การฝึกสถานีดับเพลิงประจำอาคารตามแนวทางที่กำหนดใน อทร.9204
ขอบเขต KM : การจัดการองค์ความรู้ด้านการฝึกสถานีดับเพลิงประจำอาคาร ตามแนวทางที่กำหนดใน อทร.9204
เป้าหมาย : เพื่อให้ข้าราชการแผนกขนส่งและดับเพลิง กบก.ฝบก.รร.นร. สามารถฝึกสถานีดับเพลิงประจำอาคารตามแนวทางที่กำหนดใน อทร.9204 ให้แก่หน่วยต่างๆ ใน รร.นร.ได้อย่างถูกต้อง มีรูปแบบและขั้นตอนที่ชัดเจน เป็นแนวทางเดียวกัน
1.ขั้นการเตรียมการก่อนการฝึกสถานีดับเพลิงประจำอาคาร
เมื่อได้รับการประสานจากหน่วยที่ต้องการให้ฝึกสถานีดับเพลิงประจำอาคาร (ปัจจุบันตั้งแต่ปี 2561 – 63 แผนกขนส่งและดับเพลิง ฯ จะเสนอขออนุมัติฝึกดับเพลิงให้แก่หน่วยต่างๆ ใน รร.นร. โดยจะกำหนดห้วงเวลาในการฝึกดับเพลิงให้กับหน่วยต่างๆไว้เรียบร้อยแล้ว ตัวอย่าง ตามเอกสารที่แนบ 1) ให้ผู้ที่จะทำการฝึกเตรียมการดังนี้
1.1 ประสานหน่วยที่รับการฝึก เพื่อขอเอกสารการจัดสถานีดับเพลิงประจำอาคารของอาคารนั้นๆ มาตรวจสอบ และวางแผนการฝึก
ข้อสังเกต ปกติแต่ละอาคารจะมีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบด้าน ปคส.ไว้อยู่แล้ว
ข้อพึงระวัง สถานีดับเพลิงที่แต่ละอาคารจัดไว้ ไม่เป็นปัจจุบัน เช่นรายชื่อไม่ตรงกับผู้ที่ย้ายเข้า – ย้ายออก
ข้อเสนอแนะ 1. ให้สอบถามผู้รับผิดชอบด้าน ปคส.ของอาคารว่ารายชื่อ จนท.ต่างๆ ในสถานีดับเพลิง ได้ปรับแก้ให้เป็นปัจจุบันแล้วหรือยังในกรณียังไม่มีการปรับแก้ ให้แจ้งให้ทำการแก้ไขให้เรียบร้อยก่อน
2.ในกรณีที่ต้องแก้ไขรายละเอียดในสถานีดับเพลิง และเห็นว่าไม่สามารถแก้ไขได้ทันกำหนดเวลาฝึกเดิม ให้ปรับเลื่อนเวลาฝึกออกไป
1.2 ทบทวนหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ประจำสถานี ทั้ง 12 ตำแหน่ง ว่าแต่ละตำแหน่งมีหน้าที่อะไร จะต้องปฏิบัติอย่างไร และปฏิบัติในช่วงจังหวะใด
ข้อสังเกต ความแม่นยำในการจำหน้าที่ทั้ง 12 ตำแหน่ง จะทำให้การฝึกราบรื่นยิ่งขึ้น
ข้อพึงระวัง หน้าที่บางตำแหน่งมีความคาบเกี่ยวใกล้เคียงกัน ต้องแยกจำให้มีความชัดเจน และต้องตอบคำถามของผู้เข้ารับการฝึกให้ได้
ข้อเสนอแนะ ควรสรุปย่อหน้าที่และขั้นตอนการปฏิบัติตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดการฝึก แล้วพิมพ์ใส่กระดาษ ถือติดตัวไปในวันที่ทำการฝึกด้วย
1.3 แจ้งเจ้าหน้าที่ประจำรถดับเพลิง ให้จัดกำลังพลประจำรถดับเพลิง และอุปกรณ์สำหรับการฝึกดับเพลิงขั้นต้น รวมทั้งนัดหมาย และซักซ้อมการปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอน ก่อนการฝึกให้กับหน่วยที่ร้องขออย่างน้อย 1 วัน
ข้อสังเกต เจ้าหน้าที่ประจำรถดับเพลิง ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ที่จัดไว้ประจำ แต่หมุนเวียนการปฏิบัติตามโอกาส (ผู้ที่ไม่ติดภารกิจขับรถในวันที่มีการฝึก)
