PMID Model : การจัดการความเสี่ยงด้านการรับ/ส่งเสบียง ของโรงเรียนนายเรือตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
ในห้วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงเรียนนายเรือซึ่งเป็นสถาบันหลักในการผลิตนายทหารสัญญาบัตรอันเป็นรากแก้วของกองทัพเรือเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ น.ท.ดร.อนุชา ม่วงใหญ่ อาจารย์กองวิชาบริหารงานวิเคราะห์ ฝ่ายศึกษาโรงเรียนนายเรือ ได้ศึกษาและออกแบบ PMID Model ซึ่งเป็น model ในการบริหารจัดการการจัดการความเสี่ยงด้านการรับ/ส่งเสบียง ของโรงเรียนนายเรือตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
ความเป็นมา
กองทัพเรือที่ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำและคำสั่งของรัฐบาลในการกำหนดแนวทางและมาตรการป้องกัน และแก้ปัญหาขึ้นเพื่อใช้ในองค์กร ผลกระทบดังกล่าวจึงจำเป็นที่โรงเรียนนายเรือควรมีแนวทางหรือมาตรการในการจัดการความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวเช่นกัน เพื่อลดผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนานักเรียนนายเรือ โดยต้องมีมาตรการเพื่อปกป้องดูแล และรักษาบุคลากรให้มีความปลอดภัย และสามารถจัดการการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลเพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะโรงเรียนนายเรือ (รร.นร.) ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ได้เช่นกัน โดยคณะผู้ศึกษาได้มีการออกแบทางความคิดที่สอดคล้อง และตอบสนองคำสั่งจากกองทัพเรืออย่างเคร่งครัดในส่วนที่เกี่ยวข้อง และการปฏิบัติในมาตรต่าง ๆ เพื่อกำหนดแนวทางมาตรการป้องกันฯ สำหรับ นักเรียนนายเรือ โดยมีการดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยงของโรงเรียนนายเรือ ต่อสถานการณ์การฯดังกล่าวในด้านการจัดการความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการกำลังพล โดยได้ออกแบบทางความคิด ดังนี้
PMID Covid model
PMID Covid model การจัดการความเสี่ยงด้านการส่งเสบียง โดยได้มีการกำหนดตัวแบบหรือแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาและจัดการกระบวนการส่งเสบียงของโรงเรียนนายเรือให้มีประสิทธิภาพและมีความเป็นระบบ PMID Model ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อสร้างค่านิยมที่ชัดเจน และเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้คาว่า PMID เป็นแกนกลางหลักในการระบบ โดยประกอบด้วย 3 มิติทั้ง 3 ด้าน คือ
Prevent – การป้องกัน เป็นการดำเนินการเพื่อป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงที่โรคระบาดจะปะปนเข้ามาจากภายนอกโรงเรียน และ เป็นการสร้างบรรทัดฐานในการคัดกรองป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาใหม่ขึ้นต่อไป
Maintain – การแก้ไข เป็นการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นมาแล้วในปัจจุบัน รวมถึงการจัดทำแผนสำรองเพื่อไว้รองรับการแก้ไขปัญหาทางด้านการส่งเสบียงเมื่อเกิดเหตุการณ์โรคระบาดในอนาคต
Improve – การส่งเสริม เป็นการดำเนินการเพื่อส่งเสริมให้นโยบายการส่งเสบียง และแผนที่ได้ทำการจัดทำขึ้นมาเกิดการต่อยอดได้อย่างยั่งยืน และสามารถใช้งานได้จริงได้ในระยะยาว
Develop – การพัฒนา เป็นการดำเนินการเพื่อพัฒนาต่อยอดแผนและนโยบายการส่งเสบียงในปัจจุบันเมื่อสถานการณ์โรคไวรัสระบาดได้คลี่คลายลงแล้ว เพื่อให้สามารถต่อยอดเป็นแนวทางป้องกันปัญหาอื่น ๆ ได้ในอนาคต
ภาพประกอบ PMID Modelการจัดการการส่งกำลังบารุงในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 (นักเรียนนายเรือ พีรวัส แก้วอินทร์)
มาตรการที่เหมาะสมในการจัดการแผนการส่งเสบียง โดยการใช้ PMID covid model เป็นการจัดการที่ครอบคลุม โดยทั้ง 4 ขั้นตอน คือ P:Prevent-(การป้องกัน) M:Maintain-(การแก้ไข) I:Improve-(การส่งเสริม) D:Develop- (การพัฒนา) ด้วยรูปแบบขั้นตอนดังกล่าวเชื่อว่าจะเป็นรูปแบบหนึ่งในการวางแผนนโยบายการส่งเสบียงเพื่อตอบสนองต่อเหตุการการแพร่ระบาดของโรคที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และจะเป็นตัวแบบของการจัดการแผนการส่งเสบียงในสภาวะเสี่ยงต่อโรคระบาดในอนาคต
