Education RTNA Model : การจัดการความเสี่ยงด้านการศึกษาและการเรียนการสอนของโรงเรียนนายเรือ ตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
ในห้วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงเรียนนายเรือซึ่งเป็นสถาบันหลักในการผลิตนายทหารสัญญาบัตรอันเป็นรากแก้วของกองทัพเรือเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ น.ท.ดร.อนุชา ม่วงใหญ่ และ ร.อ.บริหาร คำนันท์ อาจารย์กองวิชาบริหารงานวิเคราะห์ ฝ่ายศึกษาโรงเรียนนายเรือ ได้ศึกษาและออกแบบ Education RTNA Model ซึ่งเป็น model ในการจัดการความเสี่ยงด้านการศึกษาและการเรียนการสอนของโรงเรียนนายเรือ ตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
ความเป็นมา
กองทัพเรือที่ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำและคำสั่งของรัฐบาลในการกำหนดแนวทางและมาตรการป้องกัน และแก้ปัญหาขึ้นเพื่อใช้ในองค์กร ผลกระทบดังกล่าวจึงจำเป็นที่โรงเรียนนายเรือควรมีแนวทางหรือมาตรการในการจัดการความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวเช่นกัน เพื่อลดผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนานักเรียนนายเรือ โดยต้องมีมาตรการเพื่อปกป้องดูแล และรักษาบุคลากรให้มีความปลอดภัย และสามารถจัดการการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลเพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะโรงเรียนนายเรือ (รร.นร.) ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ได้เช่นกัน โดยคณะผู้ศึกษาได้มีการออกแบทางความคิดที่สอดคล้อง และตอบสนองคำสั่งจากกองทัพเรืออย่างเคร่งครัดในส่วนที่เกี่ยวข้อง และการปฏิบัติในมาตรต่าง ๆ เพื่อกำหนดแนวทางมาตรการป้องกันฯ สำหรับ นักเรียนนายเรือ โดยมีการดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยงของโรงเรียนนายเรือ ต่อสถานการณ์การฯดังกล่าวในด้านการจัดการความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการกำลังพล โดยได้ออกแบบทางความคิด ดังนี้
Education RTNA covid Model
Education RTNA covid Model แนวทางที่ใช้ในการจัดการศึกษาและจัดการเรียนการสอน ช่วงสถานการณ์โควิด-19 ดังนี้ คือ การเรียนออนไลน์ การเรียนการสอนออนไลน์ (Online learning) จัดเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงวิธีเรียนในรูปแบบเดิมๆ ให้เป็นการเรียนใหม่ ที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยทาการสอน นอกจากนี้ การเรียนทางไกล , การเรียนผ่านเว็บไซต์อีกด้วย โดยการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ( Online learning) จะเป็นการเรียนทางผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยอยู่ในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ บวกเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สร้างการศึกษาที่มีปฏิสัมพันธ์คุณภาพสูง โดยไม่จำเป็นต้องเดินทาง ทำให้เกิดความสะดวกและเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ทุกสถานที่ ทุกเวลา เป็นการสร้างการศึกษาตลอดชีวิตให้กับประชากร
- Online study การเรียนออนไลน์ผ่าน Application Zoom, Webex
- Teaching media สื่อการเรียนการสอนออนไลน์ที่มีมาตรฐานเดียวกัน
- Before study เนื้อหาในส่วนของการเรียน เพื่อให้นักเรียนเตรียมตัวก่อนมาเรียน
- After study เนื้อหาในห้องเรียนเพื่อให้นักเรียนที่เรียนไม่ทันสามารถย้อนกลับมาดูใหม่ได้
- During study งดการเปิดapplication อื่นนอกจากการเรียนการสอน
- Contact การติดต่อกับครูผู้สอนโดยตรง เพื่อสอบถามเนื้อหาส่วนที่ไม่เข้าใจและสงสัย
- Advantage online study ป้องกันการติดเชื้อจากบุคคลภายนอก สะดวก ฝึกวินัยนักเรียน
- Check เช็คชื่อนักเรียนผ่านการเปิดกล้อง
ภาพประกอบ Education RTNA Model covid-19การจัดการการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
มาตรการ Education RTNA Model covid-19 จะช่วยป้องการการติดโรคโดยเน้นเป็นการเรียนการสอน ออนไลน์ทั้งหมด โดยผ่านทั้ง 8 หัวข้อคือ Online study, Teaching media, before study, after study, During study, contact, Advantage online study, Check ด้วยรูปแบบขั้นตอนดังกล่าวเชื่อว่าจะเป็นรูปแบบหนึ่งในการวางแผนนโยบายการเรียน เพื่อตอบสนองต่อเหตุการการแพร่ระบาดของโรคที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และจะเป็นตัวแบบของการจัดการแผนการส่งเสบียงในสภาวะเสี่ยงต่อโรคระบาดในอนาคต
บทสรุป
