การจัดการความรู้ของโรงเรียนนายเรือกำหนดเป็นแผนรายปี ( KM Action Plan ) ตั้งแต่ ปี 2551 – 2553 มีความต่อเนื่องกัน ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ แผนการจัดการความรู้ในส่วนของกระบวนการจัดการความรู้ ( KM Process ) และแผนการจัดการความรู้ในส่วนของกระบวนการจัดการเปลี่ยนแปลง ( Change Management Process ) ซึ่งทั้ง 2 ส่วน จะมีความสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของหน่วย และเป้าหมายที่กำหนดไว้ให้บรรลุผล ขณะเดียวกันในแต่ละส่วนก็จะมีโครงการและกิจกรรมรองรับ เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ซึ่งในปี งป.๕๓ นี้มีอยู่ไม่น้อยกว่า ๑๐ โครงการ/กิจกรรม การขับเคลื่อนการจัดการความรู้ของ รร.นร. เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์จึงเป็นงานที่มีความสำคัญ อีกงานหนึ่งที่ต้องการพลังของการมีส่วนร่วมของกำลังพลทุกระดับ ทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ และเป็นก้าวหนึ่งที่สำคัญในการที่จะก่อเกิดการรวบรวมสะสมองค์ความรู้ ต่อยอดองค์ความรู้ และพิจารณานำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานแขนงต่าง ๆ
แผนการจัดการความรู้
- การบ่งชี้ความรู้ – การประชุม/สัมมนากำหนดองค์ความรู้ตามกลุ่มความรู้หลักที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
- การสร้างและแสวงหาความรู้ – สรรหาและแต่งตั้งชุมชนนักปฏิบัตินำร่อง เพื่อดำเนินการสร้างความรู้ในการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ
- ประมวลและกลั่นกรองความรู้ – ประมวล/กลั่นกรองความรู้จาก นขต.รร.นร./และ CoPs ของ รร.นร.
- การจัดความรู้ให้เป็นระบบ – จัดองค์ความรู้ตามหมวดหมู่ความรู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมจัดเก็บในคลังความรู้
- การเข้าถึงความรู้ – พัฒนาช่องทาง/Website เพื่อการเข้าถึงองค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- การแบ่งปัน/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ – จัดเวที่สัมมนา/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านประสบการณ์ระหว่างบุคลากรภายใน/ภายนอก
- การเรียนรู้ – ติดตามประเมินผลเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องนำความรู้ไประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติจริง
คณะกรรมการ
คณะทำงาน KM การจัดการความรู้ โรงเรียนนายเรือ
การดำเนินงาน KM
การจัดการความรู้ของ รร.นร.ในปีงบประมาณ
การจัดทำแผนงานการจัดการความรู้ของ รร.นร.ประจำปี งป.๕๓ เป็นการดำเนินการต่อเนื่องมาจากแนวทางและแผนการจัดการความรู้ของ รร.นร.ประจำปี งป.๕๑ และ ๕๒ ช่วยให้การจัดการความรู้ดำเนินการได้อย่างเป็นระบบ มีทิศทางที่ชัดเจน และมีความเชื่อมโยงกับนโยบายรัฐบาล นโยบาย ทร. แผนยุทธศาสตร์ ทร. และแผนยุทธศาสตร์ของ รร.นร.โดย ทร.ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
- แนวทางที่ ๑ นำการบริหารเชิงกลยุทธ์ในการถ่ายทอดวิสัยทัศน์การจัดการความรู้ลงสู่ระดับบุคคลในทุกหน่วย มีระบบตรวจสอบ ประเมินผลการปฏิบัติงาน และมีผู้รับผิดชอบตามลำดับชั้นที่ชัดเจน
- แนวทางที่ ๒ เสริมสร้างขีดสมรรถนะด้านการนำองค์กรไปสู่องต์กรแห่งการเรียนรู้ ให้แก่ผู้นำการจัดการความรู้ และนายทหารประสานงานการจัดการความรู้ของ นขต.ทร.
