สารบัญ
คู่มือประจำตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองวิชาคณิตศาสตร์
ขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ
๑. อำนวยการศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษาโรงเรียนนายเรือ และหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ในกลุ่มวิชา
คณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์ และวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามระบบประกันคุณภาพการศึกษา
รวมทั้งกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
๒. ปกครอง บังคับบัญชา และบริหารจัดการกำลังพลในสังกัด รวมทั้งครู อาจารย์ที่ ฝศษ.ฯ ให้ไปช่วยปฏิบัติ
ราชการที่กองวิชา
๓. บริหารจัดการด้าน งบประมาณ รวมทั้งค่าสอนของครู – อาจารย์ในส่วนที่กองวิชาได้รับจัดสรร
๔. บริหารจัดการด้านพัสดุ ครุภัณฑ์ อาวุธยุทโธปกรณ์ รวมทั้งอาคารสถานที่ ในส่วนของกองวิชา
๕. ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
ลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติ :
๑. วางแผนการศึกษา ในกลุ่มวิชาชีพทหารเรือ ตามหลักสูตรการศึกษาโรงเรียนนายเรือ และหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา จัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามมาตรฐานในระบบประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พิจารณาคัดเลือกครู – อาจารย์ และครูช่วยสอนเพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนครู – อาจารย์จากหน่วยนอกตามความเหมาะสม กำกับดูแล ให้มีการเรียนการสอนตามแผน การประเมินผลการเรียนการสอน การประเมินประสิทธิภาพการสอน ให้ครู – อาจารย์ในกลุ่มวิชาที่กองวิชารับผิดชอบจัดทำประมวลการศึกษา แผนการสอน และเอกสารบันทึกภาระงานสอน เพื่อใช้ในการตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน และรวบรวมส่งให้ ฝศษ.ฯ ทุกปลายภาคการศึกษา จัดให้มีการประเมินผลหลักสูตร และเสนอข้อพิจารณาในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร และกระบวนการเรียนการสอน ให้ ฝศษ.ฯ พิจารณาดำเนินการต่อไป
๒. แบ่งมอบหน้าที่และกำกับดูแลให้กำลังพลและอาจารย์ที่ไปช่วยราชการที่กองวิชา ดำเนินการสอน หรือปฏิบัติงานอื่นๆให้ครอบคลุมภารกิจของหน่วย อนุมัติแผนการปฏิบัติงาน และแผนการสอนของครู – อาจารย์ในกองวิชา รวมทั้งกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผน พิจารณาเสนอแผนการพัฒนากำลังพลของหน่วย รวมทั้งสนับสนุนให้กำลังพลทุกคนได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถ ให้เหมาะสมกับงานที่มอบให้รับผิดชอบ ประเมินผลการปฏิบัติงานของกำลังพล พิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาข้อขัดข้อง และการพัฒนาระบบการทำงานภายในหน่วย ประเมินค่ากำลังพลทุกระดับ และพิจารณาเสนอขอบำเหน็จประจำปี เลื่อนยศ ปลด ย้าย หรือลงโทษผู้กระทำความผิดตามระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
ขอบเขตความรับผิดชอบ
เคยผ่านการปฏิบัติงานด้านวุฒิการศึกษา : ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี สาขาคณิตศาสตร์ สถิติ สถิติประยุกต์ คอมพิวเตอร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง -ประสบการณ์ : เคยเป็นครูช่วยสอนหรือวิทยากร บรรยาย /ฝึกอบรม ในสาขาวิชาคณิตศาสตร์ หรือ สถิติ หรือคอมพิวเตอร์ ของหลักสูตรของกองทัพเรือ – หลักสูตรการอบรม : หลักสูตรการพัฒนากำลังพลชั้นสัญญาบัตรในสาขาวิชาทหาร ได้แก่ ฝ่ายอำนวยการเบื้องต้น นายทหารชั้นต้น นายทหารอาวุโส หรือเสนาธิการทหาร อย่างน้อย ๑ หลักสูตร หลักสูตรการอบรมเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ สถิติ หรือคอมพิวเตอร์ หลักสูตรการอบรมเกี่ยวกับการบริหารงาน หรือการบริหารการศึกษา หรือการประกันคุณภาพการศึกษา
ตารางการปฏิบัติงานประจำปี ของ ผอ.กวณ.ฝศษ.ฯ
แผนปฏิบัติงานประจำปี งป.๖๐
กองวิชาคณิตศาสตร์ ฝ่ายศึกษา โรงเรียนนายเรือ
วิสัยทัศน์ของหน่วย มุ่งเน้นพัฒนา นนร. ให้มีทักษะความรู้ทางคณิตศาสตร์ สถิติ และคอมพิวเตอร์ สามารถคิดวิเคราะห์เพื่อเป็นพื้นฐานศึกษาในระดับสูง ด้วยทรัพยากรเกื้อหนุนและกระบวนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้เป็นไปตามหลักสูตรการศึกษาของ รร.นร. และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พร้อมเสริมสร้างทักษะการสอนของคณาจารย์ ให้สามารถปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการวิชาการแก่สังคม
กลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการ
กำหนดแนวทาง / นโยบาย / เป้าหมาย การบริหารที่ชัดเจน รวมทั้งมีการจัดระบบการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพและความคล่องตัว สามารถติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการต่าง ๆ ของ กวณ.ฝศษ.ฯ ได้
