ่มมีแผนที่ระบบ Grid System แต่การสร้างแผนที่ยังคงได้จากการถาม นักเดินเรือและชาวประมง การสร้างแผนที่โลกยังคงเป็นลักษณะแบน และภูมิภาคใดที่มีความสำคัญเกี่ยวกับทรัพยากรที่เกี่ยวกับมนุษย์จะมีขนาดใหญ่กว่าภูมิภาคอื่น

ภาพประกอบจาก วิกิพีเดีย

ศาสตร์แห่งทะเลและมหาสมุทร

ทะเลและมหาสมุทรได้รับความสนใจจากมนุษย์เริ่มแรกในลักษณะที่เป็นแหล่งอาหารและในการแสวงหาอาหารในทะเล การค้นหาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ การค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าและการแสวงหาดินแดนใหม่ มนุษย์จึงสังเกตพบความเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำ กระแสน้ำ คลื่น และรู้จักนำเรือหลบหลีกเมื่อมีคลื่นลมแรง ดังนั้นมนุษย์จึงค่อย ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับสมุทรศาสตร์ขึ้นมาเอง เมื่อมีการพัฒนาการของเรือให้มีขนาดใหญ่ขึ้นก็เริ่มมีการแสวงหาประโยชน์จากทะเลมากขึ้น รวมทั้งศึกษาความเป็นมาของทะเลอย่างจริงจัง
ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับทะเล และกระบวนการต่างๆ ในทะเลและมหาสมุทรในมุมมองที่เป็นวิทยาศาสตร์นั้น เป็นความจำเป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางทะเลของประเทศ เพื่อที่จะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนต่อไป
เมื่อประมาณ 350 ปี ก่อนคริสตศักราช อริสโตเติล (Aristotle) เชื่อว่ามหาสมุทร เป็นส่วนที่ลึกที่สุดของผิวโลกและเชื่อว่าความร้อนจากดวงอาทิตย์จะระเหยน้ำจากผิวหน้าทะเล และเมื่อไอน้ำเหล่านี้กระทบกับความเย็นก็จะเกิดการควบแน่นตกลงมาเป็นฝน และเขาได้ริเริ่มทำบัญชีจำแนกประเภทของสัตว์ทะเลขึ้นมา
ภาพประกอบ จาก วิกิพีเดีย

คู่มือปฏิบัติงานประจำตำแหน่ง รอง หก.กถจ.รร.นร.

หน้าที่หลัก

  1. ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้ากอง ให้ช่วยดำเนินการ  ควบคุม ตรวจสอบและกำกับดูแลการดำเนินการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนและบรรลุวัตถุประสงค์
  2. ช่วยหัวหน้ากองบริหารหน่วยให้สามารถดำเนินการบรรลุภารกิจ ปรับปรุงและพัฒนาหน่วยในทุกด้าน

หน้าที่พิเศษที่ได้รับมอบหมาย

  1. การบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ตามคำสั่ง รร.นร. (เฉพาะ) ที่ 730/2559 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ รร.นร. (RTNA-PMQA)
  2. การสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพเรือ ตามคำสั่ง …………