- แนวทางที่ ๓ เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และให้กำลังพลนำองค์ความรู้มาใช้ในการปฏิบัติงานโดยเน้นการสร้างแรงจูงใจทางบวกและลบ
- แนวทางที่ ๔ สร้างฐานความรู้ในด้านการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล
- แนวทางที่ ๕ การเพิ่มอำนาจในการตัดสินใจตามลำดับชั้นตามหลักการมอบอำนาจความรับผิดชอบ และมีระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจดังกล่าวที่ชัดเจน
- แนวทางที่ ๖ พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการจัดการความรู้
- แนวทางที่ ๗ สร้างประชาคม/เครือข่ายความรู้ในด้านการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล
จากการกำหนดองค์ความรู้หลัก ( Core Knowledge ) ของ ทร. ในเรื่องการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล ทร.ได้กำหนดยุทธศาสตร์การบริหารองค์ความรู้ ๓ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านการเตรียมกำลัง ๒) ด้านการใช้กำลัง และ ๓) ด้านบริหารจัดการ โดยภารกิจของ รร.นร. การบริหารองค์ความรู้ถูกกำหนดไว้ที่ด้านการเตรียมกำลัง ถ่ายทอดเป็นวิสัยทัศน์ของ รร.นร. และเป้าประสงค์ของการจัดการความรู้ในเรื่อง “กระบวนการผลิต นนร.ให้เป็นนายทหารสัญญาบัตรที่มีคุณสมบัติตามที่ ทร.ต้องการภายใต้การบริหารจัดการที่ดี“ และได้วิเคราะห์หาองค์ความรู้เพื่อสนองเป้าประสงค์ดังกล่าวนั้น ต้องอาศัยยุทธศาสตร์การบริหารองค์ความรู้ ๔ ด้าน ได้แก่ด้านการจัดการเรียนการสอนภาควิชาการ ด้านการฝึกวิชาชีพทหารเรือ ด้านการปกครองและปลูกฝังภาวะผู้นำ และด้านการบริหารจัดการ
ดังนั้น การดำเนินการในปี งป.๕๓ นี้ แผนการจัดการความรู้ รร.นร.ประจำปี งป.๕๓ จึงมุ่งเน้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์ความรู้ทั้ง ๔ ด้านดังกล่าว โดยใช้ Model ปลาตะเพียนของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม ( สคส. ) หรือการสร้างพวงความรู้ในแต่ละด้าน เพื่อใช้เป็นแนวทางการบริหารองค์ความรู้ของ รร.นร.เรียกว่า 4Ks RTNA Model
แผนบริหารการเปลี่ยนแปลง
จากแนวทางการจัดการความรู้ของ ทร.ประจำปี งป.๕๓ ทั้ง ๗ แนวทาง รร.นร.ได้นำมาเป็นแนวทางการกำหนดแผนงานการจัดการความรู้ของ รร.นร.ดังนี้
มีกิจกรรมทั้งหมด ๙ กิจกรรม ได้แก่
๑. การกำหนดเป้าหมายที่ต้องการนำ KM ไปสู่ LO (Learning Organization ) กิจกรรมคือการประชุมเพื่อคัดเลือกองค์ความรู้ในแต่ละกลุ่มภารกิจ ( 4 Ks )
๒. การประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจ ความตระหนักรู้ในความสำคัญ ประโยชน์ และการมีส่วนร่วม กิจกรรมคือการทำ KM Team สัญจร ไปตามหน่วยต่าง ๆ ใน รร.นร. ซึ่งการดำเนินการนี้เป็นการกระตุ้นกำลังพลของ รร.นร.ให้ตื่นตัวตลอดเวลา ทั้งยังเป็นการให้คำปรึกษา แนะนำต่าง ๆ ให้เกิดการจัดตั้งกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ
๓. การแสวงหาช่องทางอื่น ๆ ในการชี้แจง/ประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ ของคณะกรรมการ ฯ โดยอาศัยที่ประชุม นขต.รร.นร. หรือการเปิดบรรยายเป็นการเฉพาะแก่กำลังพล
๔. การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “Story Telling and Note Taking” มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพกำลังพลในการถ่ายทอดความรู้และการปฏิบัติงานโดยใช้เครื่องมือ การเล่าเรื่อง ( Story Telling ) และการจดบันทึก ( Note Taking ) ผลที่ได้รับจากกิจกรรมดังกล่าว คือ องค์ความรู้จากผู้เข้ารับการอบรมและทีมงาน ที่ได้ถ่ายทอดออกมาอย่างครบถ้วน
๕. การบรรยายพิเศษเรื่อง “KM เพื่อพัฒนาคน พัฒนาหน่วยงาน และการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้”
๖. การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การสร้าง Weblog เพื่อพัฒนาสมรรถนะกำลังพลในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการสนับสนุนการจัดการความรู้
๗. การศึกษาดูงานด้านการจัดการความรู้ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น
๘. การจัดงาน “RTNA Show and Share Y’2010”
๙. การบรรจุหัวข้อเรื่อง “การจัดการความรู้”ในหลักสูตร ป.บัณฑิต รร.นร.