เป้าประสงค์ที่ ๑ มีวิสัยทัศน์และนโยบายในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและคล่องตัว
กลยุทธ์ | ตัวชี้วัด / เป้าหมาย | กิจกรรม / แนวทางการดำเนินกิจกรรม | เวลา | ผู้รับผิดชอบ | อุปสรรค/ข้อเสนอแนะ/ สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป |
๑. ดำเนินการตามวิสัยทัศน์ และนโยบายในการบริหารจัดการของ กวณ.ฝศษ.ฯ |
ร้อยละของจำนวนบุคลากรใน กวณ.ฝศษ.ฯ มีการดำเนินการตามวิสัยทัศน์ และนโยบายในการบริหารจัดการ / ร้อยละ ๑๐๐ |
๑. สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ กวณ.ฝศษ.ฯ
สร้างความรู้ความเข้าใจแก่บุคลากรเกี่ยวกับความหมายให้เห็นความจำเป็นในการสร้างวิสัยทัศน์ รวมถึงการมีเจตคติที่ดีของบุคลากร ที่มีต่อ กวณ.ฝศษ.ฯ รวบรวมข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน เช่นวัตถุประสงค์ ภารกิจ ความคาดหวัง ความต้องการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
ต.ค.๕๙ | ผอ.กวณ.ฯ /
รอง ผอ.กวณ. ฯ |
|
๒. กำหนดนโยบาย จัดประชุมบุคลากร เพื่อเน้นย้ำให้ดำเนินการตามนโยบายที่กำหนดไว้
มีการประชุมชี้แจง เน้นย้ำให้บุคลากร กวณ.ฝศษ.ฯ ไปปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนดไว้ โดยผู้เข้าร่วมประชุมมีส่วนร่วมคิด ให้การสนับสนุนและเต็มใจที่จะปฏิบัติตาม การมีส่วนร่วมก่อให้เกิดความผูกพัน (Commitment) ร่วมกัน
|
ต.ค.๕๙ – ก.ย.๖๐ | บุคลากร กวณ. ฯ |
กลยุทธ์ | ตัวชี้วัด / เป้าหมาย | กิจกรรม / แนวทางการดำเนินกิจกรรม | เวลา | ผู้รับผิดชอบ | อุปสรรค / ข้อเสนอแนะ / สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป |
๒. ทบทวน และกำหนดหน้าที่ มอบหมายงานที่อยู่ในความรับผิดชอบให้เหมาะสมกับบุคลากรแต่ละคนของ กวณ.ฝศษ.ฯ | ร้อยละของจำนวนบุคลากร กวณ.ฝศษ.ฯ มีหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเหมาะสมกับงาน / ร้อยละ ๑๐๐ | พิจารณาความรู้ความสามารถของบุคลากรแต่ละคน เพื่อมอบหมายหน้าที่ให้เหมาะสมกับแต่ละประเภทของงานที่จะต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ตามนโยบาย | ต.ค.– พ.ย.๕๙ | ผอ.กวณ. /
รอง ผอ.กวณ. ฯ |
เป้าประสงค์ที่ ๒ มีแผนปฏิบัติการและตัวชี้วัดในแต่ละกลยุทธ์ของแผนที่ชัดเจน เพื่อสนองนโยบายและเป้าหมายของ ฝศษ.ฯ
กลยุทธ์ | ตัวชี้วัด / เป้าหมาย | กิจกรรม / แนวทางการดำเนินกิจกรรม | เวลา | ผู้รับผิดชอบ | อุปสรรค / ข้อเสนอแนะ / สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป |
จัดทำแผนปฏิบัติงาน พร้อมตัวชี้วัดในแต่ละกลยุทธ์ของแผนปี งป.๖๐ | มีแผนปฏิบัติงานสอดคล้องกับ แผนยุทธศาสตร์ รร.นร. พ.ศ.๒๕๕๘ – ๒๕๖๗ | จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) และตัวชี้วัดในแต่ละกลยุทธ์ ให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ รร.นร.พ.ศ.๒๕๕๘ – ๒๕๖๗ | ต.ค.-พ.ย.๕๙ | บุคลากร กวณ. ฯ |
เป้าประสงค์ที่ ๓ สามารถติดตามตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการต่าง ๆ ได้
กลยุทธ์ | ตัวชี้วัด / เป้าหมาย | กิจกรรม / แนวทางการดำเนินกิจกรรม | เวลา | ผู้รับผิดชอบ | อุปสรรค / ข้อเสนอแนะ / สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป |
ติดตามผลการดำเนินงานของบุคลากรใน กวณ.ฝศษ.ฯ และทำการประเมินผลงานตามแผนกลยุทธ์ โดยนำผลการประเมินมาวิเคราะห์ปรับปรุงตามแผนการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง | จำนวนครั้งของการประชุมติดตามผลการดำเนินงานและประเมินผลตามแผนกลยุทธ์ / อย่างน้อย ๑ ครั้ง ในทุก
ไตรมาส |
๑. จัดประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินงาน และประเมินผลในด้านต่าง ๆ อย่างน้อยทุก ๆ ไตรมาส | ตลอดปี
(ม.ค.๖๐, เม.ย.๖๐, ก.ค.๖๐, ต.ค.๖๐ |
ผอ.กวณ. .ฯ / รองผอ.กวณ.ฯ | อาจมีการประชุมเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ เมื่อเกิดสภาวะที่จะส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานขึ้น เพื่อหาแนวทางแก้ไขก่อนเกิดผลเสียต่อการปฏิบัติงานตามเป้าหมาย หรือสาเหตุอื่นที่อาจทำให้การปฎิบัติงานมีอุปสรรค หรือไม่เป็นไปตามแผน เช่น
– วงรอบของการปฏิบัติงานที่มีการเปลี่ยนแปลงไป – ปัญหาส่วนตัวของผู้ปฏิบัติงาน – ขาดแรงจูงใจ – ความขัดแย้งในการทำงาน
|
๒. ติดตามผลการดำเนินงาน และประเมินผลงานอย่างน้อย ๑ ครั้งต่อไตรมาส โดยไม่รอให้สิ้นภารกิจ หรือระยะเวลา เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและไม่มีรอบของการเปลี่ยนแปลงที่แน่นอน โดยเฉพาะเมื่อมีสภาวการณ์ที่คิดว่าจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน การติดตามผลจะเป็นการย้ำเตือนเป้าหมายให้ผู้ปฏิบัติงานใน กวณ.ฝศษ.ฯ ได้ตระหนักและรู้สถานภาพความสำเร็จ และเป็นการทำให้ผู้ปฏิบัติงานของ กวณ.ฝศษ.ฯ ทราบถึงปัญหาอุปสรรคก่อนที่จะส่งผลเสียต่อการทำงานตามเป้าหมาย | |||||