ข้อพึงระวัง การปฏิบัติจริงจึงอาจจะไม่สัมพันธ์กัน
ข้อเสนอแนะ ให้ผู้ที่จะเป็นผู้ฝึก ลงไปกำกับดูแลการฝึกซ้อมการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ประจำรถดับเพลิงด้วยตัวเอง หากเห็นว่ามีขั้นตอนใดที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องให้ทำการปรับแก้ จนกว่าจะถูกต้อง
1.4 ประสานผู้รับผิดชอบด้าน ปคส.ของอาคาร เพื่อให้นำสำรวจตำแหน่งที่ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงประจำอาคาร เส้นทางขนย้าย จุดรวมพล ตลอดจนการนัดหมายและความพร้อมของกำลังพลที่จะเข้ารับการฝึก เป็นต้น
ข้อสังเกต การสำรวจสถานที่ร่วมกับผู้รับผิดชอบด้าน ปคส.ของอาคาร จะทำให้แผนมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ข้อพึงระวัง การที่รถดับเพลิงพร้อมเจ้าหน้าที่ออกทำการฝึกนั้น อาจทำให้ผู้ที่ไม่ทราบข้อเท็จจริงเกิดความเข้าใจผิดว่าเกิดเหตุจริงได้
ข้อเสนอแนะ 1.ควรแจ้งให้ผู้รับผิดชอบด้าน ปคส.ของอาคาร ประสาน ยก.ขว.บก.รร.นร.ให้ประกาศเสียงตามสายว่าจะมีการฝึกดับเพลิง ณ อาคารใด ห้วงเวลาใด เพื่อป้องกันการเข้าใจผิด
2. ในขั้นนี้ควรประสานให้ผู้ที่ทำหน้าที่ผู้อำนวยการดับเพลิงในวันที่จะทำการฝึก มาศึกษารายละเอียดและขั้นตอนการสั่งการด้วย
- ขั้นการฝึกสถานีดับเพลิงประจำอาคาร
เมื่อถึงกำหนดเวลาฝึก ให้ผู้ทำการฝึกไปที่จุดรวมพล ที่ได้สำรวจไว้ และให้ปฏิบัติดังนี้
1.เรียกแถวกำลังพลที่จะทำการฝึกทั้งหมด (ลักษณะแถวตามความเหมาะสมของพื้นที่และจำนวนกำลังพล
2.นำเอกสารการจัดสถานีดับเพลิง (ที่รับจากผู้รับผิดชอบด้าน ปคส.ของอาคารในขั้นเตรียมการ) ออกมาขาน ยศ ชื่อ สกุล เจ้าหน้าที่ตามตำแหน่งต่างๆ เรียงตามลำดับดังนี้
2.1 ตำแหน่ง ผู้อำนวยการทั่วไป /ยศ ชื่อ สกุล/ผู้เข้ารับการฝึกแสดงตน/แจ้งให้ออกมายืนนอกแถวด้านขวามือของผู้ทำการฝึก หันหน้าแถวไปทางแถวของผู้รับการฝึก
2.2 ตำแหน่ง ผู้อำนวยการดับเพลิง /ยศ ชื่อ สกุล/ผู้เข้ารับการฝึกแสดงตน/แจ้งให้ออกมายืนนอกแถวด้านซ้ายมือของผู้ทำการฝึก หันหน้าแถวไปทางแถวของผู้รับการฝึก
2.3 ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดับเพลิง /ยศ ชื่อ สกุล/ผู้เข้ารับการฝึกแสดงตน/แจ้งให้ไปยืนเป็นแถวตอนเรียง 1 ด้านซ้ายมือของผู้ทำการฝึก หันหน้าเข้าหาผู้ทำการฝึก (เรียกจนครบทุกนาย)
2.4 ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ช่างไฟฟ้าและประปา /ยศ ชื่อ สกุล/ผู้เข้ารับการฝึกแสดงตน/แจ้งให้ไปยืนเป็นแถวตอนเรียง 1 ถัดจากแถวของเจ้าหน้าที่ดับเพลิง มาทางขวามือของผู้ทำการฝึก หันหน้าเข้าหาผู้ทำการฝึก (เรียกจนครบทุกนาย)
2.5 ตำแหน่งเจ้าหน้าที่สำรวจและตรวจสอบความเสียหาย /ยศ ชื่อ สกุล/ผู้เข้ารับการฝึกแสดงตน/แจ้งให้ไปยืนเป็นแถวตอนเรียง 1 ถัดจากแถวของเจ้าหน้าที่ช่างไฟฟ้าและประปา มาทางขวามือของผู้ทำการฝึก หันหน้าเข้าหาผู้ทำการฝึก (เรียกจนครบทุกนาย)