บทสรุป
โรงเรียนนายเรือเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่มีหน้าที่ผลิตนายทหารสัญญาบัตรหลักให้กับหน่วยต่าง ๆ ในกองทัพเรือ โรงเรียนนายเรือได้มีการตอบสนองคำสั่งจากกองทัพเรืออย่างเคร่งครัด ในส่วนที่เกี่ยวข้องและการปฏิบัติในมาตรต่าง ๆ ซึ่งส่วนที่เกี่ยวข้องในส่วนแรกคือ การตอบสนองมาตรการขั้นต้น จากมาตรการป้องกันการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับกองทัพเรือ ( ทร.) โดยมีการดำเนินการจัดการความเสี่ยงต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด19ตามนโยบายดังกล่าวมีความสำคัญและมีความจำเป็นในกาบริหารจัดการและการพัฒนาองค์กรของโรงเรียนนายเรือเป็นอย่างยิ่ง จาการศึกษาพบว่าโรงเรียนนายเรือควรมีการพิจารณาทบทวนและพิจารณาดำเนินการดังนี้
ข้อเสนอแนะ
1. ผู้บริหารระดับสูงของโรงเรียนนายเรือ ควรกำหนดนโยบายและการส่งเสริมกิจกรรมการจัดการความเสี่ยงต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐลงในแผนยุทธศาสตร์ของโรงเรียนนายเรือ ผ่านการสื่อสารในทุกช่องทางของโรงเรียนนายเรือ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้กับบุคลากรทุกระดับชั้น และถือเป็นนโยบายที่สำคัญเร่งด่วน
2. ควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรโรงเรียนนายเรือในการร่วมในกิจกรรมการป้องกันเชิงรุก และการป้องกันเชิงพัฒนา เพื่อลดความเสี่ยงต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ โดยการส่งเสริมสภาพแวดล้อมเพื่อการส่งเสริมการพัฒนา กาย จิต สังคม และปัญญา อย่างถูกสุขลักณอนามัย ให้กับบุคลากรในทุกระดับชั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อย่างยั่งยืน
3. ควรมีกิจกรรมการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยเน้นการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการรับ/ส่งเสบียง ที่เกิดขึ้นในโรงเรียนนายเรือแล้วนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และขยายผลเพื่อนำมาสู่การปรับปรุง สร้างสุขลักษณะที่ดีสร้างความผาสุกให้กับบุคลากรของโรงเรียนนายเรือ ผ่านเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำมาจัดการการเรียนรู้ ตลอดจนการสร้างนวตกรรมเพื่อเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อย่างยั่งยืนร่วมกัน
4. ควรมีการจัดทำแผนพัฒนาการเรียนรู้ แผนการฝึกอบรมฯ การรับ/ส่งเสบียง ตลอดจนการติดตามและประเมินผลบุคลากรหลังจากการผ่านการอบรมให้เกิดความเป็นรูปธรรม แล้วนาผลการดาเนินงานดังกล่าวมาวิเคราะห์เพื่อนำมาวางแผนคาดการณ์เพื่อหาแนวทางในการป้องกันแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อย่างยั่งยืนเพื่อนำมาสู่การแก้ไขปรับปรุงการดาเนินงานในหมวดอื่น ๆ ให้มีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างเป็นรูปธรรม
5. ควรมีการพัฒนาระบบสารสนเทศของโรงเรียนนายเรือ เพื่อสนับสนุนข้อมูลฯการรับ/ส่งเสบียง เพื่อลดผลกระทบปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ตลอดจนมีการจัดรูปแบบของระบบสารสนเทศให้เกิดความพร้อมใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนนายเรือเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม โดยกำหนดกรอบทิศทางในการพัฒนาระบบฯให้มีความชัดเจนเด่นชัดมีทิศทางและมีการกำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ของโรงเรียนนายเรือเพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนนายเรือ ดังกล่าว
เอกสารอ้างอิง
องค์การอนามัยโลก.(2563).[ออนไลน์]. (https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/q-a-on-covid-19 สืบค้น 24 มิถุนายน 2563 )
รายการข่าวนานาชาติของบีบีซี.(2563).[ออนไลน์]. ( https://www.bbc.com/thai/international-52303183 สืบค้น 24 มิถุนายน 2563 )
กระทรวงมหาดไทย. (2563). [ออนไลน์]. ( http://www.dla.go.th/upload/document/type2/2020/4/23440_1_1586919624184.pdf สืบค้น 24 มิถุนายน 2563 )
สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน. (2563). [ออนไลน์]. ( http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563. สืบค้น 25 มิถุนายน 2563 )