๓. นำผลการประเมินมาวิเคราะห์ เพื่อหาแนวทางและปรับปรุงให้บรรลุ | |||||
ตามเป้าหมายและตัวชี้วัด ตามวงจรการบริหารงานคุณภาพ (PDCA)
P = Plan คือการวางแผนจากวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ได้กำหนดขึ้น D = Do คือปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงานที่เขียนไว้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง C = Check คือการตรวจสอบผลการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนของแผนว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนงานในขั้นตอนใดบ้าง A = Action คือการปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา ถ้าไม่มีถือว่ายอมรับได้
|
เป้าประสงค์ที่ ๔ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโดยอาศัยเทคโนโลยีระบบสารสนเทศ
กลยุทธ์ | ตัวชี้วัด / เป้าหมาย | กิจกรรม / แนวทางการดำเนินกิจกรรม | เวลา | ผู้รับผิดชอบ | อุปสรรค / ข้อเสนอแนะ / สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป |
นำเทคโนโลยีระบบสารสนเทศมาเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและปฏิบัติงานของ กวณ.ฝศษ.ฯ | ๑. มีการบริหารจัดการที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ / อย่างน้อย ๑ ระบบ
๒. มีการพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ / อย่างน้อย ๑ ระบบ |
นำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการ และการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลแก่หน่วยอื่น ได้แก่ แอพพลิเคชั่นไลน์ ระบบงาน outlook และfacebook | ต.ค.๕๙ – ก.ย.๖๐ | ผอ.กวณ. ฯ /
รอง ผอ.กวณ .ฯ./ผู้ได้รัมอบหมาย |
การปฏิบัติงานบางอย่างอาจมีข้อจำกัดที่ต้องใช้เทคโนโลยีเท่าที่มีอยู่ |
เป้าประสงค์ที่ ๕ มีทรัพยากรเกื้อหนุนการศึกษา และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
กลยุทธ์ | ตัวชี้วัด / เป้าหมาย | กิจกรรม / แนวทางการดำเนินกิจกรรม | เวลา | ผู้รับผิดชอบ | อุปสรรค / ข้อเสนอแนะ / สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป |
จัดหาทรัพยากรทางการศึกษา รวมทั้งปรับสภาพแวดล้อม เพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ | ๑. ร้อยละของ งป.ที่ได้รับอนุมัติการจัดหาของที่ต้องการสนับสนุนให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพ / ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐
|
๑. เสนอแผนจัดหาทรัพยากรเครื่องช่วยการศึกษาด้านเทคโนโลยี อุปกรณ์สำนักงาน สิ่งอำนวยความสะดวก หรือสิ่งสนับสนุนให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพ มีเพียงพอหรือไม่ จะต้องทำการจัดหา เบิก ยืม หรือวิธีการใด ๆ เพื่อให้การปฏิบัติงานของ กวณ.ฝศษฯ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด | ต.ค.-ธ.ค.๕๙ | ผอ.กวณ. ฯ /
รอง ผอ.กวณ.ฯ
|
อุปกรณ์หรือสิ่งสนับสนุนบางชนิด ต้องใช้เวลาจัดหาตาม งป. ต่าง ๆ ที่อาจจะไม่ได้รับการอนุมัติ หรือไม่เพียงพอ |
๒. ความพึงพอใจสภาพแวดล้อมของการทำงานของ / ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ | ๒. โดยการสอบถามบุคลากรทุกคนของ กวณ.ฝศษ.ฯ ในการจัดการด้านสภาพแวดล้อมของการทำงานดังนี้
– ปรับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ โดยการจัดสถานที่ทำงาน เครื่องมือและอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งานเสมอ – ปรับสภาพแวดล้อมด้านสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร ระหว่างผู้บริหารกับบุคลากรใน กวณ. การสร้างแรงจูงใจขององค์กร การสร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์กร มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ตอบแทนคุณภาพการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ บริหารงานด้วยความโปร่งใสยุติธรรม |
ตลอดปี (ต.ค.๕๙ – ก.ย.๖๐) |
เป้าประสงค์ที่ ๖ มีการบริหารจัดการความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อการพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
กลยุทธ์ | ตัวชี้วัด / เป้าหมาย | กิจกรรม / แนวทางการดำเนินกิจกรรม | เวลา | ผู้รับผิดชอบ | อุปสรรค / ข้อเสนอแนะ / สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป |
มีการบริหารจัดการความรู้ภายในหน่วยอย่างเป็นระบบ | ๑. จำนวนองค์ความรู้ของ กวณ.ฯ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐ / อย่างน้อย ๑ องค์ความรู้
|
๑. จัดการประชุมภายใน กวณ.ฝศษ.ฯ เพื่อ
– กำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ให้เป็นไปตามนโยบายด้านการจัดการความรู้ของ รร.นร. – กำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้ และทักษะอย่างชัดเจน – แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ด้วยการระดมความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางจากการประชุมเพื่อให้เกิดเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดี เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ของ กวณ.ฝศษ.ฯ |
พ.ค.- มิ.ย.๖๐ | บุคลากร กวณ.ฯ | |
๒. เก็บรวบรวมประเด็นความรู้ข้อมูลต่าง ๆ นำมาวิเคราะห์ แปรผลผลสรุป ผลจัดเก็บอย่างเป็นระบบในรูปแบบของเอกสารรายงาน ไฟล์คอมพิวเตอร์ หรือรูปแบบอื่น ๆ สำหรับการนำเสนอเพื่อเผยแพร่แสดงผลงานทั้งภายในและภายนอกหน่วยต่อไป | มิ.ย. – ก.ค.๖๐ | ||||
๓. เผยแพร่องค์ความรู้ในรูปแบบของเอกสารรายงาน เข้าร่วมจัดแสดงผลงานในงานวิชาการหรืองานที่เกี่ยวข้องสำเนาให้แก่ข้าราชการทุกคนใน กวณ.ฝศษ.ฯ และผู้ที่สนใจ
|
ก.ค. – ก.ย.๖๐ | ||||
๒. จำนวนผลงานทางวิชาการของ กวณ.ฝศษ.ฯ / อย่างน้อย ๑ชิ้นงาน | สนับสนุนและส่งเสริมให้อาจารย์ดำเนินงานจัดทำผลงานทางวิชาการ อันเป็นผลให้สามารถได้รับตำแหน่งทางวิชาการ | ตลอดปี
( ต.ค.๕๙-ก.ย.๖๐ ) |
อาจารย์ผู้จัดทำ |
กลยุทธ์ด้านการเรียนการสอน
จัดการเรียนการสอน ตรวจสอบ และประเมินผลการเรียนการสอน ในแต่ละภาคการศึกษาให้เป็นไปตามหลักสูตรการศึกษาปี ๒๕๕๙ และสอดคล้องตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ทั้งพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยอาศัยเทคโนโลยีระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ และมีแนวทางการพัฒนาผลการเรียนรู้ของ นนร. ให้มีประสิทธิภาพ และทันสมัย
เป้าประสงค์ที่ ๑ จัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามหลักสูตรการศึกษา รร.นร.ปี ๒๕๕๙ และสอดคล้องตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
กลยุทธ์ | ตัวชี้วัด / เป้าหมาย | กิจกรรม / แนวทางการดำเนินกิจกรรม | เวลา | ผู้รับผิดชอบ | อุปสรรค / ข้อเสนอแนะ / สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป |
๑. จัดทำเอกสารวิชาที่ กวณ.ฝศษ.ฯ รับผิดชอบตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ๓ และ ๕ (มคอ.๓ และ มคอ.๕)
|
จัดทำเอกสาร มคอ.๓ และ มคอ.๕ ของกระบวนวิชาที่ กวณ.ฝศษ.ฯ รับผิดชอบในแต่ละภาคการศึกษา / ทุกวิชา | ๑. ประชุมอาจารย์ประจำชุดวิชา พิจารณาแผนการปรับปรุงจาก มคอ.๕ ในแต่ละวิชา ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ เพื่อหาข้อสรุปและทบทวนแนวทางร่วมกันในการพัฒนาการเรียนการสอน และการจัดทำ มคอ.๓ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐ | ก.พ. –มี.ค.๖๐
ก.ค. – ส.ค.๖๐ |
ผอ.กวณ.ฯ /
รอง ผอ.กวณ.ฯ/อาจารย์ ประจำวิชา |
|
๒. จัดทำ มคอ.๓
จัดทำ มคอ.๓ ของกระบวนวิชาที่เปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษา ซึ่งเป็นรายละเอียดของรายวิชาก่อนเปิดภาคเรียนประกอบด้วย จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ ลักษณะและการดำเนินการ การพัฒนาการเรียนรู้ของ นนร. แผนการสอนและการประเมินผล ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา
|
มี.ค.๖๐ และ
ก.ย.๖๐ |
อาจารย์
ประจำวิชา |
|||
๒. จัดกระบวนวิชาที่ กวณ.ฯรับผิดชอบตามหลักสูตรการศึกษา นนร.ปี ๒๕๕๔ | จัดการเรียนการสอนตามกระบวนวิชาที่ กวณ.ฯ รับผิดชอบในแต่ละภาคการศึกษา / ครบทุกวิชา | จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษา นนร.ปี ๒๕๕๕ (ปรับปรุง) และหลักสูตร นนร.ปี ๒๕๕๙ เริ่มจาก
– ภาคปลาย จัดการเรียนการสอน ๕ วิชา ได้แก่ แคลคูลัส ๒ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์วิศวกรรม ความน่าจะเป็นและสถิติ และความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกรรม |
ส.ค. ๕๙– ม.ค.๖๐ | ผอ.กวณ.ฯ /
รอง ผอ.กวณ.ฯ/อาจารย์ ประจำวิชา |
|
– ภาคต้น จัดการเรียนการสอน ๔ วิชา ได้แก่ แคลคูลัส ๑ แคลคูลัส ๓ คณิตศาสตร์วิศวกรรมเครื่องกล และคณิตศาสตร์วิศวกรรม
|
เม.ย. – ส.ค.๖๐ | ||||
๓. จัดการเรียนการสอนในแต่ละวิชาที่ กวณ.ฯ รับผิดชอบให้มีเนื้อหาของวิชาครบตามหลักสูตรของแต่ละภาคการศึกษาและเป็นไปตามประมวลการสอนที่ระบุไว้ใน มคอ.๓ | ร้อยละของเนื้อหาวิชาในการจัดการเรียนการสอนแต่ละวิชา / ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๕ ของหลักสูตรที่กำหนดไว้ใน มคอ.๓ | ติดตามการดำเนินงาน อุปสรรคข้อขัดข้อง แนวทางแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนที่ผ่านมา โดยจัดการเรียนการสอนในแต่ละวิชาได้ไม่น้อยกว่า ๑๕ ครั้ง และมีเนื้อหาตามหลักสูตรการศึกษาปี ๒๕๕๙ ที่ได้ระบุไว้ใน มคอ. | ส.ค. – ธ.ค.๕๙
เม.ย. – ส.ค.๖๐ |
ผอ.กวณ.ฯ /
รอง ผอ.กวณ.ฯ/อาจารย์ ประจำวิชา |