2.6 ตำแหน่งเจ้าหน้าที่รื้อสิ่งของและขนย้าย /ยศ ชื่อ สกุล/ผู้เข้ารับการฝึกแสดงตน/แจ้งให้ไปยืนเป็นแถวตอนเรียง 1 ถัดจากแถวของเจ้าหน้าที่สำรวจและตรวจสอบความเสียหาย มาทางขวามือของผู้ทำการฝึก หันหน้าเข้าหาผู้ทำการฝึก (เรียกจนครบทุกนาย)
2.7 ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ติดต่อสื่อสาร /ยศ ชื่อ สกุล/ผู้เข้ารับการฝึกแสดงตน/แจ้งให้ไปยืนเป็นแถวตอนเรียง 1 ถัดจากแถวของเจ้าหน้าที่รื้อสิ่งของและขนย้าย มาทางขวามือของผู้ทำการฝึก หันหน้าเข้าหาผู้ทำการฝึก (เรียกจนครบทุกนาย)
2.8 ตำแหน่งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและจราจร /ยศ ชื่อ สกุล/ผู้เข้ารับการฝึกแสดงตน/แจ้งให้ไปยืนเป็นแถวตอนเรียง 1 ถัดจากแถวของเจ้าหน้าที่ติดต่อสื่อสาร มาทางขวามือของผู้ทำการฝึก หันหน้าเข้าหาผู้ทำการฝึก (เรียกจนครบทุกนาย)
2.9 ตำแหน่งเจ้าหน้าที่อพยพ /ยศ ชื่อ สกุล/ผู้เข้ารับการฝึกแสดงตน/แจ้งให้ไปยืนเป็นแถวตอนเรียง 1 ถัดจากแถวของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและจราจร มาทางขวามือของผู้ทำการฝึก หันหน้าเข้าหาผู้ทำการฝึก (เรียกจนครบทุกนาย)
2.10 ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ตรวจยอดบัญชีพล /ยศ ชื่อ สกุล/ผู้เข้ารับการฝึกแสดงตน/แจ้งให้ไปยืนเป็นแถวตอนเรียง 1 ถัดจากแถวของเจ้าหน้าที่อพยพ มาทางขวามือของผู้ทำการฝึก หันหน้าเข้าหาผู้ทำการฝึก (เรียกจนครบทุกนาย)
2.11 ตำแหน่งเจ้าหน้าที่เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บและพยาบาล /ยศ ชื่อ สกุล/ผู้เข้ารับการฝึกแสดงตน/แจ้งให้ไปยืนเป็นแถวตอนเรียง 1 ถัดจากแถวของเจ้าหน้าที่ตรวจยอดบัญชีพล มาทางขวามือของผู้ทำการฝึก หันหน้าเข้าหาผู้ทำการฝึก (เรียกจนครบทุกนาย)
2.12 ตำแหน่งแถวรอฟังคำสั่ง /ยศ ชื่อ สกุล/ผู้เข้ารับการฝึกแสดงตน/แจ้งให้ไปยืนเป็นแถวตอนเรียง 1 ถัดจากแถวของเจ้าหน้าที่เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บและพยาบาล มาทางขวามือของผู้ทำการฝึก หันหน้าเข้าหาผู้ทำการฝึก (เรียกจนครบทุกนาย)
ข้อสังเกต บางอาคาร กำลังพลมีไม่เพียงพอ อาจจัดได้ไม่ครบทุกตำแหน่ง
ข้อพึงระวัง ตำแหน่งที่มีความสำคัญต้องจัดให้มีกำลังพลครบทุกตำแหน่ง
ข้อเสนอแนะ ควรให้คำแนะนำว่าตำแหน่งใดควรมีกำลังพลเท่าใดจึงจะเหมาะสมกับพื้นที่อาคาร
3. เมื่อจัดแถวตามข้อ 2 เรียบร้อยแล้ว ให้ทำการแนะนำหน้าที่ และขั้นตอนการปฏิบัติของแต่ละตำแหน่ง (ให้ครบตามที่เตรียมมาในขั้นตอนที่ 1)ขั้นตอนการฝึกดับเพลิง
ข้อสังเกต การแนะนำในขั้นตอนนี้ค่อนข้างมีรายละเอียดมาก
ข้อพึงระวัง ผู้รับการฝึกอาจไม่เข้าใจ แต่ไม่กล้าถาม