โรงเรียนนายเรือ เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีหน้าที่ผลิตนายทหารสัญญาบัตรหลักให้กับหน่วยต่าง ๆ ในกองทัพเรือ โรงเรียนนายเรือได้มีการตอบสนองคำสั่งจากกองทัพเรืออย่างเคร่งครัด ในส่วนที่เกี่ยวข้อง และการปฏิบัติในมาตรต่าง ๆ ซึ่งส่วนที่เกี่ยวข้องในส่วนแรกนั่นคือ การตอบสนองมาตรการขั้นต้น จากมาตรการป้องกันการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับกองทัพเรือ( ทร.) โดยมีการดำเนินการจัดการความเสี่ยงต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ตามนโยบายดังกล่าวไว้ 3 ด้านตามโมเดลในการจัดการความเสี่ยง ฯ ที่ได้ออกแบบขึ้น กิจกรรมดังกล่าวฯ มีความสำคัญและมีความจำเป็นในการบริหารจัดการและการพัฒนาองค์กรของโรงเรียนนายเรือเป็นอย่างยิ่ง จาการศึกษาพบว่าโรงเรียนนายเรือควรมีการพิจารณาทบทวนและพิจารณาดำเนินการดังนี้
ข้อเสนอแนะ
- ผู้บริหารระดับสูงของโรงเรียนนายเรือ ควรกำหนดนโยบายและการส่งเสริมกิจกรรมการจัดการความเสี่ยงต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ลงในแผนยุทธศาสตร์ของโรงเรียนนายเรือ ผ่านการสื่อสารในทุกช่องทางของโรงเรียนนายเรือเพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้กับบุคลากรทุกระดับชั้น และถือเป็นนโยบายที่สำคัญเร่งด่วน
- โรงเรียนนายเรือควรส่งเสริมกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากรโรงเรียนนายเรือในการร่วมในกิจกรรมการป้องกันเชิงรุกและการป้องกันเชิงพัฒนาเพื่อลดความเสี่ยงต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ตลอดจนการส่งเสริมสภาพแวดล้อมเพื่อการส่งเสริมการพัฒนา กาย จิต สังคม และปัญญา อย่างถูกสุขอนามัย ให้กับบุคลากรในทุกระดับชั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อย่างยั่งยืน
- ควรมีกิจกรรมการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยเน้นการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียนนายเรือแล้วนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และขยายผลเพื่อนำมาสู่การปรับปรุง สร้างสุขลักษณะที่ดีสร้างความผาสุกให้กับบุคลากรของโรงเรียนนายเรือ ผ่านเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำมาจัดการการเรียนรู้ ตลอดจนการสร้างนวัตกรรมเพื่อเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อย่างยั่งยืนร่วมกัน
- ควรมีการจัดทำแผนพัฒนาการเรียนรู้เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อย่างยั่งยืน แผนการฝึกอบรมฯ ตลอดจนการติดตามและประเมินผลบุคลากรหลังจากการผ่านการอบรมให้เกิดความเป็นรูปธรรม แล้วนาผลการดาเนินงานดังกล่าวมาวิเคราะห์เพื่อนำมาวางแผนคาดการณ์เพื่อหาแนวทางในการป้องกันแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อย่างยั่งยืนเพื่อนำมาสู่การแก้ไขปรับปรุงการดาเนินงานในหมวดอื่น ๆ ให้มีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างเป็นรูปธรรม
- ควรมีการพัฒนาระบบสารสนเทศของโรงเรียนนายเรือเพื่อสนับสนุนข้อมูลฯการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อย่างยั่งยืน ตลอดจนมีการจัดรูปแบบของระบบสารสนเทศให้เกิดความพร้อมใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนนายเรือเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อย่างเป็นรูปธรรม โดยกำหนดกรอบทิศทางในการพัฒนาระบบฯให้มีความชัดเจนเด่นชัดมีทิศทางและมีการกำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ของโรงเรียนนายเรือเพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนนายเรือ ดังกล่าว
- การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนนายเรือควรเน้นกระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นฝึกกระบวนการคิด ให้นักเรียนนายเรือได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติมากกว่าการฟังบรรยายเพียงอย่างเดียว ผู้สอนควรมีการกำหนดประเด็นหรือหัวข้อ พร้อมทั้งให้แหล่งข้อมูล นักเรียนนายเรือไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองล่วงหน้า เมื่อมาเรียนในห้อง เป็นการอภิปราย ถกแถลง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยสามารถดูจากการแสดงความคิดเห็น การทำกิจกรรม ระหว่างเรียน การทำแบบฝึก การสรุปการเรียนรู้ เช่น Mind Map เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
องค์การอนามัยโลก. (2563). [ออนไลน์]. ( https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/q-a-on-covid-19 สืบค้น 24 มิถุนายน 2563 )
รายการข่าวนานาชาติของบีบีซี. (2563). [ออนไลน์]. ( https://www.bbc.com/thai/international-52303183 สืบค้น 24 มิถุนายน 2563 )
กระทรวงมหาดไทย. (2563). [ออนไลน์]. ( http://www.dla.go.th/upload/document/type2/2020/4/23440_1_1586919624184.pdf สืบค้น 24 มิถุนายน 2563 )
สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน. (2563). [ออนไลน์]. ( http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563. สืบค้น 25 มิถุนายน 2563 )
ดูบทคัดย่อฉบับเต็ม 3 model กดเลย