กิจกรรมของ นนร.อาจทำให้การสอนในช่วงเวลาปกติไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ จึงทำให้มีการชดเชย แต่ก็อาจไม่สามารถทำการสอนได้ครบ เนื่องจาก นนร.ต้องเข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ทำการสอนชดเชยอีก |
เป้าประสงค์ที่ ๒ มีกระบวนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
กลยุทธ์ | ตัวชี้วัด / เป้าหมาย | กิจกรรม / แนวทางการดำเนินกิจกรรม | เวลา | ผู้รับผิดชอบ | อุปสรรค / ข้อเสนอแนะ / สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป |
จัดกระบวนการเรียนการสอนแต่ละวิชาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ | มีกิจกรรมที่ให้ นนร. มีส่วนร่วมไม่น้อยกว่า ๑๐ ครั้งต่อวิชาต่อภาคการศึกษา | จัดการเรียนการสอนโดยให้ นนร. มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา สรุปจดบันทึก และแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดของ นนร. ร่วมกันในชั้นเรียน
|
ส.ค. – ธ.ค.๕๙
เม.ย.–ส.ค.๖๐ |
อาจารย์
ประจำวิชา |
เป้าประสงค์ที่ ๓ พัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและทันสมัย โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้
กลยุทธ์ | ตัวชี้วัด / เป้าหมาย | กิจกรรม / แนวทางการดำเนินกิจกรรม | เวลา | ผู้รับผิดชอบ | อุปสรรค / ข้อเสนอแนะ / สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป |
๑. จัดทำสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบของ E-learning | มีสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบของ E-learning /อย่างน้อย ๑ วิชา | กวณ.ฝศษ.ฯ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจัดทำสื่อการสอนในรูปแบบของ E – learning ๑ วิชา คือสถิติ โดยจัดทำเป็นไฟล์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุเนื้อหาการเรียนการสอนเป็น Clip Video ของอาจารย์ที่ทำการสอนภายในห้องเรียนในวิชาสถิติ ผ่านทางเว็บไซด์ (Website) ของกองวิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนนายเรือ ที่จะทำให้ นนร. สามารถเข้ามาเรียนทบทวน หรือทำความเข้าใจในเนื้อหาที่ต้องการ หรือที่ขาดเรียนไปได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ
|
เม.ย.– ส.ค.
๖๐ |
รอง ผอ.กวณ.ฯ / อาจารย์ประจำวิชา | |
๒. จัดทำสื่อการเรียนรู้ลงในรูปแบบ DVD | มีสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบของ DVD / อย่างน้อย ๑ วิชา | กวณ.ฝศษ.ฯ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยจัดทำเป็นไฟล์คอมพิวเตอร์ ที่บรรจุเนื้อหาการเรียนการสอนเป็น Clip Video ของอาจารย์ที่ทำการสอนภายในห้องเรียนในวิชา แคลคูลัส ๑ และ แคลคูลัส๒ ลงในแผ่น DVD | ต.ค.๕๙ – ส.ค.๖๐ | รอง ผอ.กวณ.ฯ / อาจารย์ประจำวิชา |
เป้าประสงค์ที่ ๔ มีแนวทางในการพัฒนาความรู้พื้นฐานของ นนร. และพัฒนาความรู้ของ นนร. ในวิชาที่มีผลการเรียนในระดับต่ำให้ดีขึ้น
กลยุทธ์ | ตัวชี้วัด / เป้าหมาย | กิจกรรม / แนวทางการดำเนินกิจกรรม | เวลา | ผู้รับผิดชอบ | อุปสรรค / ข้อเสนอแนะ / สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป |
๑. จัดทำแผนและดำเนินการสอนปรับพื้นความรู้ทางคณิตศาสตร์ให้แก่ นนร.ชั้นใหม่ เพื่อให้มีพื้นฐานเพียงพอที่จะศึกษาในหลักสูตร รร.นร. | ร้อยละ ๘๐ ของนนร.ชั้นใหม่มีคะแนนการทดสอบหลังการสอนปรับพื้น สูงขึ้น | ๑. ทำการทดสอบความรู้พื้นฐานวิชาคณิตศาสตร์แก่ นนร.ชั้นใหม่เพื่อพิจารณาพื้นความรู้
๒. สอนปรับพื้นให้แก่ นนร.ชั้นใหม่ตามแผน ๓. ทดสอบความรู้หลังการสอนปรับพื้น ๔. เปรียบเทียบผลการสอบ ก่อน/หลัง การเรียนปรับพื้น ๕. สรุปผล |
มี.ค.๖๐ | อจ.กวณ.ฯ | |
๒. จัดทำแผนการสอนเสริม และดำเนินการสอนให้กับ นนร. ที่มีผลการเรียนในระดับต่ำ ของแต่ละภาคการศึกษา | ๑. ร้อยละของเวลาที่ทำการสอนเสริมแก่ นนร. ที่มีผลการเรียนในระดับต่ำ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๕ ของแผนแต่ละภาคการศึกษา
๒. ร้อยละของจำนวน นนร. ที่มีผลการเรียนในระดับต่ำที่ผ่านเกณฑ์วัดผลปลายภาค / ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ |
๑. กำหนดให้ นนร. ที่มีผลคะแนนการทดสอบกลางภาคต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ เป็นกลุ่ม นนร. ที่มีผลการเรียนในระดับต่ำที่จำเป็นต้องได้รับการเรียนเพิ่มเติม | ต.ค.-พ.ย.๕๙
และ มิ.ย.- ส.ค.๖๐ |
อาจารย์
ประจำวิชา |
ปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้ นนร. มีผลการเรียนไม่ดี
– สำหรับ นนร.ชั้นปีที่ ๑ บางคน ต้องปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม ระบบการปกครองบังคับบัญชา และเนื้อหาวิชาในระดับที่สูงขึ้น – นนร. บางคนมีปัญหาส่วนตัว หรือสภาพจิตใจที่ไม่พร้อมเรียน – มีกิจกรรมที่ นนร. ต้องเข้าร่วมค่อนข้างมาก – ขาดการแข่งขันแรงจูงใจ และความรับผิดชอบต่อการเรียน
