QISKID Model : การจัดการความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการกำลังพลของโรงเรียนนายเรือ
ตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
ในห้วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงเรียนนายเรือซึ่งเป็นสถาบันหลักในการผลิตนายทหารสัญญาบัตรอันเป็นรากแก้วของกองทัพเรือเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ น.ท.ดร.อนุชา ม่วงใหญ่ และ น.ต.ธวัชชัย เทียนบุญส่ง อาจารย์กองวิชาบริหารงานวิเคราะห์ ฝ่ายศึกษาโรงเรียนนายเรือ ได้ศึกษาและออกแบบ QISKID Model ซึ่งเป็น model ในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการศึกษาของโรงเรียนนายเรือในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ด้านการบริหารจัดการกำลังพล
ความเป็นมา
กองทัพเรือที่ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำและคำสั่งของรัฐบาลในการกำหนดแนวทางและมาตรการป้องกัน และแก้ปัญหาขึ้นเพื่อใช้ในองค์กร ผลกระทบดังกล่าวจึงจำเป็นที่โรงเรียนนายเรือควรมีแนวทางหรือมาตรการในการจัดการความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวเช่นกัน เพื่อลดผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนานักเรียนนายเรือ โดยต้องมีมาตรการเพื่อปกป้องดูแล และรักษาบุคลากรให้มีความปลอดภัย และสามารถจัดการการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลเพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะโรงเรียนนายเรือ (รร.นร.) ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ได้เช่นกัน โดยคณะผู้ศึกษาได้มีการออกแบทางความคิดที่สอดคล้อง และตอบสนองคำสั่งจากกองทัพเรืออย่างเคร่งครัดในส่วนที่เกี่ยวข้อง และการปฏิบัติในมาตรต่าง ๆ เพื่อกำหนดแนวทางมาตรการป้องกันฯ สำหรับ นักเรียนนายเรือ โดยมีการดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยงของโรงเรียนนายเรือ ต่อสถานการณ์การฯดังกล่าวในด้านการจัดการความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการกำลังพล โดยได้ออกแบบทางความคิด ดังนี้
QISKID model
QISKID model ได้ออกแบบความคิดขึ้นมา เพื่อสร้างหลักการปฏิบัติที่ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ โดย “QISKID” เป็นคำทับศัพท์จากคำไทยที่มีความหมายโดยตรงว่า คิดคิด นั่นคือการแสดงให้เห็นที่การกลั่นกรอง คิดค้นวิธีการแก้ไขอย่างมีสติ ในช่วงวิกฤตการณ์อันไม่ปกตินี้ โดยประกอบไปด้วยการปฏิบัติ 6 ขั้นตอน ในการจัดการกำลังพลของโรงเรียนนายเรือ ดังนี้
Quarantine – การกักตัว ตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดที่กองทัพเรือ ตลอดจนองค์การอนามัยโลก ที่ได้ให้คำแนะนำ และยอมรับว่าเป็นการปฏิบัติที่ได้ผลในการป้องกันโรคนั่นคือ การกักตัว การกักตัวหมายถึงการแยกออกจากกันและกัน เพื่อลดการพบปะ ที่จะสามารถทำให้เกิดการติดต่อของโรคได้
Identification – การคัดกรอง การคัดกรอง คือการตรวจสอบ จำแนก กำลังพล ในสังกัด ว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใดในการรับเชื้อไวรัส เพื่อดำเนินการแยกผู้ป่วย และดำเนินการปฏิบัติ ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคต่อไป
Separation – การแยกผู้ป่วย การแยกผู้ป่วย คือการแยกระหว่างกลุ่มคนที่มีอาการปกติ กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงว่าติดโรค และบุคคลที่ติดโรคแล้ว ออกจากกัน เพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดเพิ่มเติม และยังสามารถวางแผนการดูแลผู้ป่วย การบริหารกำลังพลที่เหลือได้อีกด้วย
Knowledge – การให้ความรู้ การให้ความรู้แก่กำลังพล เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้กำลังพล ได้รู้เท่าทันโรค ว่าเป็นมาอย่างไร ต้องปฏิบัติอย่างไร เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด และป้องกันการติดเชื้อระบาด
Individual – การปฏิบัติส่วนบุคคล การปฏิบัติส่วนบุคคล เป็นขั้นตอนการปฏิบัติหลังจากที่ได้รับความรู้แล้ว นามาปฏิบัติจริง ในส่วนของตัวบุคคล เช่น การล้างมื้อให้สะอาดด้วยน้าสบู่บ่อย ๆ การสวมหน้ากากอนามัย การใช้เจลแอลกอฮอล์ ฯลฯ
Distance – ระยะห่าง การที่โรคติดต่อนี้ สามารถติดต่อได้ผ่านทางอากาศโดยผ่านสารคัดหลั่งต่าง ๆ ของผู้ติดเชื้อ นั่นจึงเป็นสาเหตุให้ ต้องมีการเว้นระยะห่างกันระหว่างบุคคล ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการพบปะกันได้ เช่นเดียวกับทหารที่ต้องมีการรวมแถวเพื่อตรวจบัญชีพล โดยระยะห่างที่แนะนาคือมากกว่า 1-2 เมตร ต่อบุคคล
ภาพประกอบ QISKID covid model การจัดการกำลังพลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