ข้อเสนอแนะ 1.ผู้ทำการฝึกต้องเตรียมข้อมูลให้ดีและมีความชัดเจน สั้น กระชับ ได้ใจความ และให้ผู้รับการฝึกฟังในอริยบทที่ผ่อนคลาย เช่น นั่งฟังการแนะนำ
2. เมื่อแนะนำจบแต่ละตำแหน่ง ควรสอบถามผู้เข้ารับการฝึกว่ามีผู้ใดยังมีข้อสงสัยขั้นตอนใดหรือไม่/ถ้ามีขั้นตอนใดให้อธิบายขั้นตอนนั้นอีกครั้ง
3. ขั้นตอนนี้ควรแนะนำการใช้ Co2 และผงเคมีแห้ง ให้ผู้เข้ารับการฝึกทราบด้วย โดยเฉพาะตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดับเพลิง
4. เมื่อแนะนำหน้าที่ตามข้อ 3 เรียบร้อยแล้วให้สั่งเลิกแถว และเริ่มฝึกประจำสถานีดับเพลิง (รอบที่ 1) โดยปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่แนะนำ (รายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติ ตามเอกสารที่แนบ 2) การฝึกรอบที่ 1 นี้ ให้ผู้ทำการฝึกทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการดับเพลิง (เพื่อให้ผู้อำนวยการดับเพลิงดูเป็นตัวอย่าง)
ข้อสังเกต การฝึกรอบที่ 1 อาจจะติดขัด ไม่ราบรื่น เป็นเรื่องปกติ
ข้อพึงระวัง ให้คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้รับการฝึกเป็นสำคัญ
ข้อเสนอแนะ แม้จะมีข้อติดขัดบ้าง แต่ควรให้การฝึกดำเนินไปจนจบทุกขั้นตอน แล้วค่อยมาชี้แจงข้อบกพร่องและวิธีการแก้ไขในภายหลัง
- เมื่อสิ้นสุดการฝึกในรอบที่ 1 ให้ผู้ทำการฝึกชี้แจงข้อบกพร่อง และแนะนำวิธีการแก้ไข แล้วให้สั่งเลิกแถว และให้ผู้อำนวยการดับเพลิงประจำอาคาร ทำหน้าที่สั่งการ แล้วเริ่มฝึกประจำสถานีดับเพลิงรอบที่ 2
ข้อสังเกต ผู้ที่ทำหน้าที่ผู้อำนวยการดับเพลิง จะต้องมีความถนัดในการสั่งการ โดยปกติจะจัดจาก ผู้รับผิดชอบด้าน ปคส.ของอาคาร
ข้อพึงระวัง ให้คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้รับการฝึกเป็นสำคัญ
ข้อเสนอแนะ ในการฝึกที่ต้องมีการรายงาน หรือการตะโกน ควรให้ผู้รับการฝึกรายงานเสียงดัง เพื่อให้เกิดความมั่นใจ
- เมื่อสิ้นสุดการฝึกในรอบที่ 2 ให้ผู้ทำการฝึกชี้แจงข้อบกพร่อง และแนะนำวิธีการแก้ไข และให้นำเรียนผลการฝึกให้ผู้อำนวยการทั่วไปทราบ เพื่อพิจารณาว่าจะให้ดำเนินการอย่างไรต่อไป
ข้อสังเกต ถ้าเป็นการฝึกซ้อมเพื่อรับการตรวจจาก จร.ทร. จะมีการซ้อมอย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งละ 2 – 3 รอบ เพื่อความถูกต้อง และรวดเร็วในการปฏิบัติ
ข้อพึงระวัง ในการตรวจของ จร.ทร.จะเพิ่มสถานการณ์ความยาก เช่น มีผู้ได้รับบาดเจ็บ /เพลิงลุกลาม/ตลอดจนการให้สาธิตการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในการณีต่างๆ
ข้อเสนอแนะ ควรให้มีการประสาน รพ.รร.นร.มาฝึกการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ให้กับผู้ที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บด้วย