|
๒. จัดทำแผนการสอนเสริมให้ครอบคลุมเนื้อหาในทุกเรื่องที่ทำการสอบปลายภาค และทำการสอนตามแผนที่กำหนดไว้ | พ.ย.๕๙ และ
มิ.ย.๖๐ |
ผอ.กวณ.ฯ /
รอง ผอ.กวณ.ฯ/ อาจารย์ ประจำวิชา |
|||
๓. ทำการสอนตามแผนและตรวจสอบการดำเนินการสอนให้เป็นไปตามแผน ตรวจสอบอุปสรรค ข้อขัดข้องต่าง ๆ พร้อมทั้งข้อมูลการเข้าเรียน และความตั้งใจของ นนร. ต่อการเรียนเพิ่มเติมนี้ | พ.ย. – ธ.ค. ๕๙
และ มิ.ย. – ก.ค. ๖๐ |
ผอ.กวณ.ฯ / รอง ผอ.กวณ.ฯ / หัวหน้าชุดวิชา | |||
๔. ประเมินผลการเรียนของ นนร. ในกลุ่มที่มีผลการเรียนในระดับต่ำ จากการวัดผลทดสอบปลายภาค และหาแนวทางปรับปรุง เพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินงานต่อไป | ม.ค.๖๐
และ ส.ค.๖๐ |
ผอ.กวณ.ฯ / รอง ผอ.กวณ.ฯ / หัวหน้าชุดวิชา |
เป้าประสงค์ที่ ๕ มีแนวทางในการพัฒนาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
กลยุทธ์ | ตัวชี้วัด / เป้าหมาย | กิจกรรม / แนวทางการดำเนินกิจกรรม | เวลา | ผู้รับผิดชอบ | อุปสรรค / ข้อเสนอแนะ / สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป |
จัดการประเมินผลการใช้ทรัพยากรสนับสนุนการศึกษา (ความพึงพอใจในการเข้าใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาใน กวณ.ฝศษ.ฯ) | ประเมินผลการใช้ทรัพยากรสนับสนุนการศึกษา ความพึงพอใจในการเข้าใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ / คะแนนความพึงพอใจไม่น้อยกว่า ๓.๕๑ จากคะแนนเต็ม ๕ | ๑. จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจ ในการเข้าใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ เพื่อการศึกษาใน กวณ.ฝศษ.ฯ
๒. ประเมินผลและรวบรวมข้อเสนอแนะต่าง ๆ ๓. สรุปแนวทางการพัฒนาห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของ กวณ.ฝศษ.ฯ เพื่อการพัฒนาต่อไป |
ต.ค.๕๙ – ม.ค.๖๐ | ผอ.กวณ.ฯ /รอง ผอ.กวณ.ฯ / อาจารย์ประจำวิชา |
กลยุทธ์ด้านการพัฒนาคณาจารย์
สนับสนุนและส่งเสริมให้อาจารย์เพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ ทักษะ เจตคติ เทคนิควิธีการในด้านการสอน การปฏิบัติงานที่ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อันเป็นการเสริมสร้างศักยภาพของคณาจารย์ กวณ.
เป้าประสงค์ที่ ๑ พัฒนาศักยภาพของคณาจารย์ กวณ.ฝศษ.ฯ ให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และเทคนิควิธีการต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน
กลยุทธ์ | ตัวชี้วัด / เป้าหมาย | กิจกรรม / แนวทางการดำเนินกิจกรรม | เวลา | ผู้รับผิดชอบ | อุปสรรค / ข้อเสนอแนะ / สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป |
สนับสนุนให้อาจารย์ร่วมประชุมทางวิชาการ ฝึกอบรม สัมมนา เพื่อพัฒนาความรู้ระบบความคิดและทักษะเทคนิควิธีการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาเทคนิคในด้านการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ | จำนวนหลักสูตรที่อาจารย์เข้าร่วมประชุมวิชาการ อบรม สัมมนา / ไม่น้อยกว่า ๒ หลักสูตร | ๑. จัดอาจารย์เข้าร่วมประชุมทางวิชาการ ฝึกอบรม สัมมนา ในหัวข้อที่ได้รับการอนุมัติจากที่เสนอในปี งป. ๒๕๖๐
๒. ขอเปลี่ยนแปลงหัวข้อโครงการ การประชุม ฝึกอบรม สัมมนา ในกรณีโครงการที่เสนอไว้ทางสถาบันมีการเปลี่ยนแปลง |
ตลอดปี
ต.ค.๕๙ – ก.ย.๖๐ |
ผอ.กวณ.ฯ / รอง ผอ.กวณ.ฯ | หัวข้อโครงการ ประชุมทางวิชาการ ฝึกอบรม สัมมนา บางโครงการอาจมีการเปลี่ยนแปลง |
๓. จัดหาหัวข้อโครงการ ประชุมทางวิชาการ ฝึกอบรม สัมมนา ที่จัดโดยสถาบันภายนอกที่เป็นที่ยอมรับและมีชื่อเสียงในปี งป.๒๕๖๐ | พ.ย. – ธ.ค.๕๙ | ผอ.กวณ.ฯ / รอง ผอ.กวณ.ฯ / อาจารยย์กวณ.ฯ |
เป้าประสงค์ที่ ๒ ให้มีการพัฒนาและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อให้อาจารย์มีเจตคติที่ดีต่อการสอนและการปฏิบัติงาน
กลยุทธ์ | ตัวชี้วัด / เป้าหมาย | กิจกรรม / แนวทางการดำเนินกิจกรรม | เวลา | ผู้รับผิดชอบ | อุปสรรค / ข้อเสนอแนะ / สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป |
สร้างเจตคติที่ดีต่อการสอนและการปฏิบัติงานแก่อาจารย์ภายใน กวณ.ฝศษ.ฯ | การประชุม เสวนาอาจารย์ใน กวณ.ฝศษ.ฯ เพื่อสร้างความตระหนักในการสอน และปฏิบัติงาน / ไม่น้อยกว่า ๔ ครั้ง | จัดเสวนาอาจารย์ภายใน กวณ. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ ทั้งการสอนและการปฏิบัติงานอื่น ๆ ของ กวณ.ฝศษ.ฯ โดยให้บุคลากรทุกนายได้มีส่วนร่วมในการระดมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง | ตลอดปี
(ม.ค./ เม.ย./ ก.ค./ ต.ค.๖๐) |
ผอ.กวณ.ฯ / รอง ผอ.กวณ.ฯ / อาจารย์ กวณ.ฝศษ.ฯ |
กลยุทธ์ด้านการพัฒนางานทางวิชาการ
สนับสนุนและส่งเสริมให้อาจารย์ผลิตผลงานทางวิชาการ งานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาของ นนร. และ รร.นร.