มาตรการที่เหมาะสมในการจัดการกำลังพลดังกล่าว ฯ โดยการใช้ QISKID covid model เป็นการจัดการที่ครอบคลุม โดยทั้ง 6 ขั้นตอน คือ Q: Quarantine (การกักตัว) I:Identification-(การคัดกรอง) S:Separation-(การแยกผู้ป่วย) K:Knowledge-(การให้ความรู้ ) I:Individual-(การปฏิบัติส่วนบุคคล) D:Distance-(ระยะห่าง) ด้วยรูปแบบขั้นตอนดังกล่าวเชื่อว่าจะเป็นรูปแบบหนึ่งในการบริหารจัดการกำลังพล เพื่อตอบสนองต่อเหตุการการแพร่ระบาดของโรคที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และจะเป็นตัวแบบของการจัดการกำลังพลในสภาวะเสี่ยงต่อโรคระบาดในอนาคต
บทสรุป
โรงเรียนนายเรือเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่มีหน้าที่ผลิตนายทหารสัญญาบัตรหลักให้กับหน่วยต่าง ๆ ในกองทัพเรือ โรงเรียนนายเรือได้มีการตอบสนองคำสั่งจากกองทัพเรืออย่างเคร่งครัดในส่วนที่เกี่ยวข้อง และการปฏิบัติในมาตรต่าง ๆ ซึ่งส่วนที่เกี่ยวข้องในส่วนแรก คือ การตอบสนองมาตรการขั้นต้น จากมาตรการป้องกันการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับกองทัพเรือ (ทร.) โดยมีการดำเนินการจัดการความเสี่ยงต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ตามนโยบายดังกล่าวมีความสำคัญและมีความจำเป็นในการบริหารจัดการ และการพัฒนาองค์กรของโรงเรียนนายเรือเป็นอย่างยิ่ง จากการศึกษาพบว่าโรงเรียนนายเรือควรมีการพิจารณาทบทวนและพิจารณาดำเนินการดังนี้
ข้อเสนอแนะ
1. ผู้บริหารระดับสูงของโรงเรียนนายเรือ ควรกำหนดนโยบายและการส่งเสริมกิจกรรมการจัดการความเสี่ยงต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐลงในแผนยุทธศาสตร์ของโรงเรียนนายเรือ ผ่านการสื่อสารในทุกช่องทางของโรงเรียนนายเรือเพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้กับบุคลากรทุกระดับชั้น และถือเป็นนโยบายที่สำคัญเร่งด่วน
2. ควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมของกำลังพล บุคลากรโรงเรียนนายเรือในการร่วมในกิจกรรมการป้องกันเชิงรุกและการป้องกันเชิงพัฒนาเพื่อลดความเสี่ยงต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ โดยการส่งเสริมสภาพแวดล้อมเพื่อการส่งเสริมการพัฒนา กาย จิต สังคม และปัญญา อย่างถูกสุขอนามัย ให้กับบุคลากรในทุกระดับชั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อย่างยั่งยืน
3. ควรมีกิจกรรมการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยเน้นการมีส่วนร่วมของกำลังพลในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียนนายเรือแล้วนามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และขยายผลเพื่อนามาสู่การปรับปรุง สร้างสุขลักษณะที่ดีสร้างความผาสุกให้กับบุคลากรของโรงเรียนนายเรือ ผ่านวิทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นามาจัดการการเรียนรู้ ตลอดจนการสร้างนวัตกรรมเพื่อเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อย่างยั่งยืนร่วมกัน
4. ควรมีการจัดทำแผนพัฒนาการเรียนรู้เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อย่างยั่งยืน แผนการฝึกอบรมฯ ตลอดจนการติดตามและประเมินผลบุคลากรหลังจากการผ่านการอบรมให้เกิดความเป็นรูปธรรม แล้วนาผลการดาเนินงานดังกล่าวมาวิเคราะห์เพื่อนามาวางแผนคาดการณ์เพื่อหาแนวทางในการป้องกันแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อย่างยั่งยืนเพื่อนามาสู่การแก้ไขปรับปรุงการดาเนินงานในหมวดอื่น ๆ ให้มีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างเป็นรูปธรรม
5. ควรมีการพัฒนาระบบสารสนเทศของโรงเรียนนายเรือเพื่อสนับสนุนข้อมูลฯการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อย่างยั่งยืน ตลอดจนมีการจัดรูปแบบของระบบสารสนเทศให้เกิดความพร้อมใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนนายเรือเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อย่างเป็นรูปธรรม โดยกำหนดกรอบทิศทางในการพัฒนาระบบฯให้มีความชัดเจนเด่นชัดมีทิศทางและมีการกำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ของโรงเรียนนายเรือเพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนนายเรือ ดังกล่าว
บรรณานุกรม
องค์การอนามัยโลก. (2563). [ออนไลน์]. ( https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/q-a-on-covid-19 สืบค้น 24 มิถุนายน 2563 )
รายการข่าวนานาชาติของบีบีซี. (2563). [ออนไลน์]. ( https://www.bbc.com/thai/international-52303183 สืบค้น 24 มิถุนายน 2563 )
กระทรวงมหาดไทย. (2563). [ออนไลน์]. ( http://www.dla.go.th/upload/document/type2/2020/4/23440_1_1586919624184.pdf สืบค้น 24 มิถุนายน 2563 )
สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน. (2563). [ออนไลน์]. ( http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563. สืบค้น 25 มิถุนายน 2563 )