แผนการจัดการความรู้
มีกิจกรรมตามกระบวนการขั้นตอนของการจัดการความรู้ ๗ ขั้นตอน ดังนี้
การบ่งชี้ความรู้ – การประชุม/สัมมนากำหนดองค์ความรู้ตามกลุ่มความรู้หลักที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
การสร้างและแสวงหาความรู้ – สรรหาและแต่งตั้งชุมชนนักปฏิบัตินำร่อง เพื่อดำเนินการสร้างความรู้ในการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ
ประมวลและกลั่นกรองความรู้ – ประมวล/กลั่นกรองความรู้จาก นขต.รร.นร./และ CoPs ของ รร.นร.
การจัดความรู้ให้เป็นระบบ – จัดองค์ความรู้ตามหมวดหมู่ความรู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมจัดเก็บในคลังความรู้
การเข้าถึงความรู้ – พัฒนาช่องทาง/Website เพื่อการเข้าถึงองค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
การแบ่งปัน/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ – จัดเวที่สัมมนา/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านประสบการณ์ระหว่างบุคลากรภายใน/ภายนอก
การเรียนรู้ – ติดตามประเมินผลเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องนำความรู้ไประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติจริง
บทสรุป
จากผลการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ที่ผ่านมา รร.นร. มีการใช้การจัดการความรู้ในเชิงการพัฒนาบุคลากรและการพัฒนาการปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่มีความชัดเจนที่เป็นรูปธรรมในแง่ของการใช้การจัดการความรู้เพื่อผลักดันและขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์และเป้าหมายการพัฒนา รร.นร. ไปสู่ความสำเร็จ ดังนั้นการจัดการความรู้จึงมีการผลักดันให้เกิดการปฏิบัติในองค์กรทั้งในระดับ รร.นร.และหน่วยงานต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบภายใน รร.นร. ในปี งป.๕๓ รร.นร.จึงได้กำหนดกรอบแนวคิดในการนำการจัดการความรู้มาใช้เพื่อการพัฒนา เน้นในประเด็นหลักสำคัญ ๒ เรื่องคือ
- การใช้เครื่องมือการจัดการความรู้เพื่อผลักดันประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนา รร.นร.ในด้านต่าง ๆ ที่มีความเป็นไปได้
- การใช้เครื่องมือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาคน พัฒนางาน และการสร้างนวัตกรรมใหม่
ทั้งนี้ประเด็นที่ ๑ รร.นร. เห็นความสำคัญเพราะการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือที่ช่วยผลักดันการนำองค์ความรู้และทักษะที่มีในตัวบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ตลอดจนศักยภาพและจุดแข็งของ รร.นร. เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ในการผลักดันประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนา รร.นร. และในส่วนประเด็นที่ ๒ การจัดการความรู้ช่วยพัฒนาคน และพัฒนางานในสายสนับสนุนให้มีความเข้มแข็งมีสมรรถนะการปฏิบัติงานที่ดีและเหมาะสมในการผลักดันให้การปฏิบัติงานประจำมีประสิทธิภาพ
เอกสารที่เกี่ยวข้องฯประจำปี
- แนวทางการจัดการองค์ความรู้ของกองทัพเรือปี 2553
- บรรยายสรุปที่ประชุมคณะกรรมการ KM 53
- แผนการบริหารการเปลี่ยนแปลง รร.นายเรือ ประจำปี 2553
- แบบประเมินการจัดการความรู้ขององค์กร
- แบบฟอร์มสำรวจองค์ความรู้
- แบบฟอร์มบทคัดย่อ
- แบบฟอร์มตัวชี้วัด CoPs
- แบบฟอร์ม แผนปฏิบัติงาน
- แบบฟอร์ม AAR ของ รร.นร.
- KAIZEN FORM
- คู่มือการจัดทา แผนการจัดการความรู้
- หลักเกณฑ์การคัดเลือกผลงาน
- After Action Review-AAR