เป้าประสงค์ มีการผลิตผลงานทางวิชาการที่เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา
กลยุทธ์ | ตัวชี้วัด / เป้าหมาย | กิจกรรม / แนวทางการดำเนินกิจกรรม | เวลา | ผู้รับผิดชอบ | อุปสรรค / ข้อเสนอแนะ / สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป |
สนับสนุนและส่งเสริมให้อาจารย์ผลิตผลงานทางวิชาการที่เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา | จำนวนหนังสือ ตำรา งานวิจัย หรือ นวัตกรรมสร้างสรรค์ / ไม่น้อยกว่า ๑ ชิ้นงาน | ผลิตผลงานทางวิชาการสนับสนุนและส่งเสริมให้อาจารย์ผลิตผลงานทางวิชาการ ซึ่งเป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นจากความรู้ความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์ของอาจารย์ โดยการค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจัย และนำไปใช้ในการแก้ปัญหา หรือพัฒนางานในหน้าที่ จนเกิดผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและความก้าวหน้าทางวิชาการ อาจอยู่ในรูปแบบของหนังสือ ตำรา งานวิจัย หรือนวัตกรรมสร้างสรรค์ต่าง ๆ | ตลอดปี(ต.ค.๕๙-ก.ย.๖๐) | ผอ.กวณ.ฯ / รอง ผอ.กวณ.ฯ/อาจารย์ กวณ.ฝศษ.ฯ |
กลยุทธ์ด้านการบริการทางวิชาการ
สนับสนุนคณาอาจารย์ใช้ศักยภาพของตนในการให้บริการความรู้ หรือร่วมมือทางวิชาการแก่หน่วยงานอื่นทั้งภายในและภายนอก
เป้าประสงค์ ให้บริการทางวิชาการด้านวิชาคณิตศาสตร์ สถิติ และคอมพิวเตอร์แก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอก
กลยุทธ์ | ตัวชี้วัด / เป้าหมาย | กิจกรรม / แนวทางการดำเนินกิจกรรม | เวลา | ผู้รับผิดชอบ | อุปสรรค / ข้อเสนอแนะ / สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป |
๑. ส่งเสริมให้อาจารย์เผยแพร่บทความทางวิชาการด้านคณิตศาสตร์ สถิติ และคอมพิวเตอร์ลงในเว็บไซต์ของ รร.นร. หรือ วารสารทั้งภายในและภายนอก | จำนวนบทความทางวิชาการลงในเว็บไซต์ รร.นร. หรือ วารสาร /ไม่น้อยกว่า ๑ เรื่อง | ให้อาจารย์มีการเผยแพร่บทความทางวิชาการลงในวารสาร หรือเว็บไซต์ รร.นร. เพื่อเสนอสาระความรู้และแนวความคิดต่าง ๆ ช่วยสร้างบรรยากาศทางวิชาการ หรือนำไปใช้เพื่อการพัฒนา | ตลอดปี(ต.ค.๕๙-ก.ย.๖๐) | ผอ.กวณ. / รอง ผอ.กวณ./อาจารย์ กวณ. | |
๒. สนับสนุนให้อาจารย์ให้บริการด้านการสอนหรือเป็นวิทยากร แก่สถาบันการศึกษานอก ทร. | มีอาจารย์ให้บริการด้านการสอนหรือเป็นวิทยากรให้แก่สถาบันภายนอก ทร. / ไม่น้อยกว่า ๑ คน | สนับสนุนและส่งเสริมให้อาจารย์ให้บริการด้านการสอนหรือเป็นวิทยากรในสาขาวิชาคณิตศาสตร์ สถิติและคอมพิวเตอร์ แก่สถาบันการศึกษานอก ทร. | ตลอดปี(ต.ค.๕๙-ก.ย.๖๐) | อาจารย์ผู้เกี่ยวข้อง | |
๓. สนับสนุนคณาจารย์ให้บริการทางวิชาการด้านการทดสอบความรู้ทางคณิตศาสตร์ สถิติ และคอมพิวเตอร์แก่หน่วยงานทั้งภายใน และภายนอก | จำนวนกิจกรรมที่มีคณาจารย์ร่วมเป็นกรรมการทดสอบความรู้แก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอก /ไม่น้อยกว่า ๒ กิจกรรม | ๑. คณาจารย์ กวณ.ฝศษ.ฯ ร่วมเป็นคณะกรรมการสอบคัดเลือกข้าราชการไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และ/หรือ ปริญญาโท – เอก ทั้งภายในและภายนอกประเทศ | พ.ย. – ธ.ค.๕๙ | อาจารย์ผู้เกี่ยวข้อง | |
๒. คณาจารย์ กวณ.ฝศษ.ฯ ร่วมเป็นคณะอนุกรรมการพิจารณาคัดเลือก นนร. ไปศึกษาต่อต่างประเทศ | ก.พ.–มี.ค.๖๐ |
กลยุทธ์ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
มีระบบและกลไกในการควบคุม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานในแต่ละมาตรฐาน ตามตัวบ่งชี้ที่กำหนด เพื่อเป็นหลักประกันว่า กวณ.ฝศษ.ฯ สามารถให้การศึกษาที่มีคุณภาพ
เป้าประสงค์ กวณ. มีระบบและกลไกในการประกันคุณภาพการศึกษาที่สามารถควบคุม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อให้การศึกษามีคุณภาพ
กลยุทธ์ | ตัวชี้วัด / เป้าหมาย | กิจกรรม / แนวทางการดำเนินกิจกรรม | เวลา | ผู้รับผิดชอบ | อุปสรรค / ข้อเสนอแนะ / สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป |
๑. จัดทำรายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report) ของ กวณ.ฝศษ.ฯ เป็นไปตามมาตรฐาน และตัวบ่งชี้ในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับ ฝศษ.ฯ และการประกันคุณภาพของ รร.นร. | มีรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ของ กวณ.ฝศษ.ฯ ที่เป็นไปตามมาตรฐานตัวบ่งชี้ที่เกี่ยวข้อง / ผลการประเมินคุณภาพภายในได้ไม่น้อยกว่า ๓.๕๑ จากคะแนนเต็ม ๕ | จัดทำ SAR ของ กวณ.ฝศษ.ฯ เพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา ที่แสดงให้เห็นระบบบริหารจัดการโดยรวม และผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการประกันคุณภาพของ กวณ.ฝศษ.ฯ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ เพื่อให้ได้ติดตามประเมินตนเองว่าการทำงานอยู่ในระดับใด และจะได้เห็นโอกาสในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ตามระบบประกันคุณภาพของ ฝศษ.รร.นร. และเป็นไปตามระบบประกันคุณภาพของ รร.นร. ซึ่งประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ จะเป็นกระบวนการบริหารจัดการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ต้องการ | เม.ย.๖๐ | ผอ.กวณ.ฯ / รอง ผอ.กวณ.ฯ/อาจารย์ กวณ.ฯ | |
๒. ส่งเสริมให้บุคลากรมีส่วนร่วมในกระบวนการประกันคุณภาพของ กวณ.ฝศษ.ฯ และ ฝศษ.รร.นร. อย่างต่อเนื่อง | บุคลากรของ กวณ.ฝศษ.ฯ ทุกคนมีส่วนรับรู้และดำเนินการในระบบการประกันคุณภาพ / ทุกคน | ให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพ โดย
๑. สร้างความรู้ความเข้าใจในเกณฑ์ตัวชี้วัด และงานประกันคุณภาพการศึกษา ให้บุคลากร กวณ.ฝศษ.ฯ เห็นถึงความสำคัญและปฏิบัติงานบนพื้นฐานของการประกันคุณภาพ เพื่อทำให้การดำเนินกิจกรรมประกันคุณภาพเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และพยายามผลักดันให้ระบบการประกันคุณภาพเป็นวัฒนธรรมขององค์กร |
ตลอดปี
(ต.ค.๕๙-ก.ย.๖๐) |
ผอ.กวณ.ฯ / รอง ผอ.กวณ.ฯ | |
๒. ให้มีการแบ่งหน้าที่ของบุคลากร กวณ.ฝศษ.ฯ รับผิดชอบในการจัดทำ SAR แต่ละมาตรฐานตัวบ่งชี้ | ตลอดปี
(ต.ค.๕๙-ก.ย.๖๐) |
บุคลากร กวณ.ฯ |
กลยุทธ์ด้านเสริมสร้างกระบวนการคิด ทัศนคติ สภาวะจิตใจ และสมรรถภาพทางกาย
มีแนวทางในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมบุคลากร ที่มุ่งเน้นมีจิตบริการในการปฏิบัติงาน มีคุณธรรมในการดำเนินชีวิตและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีสมรรถภาพทางกายที่ดี รวมถึงเสริมสร้างภาพลักษณ์ของหน่วยงานให้มีความโปร่งใสและเป็นธรรม
เป้าประสงค์ กวณ.ฯ มีแผนพัฒนาบุคลากร ด้านคุณธรรมจริยธรรม และสมรรถภาพทางกาย
กลยุทธ์ | ตัวชี้วัด / เป้าหมาย | กิจกรรม / แนวทางการดำเนินกิจกรรม | เวลา | ผู้รับผิดชอบ | อุปสรรค / ข้อเสนอแนะ / สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป |
๑.พัฒนาจิตสำนึกที่ดีงาม และมีคุณธรรมเป็นพื้นฐานการดำเนินชีวิต และการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ | ร้อยละของจำนวนบุคลากรใน กวณ.ฝศษ.ฯ ได้รับการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรม / ไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐ | พัฒนาบุคลากรด้านคุณธรรมจริยธรรม
– สนับสนุนการเป็นคนดี มีจิตบริการในการทำงาน – เข้าร่วมฟังบรรยายธรรม ประจำเดือน – จัดหาหนังสือธรรมะสำหรับศึกษาหาความรู้ใช้ในการดำเนินชีวิตและ แก้ปัญหาชีวิต /ติดป้ายสุภาษิต คำคม ฯลฯ – ร่วมพิธีในวันสำคัญทางศาสนา |
ตลอดปี
(ต.ค.๕๙-ก.ย.๖๐)
|
ผอ.กวณ.ฯ / รอง ผอ.กวณ.ฯ/อาจารย์ กวณ.ฯ
|
|
๒. ส่งเสริมการน้อมนำปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงมานำทางชีวิต | จำนวนบุคลากรใน กวณ.ฝศษ.ฯ นำปรัชญา เศรษฐกิจ พอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน / ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ | บุคลากรนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในชีวิตประจำวัน
– สร้างความเข้าใจในหลักเศรษฐกิจพอเพียง – ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างรู้คุณค่า |
|||
๓. ส่งเสริมการพัฒนาให้เกิดจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นครู | จำนวนคณาจารย์มีจิตวิญญาณของความเป็นครู ร้อยละ ๑๐๐ | – พัฒนาอาจารย์ให้มีจิตวิญญาณของความเป็นครู
– ประเมินอาจารย์ (โดยผู้เรียน) |
|||
๔. ส่งเสริมให้กำลังพล
ออกกำลังกาย
|
จำนวนบุคลากรใน กวณ.ฝศษ.ฯ มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ / ไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐ | – ส่งเสริมให้มีการออกกำลังกาย บ่ายวันพุธ |
น.อ.หญิง สมพร แก้วละมูล
รอง ผอ.กวณ.ฝศษ.รร.นร.
พ.ค.๖๐