การยื่นใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอกของผู้ที่มีสิทธิ์การรักษาของกรมบัญชีกลาง

ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2561

ผู้ที่มีสิทธิ์การรักษาของกรมบัญชีกลาง สามารถใช้บัตรประชาชนในการยื่นใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอกได้ทันที

สำหรับผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว สามารถตรวจสอบสิทธิของตนเอง โดยเข้าเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลาง ที่ www.cgd.go.th ครับ

ข้อมูลจาก : กรมบัญชีกลาง

พยาธิตืดหมูและพยาธิตืดวัว

 

พยาธิตืดหมูและพยาธิตืดวัว(Taenia solium and Taenia saginata)

  • เป็นพยาธิตืดหมูและตืดวัว ติดจากการทานเนื้อหมูหรือเนื้อวัวที่ดิบและมีพยาธิ
  • ในประเทศไทยยังคงเป็นพื้นที่การระบาด (ข้อมูลจากhttp://www.who.int/mediacentre/factsheets/Endemicity_Taenia_Solium_2015-1000×706.jpg?ua=1 )
  • สำหรับวงจรชีวิตเกิดจากหมูหรือวัวนั้นกินอาหารที่มีการปนเปื้อนของไข่พยาธิเข้าไป หลังจากนั้นพยาธิก็จะไปฝังตัวบริเวณกล้ามเนื้อต่างๆเพื่อเจริญเติบโต ทำให้บางครั้งถึงเห็นลักษณะเม็ดขาวๆคล้ายเม็ดสาคูนั่นเอง
  • สำหรับอาการส่วนใหญ่มักไม่ค่อยมีอาการ แต่บางครั้งอาจพบมีอาการปวดท้อง แน่นท้อง มีเบื่ออาหาร น้ำหนักลดหรืออาจพบปล้องของพยาธิหรือตัวพยาธิเองออกมาพร้อมอุจจาระ
  • แต่สำหรับพยาธิตืดหมูสามารถขึ้นไปที่สมองได้ ทำให้มีอาการชักหรือมีปัญหาการมองเห็นได้
  • สำหรับการรักษาควรปรึกษาแพทย์เพื่อได้รับยาฆ่าพยาธิที่เหมาะสม(praziquantel or niclosamide) และอาจจำเป็นต้องตรวจสุขภาพแก่บุคคลใกล้ชิดหรือบุคคลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคด้วย
  • สำหรับการป้องกัน คือ เลือกซื้อเนื้อหมูและเนื้อวัวอย่างสะอาดถูกหลักอนามัย และควรผ่านความร้อนอย่างเหมาะสมเพื่อกำจัดเชื้อ

รูปภาพเพิ่มเติม

วงจรชีวิตของพยาธิ

ไข่พยาธิจากอุจจาระ

ตัวพยาธิ

 

ที่มา

https://www.who.int/mediacentre/factsheets/Endemicity_Taenia_Solium_2015-1000×706.jpg?ua=1

https://www.cdc.gov/parasites/taeniasis/prevent.html

https://www.afrivip.org/sites/default/files/Helminths-ruminants/musculature.html

https://www.cdc.gov/parasites/features/ncc_cme_feature.html

 

ไวรัสโรต้า(Rotavirus)

  • ไวรัสโรต้าเป็นการติดเชื้อที่มักพบมากในช่วงฤดูหนาว และส่วนใหญ่พบได้ในเด็ก
  • การติดต่อของเชื้อโดยผ่าน fecal-oral route หรือหากมีการปนเปื้อนอุจจาระในสิ่งแวดล้อมและสามารถติดได้โดยการสัมผัส รับประทานอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อ
  • เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ (ทำให้มีอาการไข้ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียนและท้องเสีย หากในเด็กเล็กอาจจะมีอาการขาดน้ำและนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ส่วนผู้ใหญ่สามารถเกิดขึ้นได้แต่จะมีอาการเล็กน้อย)
  • การรักษา ไม่มียาที่รักษาได้หายขาดเป็นเพียงการรักษาแบบประคับประคองอาการเท่านั้น(เช่น การให้สารน้ำทดแทน เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำในร่างกาย) โดยอาการจะดีขึ้นใน 2-3 วัน
  • สำหรับการป้องกัน การล้างมือและการทำความสะอาดเป็นสิ่งที่สำคัญในการป้องกันโรค
  • สำหรับวัคซีน(Rota vaccine) ในประเทศไทยขณะนี้ยังเป็นวัคซีนทางเลือก โดยจะช่วยป้องกันการเกิดโรคได้ประมาณ 70% โดยฉีดในเด็กอายุ 2 เดือนเป็นต้นไป (จำนวนครั้งของการฉีดวัคซีนขึ้นอยู่กับชนิดและประเภทของวัคซีน)

ที่มา : https://www.cdc.gov/rotavirus/index.html