เทคนิคการใช้งานรถดับเพลิง
ขอบเขต KM : การจัดการองค์ความรู้ด้านการใช้งานรถดับเพลิงของหน่วย รร.นร.
เป้าหมาย : เพื่อให้ข้าราชการแผนกขนส่งและดับเพลิง กบก.ฝบก.รร.นร. สามารถใช้งานรถดับเพลิงที่ได้รับการบรรจุในหน่วย รร.นร. เพื่อการฝึกตลอดจนการใช้งานเมื่อเกิดอัคคีภัยขึ้นในพื้นที่รับผิดชอบ
ตำแหน่งที่ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ในรถดับเพลิง
ตำแหน่งที่ติดตั้งแผงสวิตช์หลัก แผงควบคุมปืนฉีดน้ำบนหลังคารถ และชุดสวิตช์ไซเรน
ตำแหน่งที่ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ประจำรถ
สวิตช์ต่างๆ และการทำงาน
แผงสวิตช์หลักข้างคนขับ
- MAIN SWITCH ทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆ
- PTO ทำหน้าที่ตัด – ต่อปั๊มน้ำดับเพลิง โดยจะทำงานควบคู่กับคลัทช์รถยนต์
- สวิตช์ไฟตู้เก็บอุปกรณ์ เป็นไฟส่องสว่างภายในตู้เก็บอุปกรณ์
- STROBE LIGHT เป็นสวิตช์จ่ายไฟหลักให้กับชุดไฟวาบวับ (ไฟไซเรน)
- สวิตช์ส่องสว่างด้านข้าง เป็นสวิตช์ปิด – เปิดไฟแสงสว่างด้านข้างของตัวรถ
- สปอร์ตไลท์หลัง เป็นสวิตช์ปิด – เปิดไฟสปอร์ตไลท์ด้านท้ายรถ
ภาพแผงสวิตช์หลักข้างคนขับ
แผงควบคุมสวิตช์ไซเรน
- สวิตช์หลัก เป็นสวิตช์สำหรับปิด – เปิดให้กระแสไฟจ่ายเข้าแผงสวิตช์ควบคุมไซเรน และใช้ปรับระดับความดังของสัญญาณเสียงไซเรน และไมโครโฟน
- ไฟแสดงสถานการณ์ใช้งานไมโครโฟน เมื่อกดใช้งานไมโครโฟนไฟแสดงสถานะจะสว่างขึ้นเพื่อแสดงให้ทราบว่ากำลังใช้งานไมโครโฟนอยู่
- สวิตช์เสียงไซเรน เป็นสวิตช์ปิด – เปิดใช้งานสัญญาณเสียงไซเรน โดยเลื่อนสวิตช์จากตำแหน่ง OFF ไปยังหมายเลขต่างๆ
- สวิตช์เสียงอ๊อด ใช้กดเปิดเสียง (อ๊อด อ๊อด)
- สวิตช์ PTT เป็นสวิตช์ที่ใช้กดเพื่อพูดสื่อสารกับบุคคลภายนอก (ไมโครโฟน)
- สวิตช์สัญญาณเสียงที่ตั้งค่าไว้ ใช้ในการเลือกใช้งานเสียงสัญญาณที่ได้ตั้งค่าไว้
- สวิตช์เลือกรูปแบบเสียงไซเรน ใช้ในการเลือกรูปแบบเสียงไซเรนตามที่กำหนด โดยการบิหมุน
ภาพแผงควบคุมสวิตช์ไซเรน
แผงควบคุมปืนฉีดน้ำบนหลังคารถ
- WATER LAVEL มาตรวัดน้ำ ใช้ในการตรวจสอบว่ามีปริมาณน้ำคงเหลืออยู่ภายในถังบรรจุน้ำดับเพลิงเท่าใด โดยจะแสดงให้ทราบจากจำนวนของดวงไฟที่สองสว่าง รายละเอียดตามตางราง
ไฟแสดงปริมาณน้ำงดับเพลิง | ปริมาณน้ำในถังบรรจุน้ำดับเพลิง |
ไฟติด 4 ดวง | มีน้ำเต็มถัง (4,000 ลิตร) |
ไฟติด 3 ดวง | มีน้ำ 3 ใน 4 ของความจุถัง (3,000 ลิตร) |
ไฟติด 2 ดวง | มีน้ำ 1 ใน 2 ของความจุถัง (2,000 ลิตร) |
ไฟติด 1 ดวง | มีน้ำ 1 ใน 4 ของความจุถัง (1,000 ลิตร) |
- สวิตช์ส่งน้ำเข้าชุดผสมโฟม ใช้ในการปิด – เปิดวาล์ว์เพื่อส่งน้ำจากถังบรรจุน้ำให้เข้าไปผสมกับโฟม (น้ำยาฟองกล) ภายในชุดผสมโฟม (สวิตช์สีแดงปิด สีเขียวเปิด)
- สวิตช์ส่งน้ำขึ้นปืนฉีดน้ำบนหลังคารถ ใช้ในการปิด – เปิดวาล์วเพื่อส่งน้ำจากปั๊มน้ำขึ้นไปยังปืนฉีดน้ำบนหลังคารถ (สวิตช์สีแดงปิด สีเขียวเปิด)
- สวิตช์ปรับตั้งเปอร์เซ็นโฟม ใช้ในการปรับอัตราส่วนผสมของโฟมที่จะส่งเข้าไปผสมกับน้ำ
ในชุดผสมโฟมให้มีความหนาบางตามความต้องการ (สวิตช์กำหนดเปอร์เซ็นโฟมเป็น 1%, 3% และ 6%) - FOAM LEVEL มาตรวัดระดับโฟม (น้ำยาฟองกล) ใช้ในการตรวจสอบระดับโฟมที่มีอยู่ภายในถังบรรจุโฟม รายละเอียดตามตางราง (ถังบรรจุโฟมมีความจุ 500 ลิตร)
ไฟแสดงปริมาณโฟม | ปริมาณโฟมในถังบรรจุโฟม |
ไฟติด 4 ดวง | มีโฟมเต็มถัง |
ไฟติด 3 ดวง | มีโฟม 3 ใน 4 ของความจุถัง |
ไฟติด 2 ดวง | มีโฟม 1 ใน 2 ของความจุถัง |
ไฟติด 1 ดวง | มีโฟม 1 ใน 4 ของความจุถัง |
- สวิตช์สูบโฟมจากถัง ใช้เป็นสวิตช์ปิด – เปิดปั๊มสูบโฟมจากถังบรรจุโฟมส่งไปยังชุดผสมโฟม (สวิตช์สีแดงปิด สีเขียวเปิด)
- สวิตช์หัวฉีดป้องกันตนเอง ใช้ในการเปิดวาล์วน้ำเพื่อส่งน้ำไปยังหัวฉีดน้ำป้องกันตนเอง
ที่ติดตั้งอยู่รอบๆ ตัวรถ (สวิตช์สีแดงปิด สีเขียวเปิด) - สวิตช์เร่งรอบไฟฟ้า ใช้ในการเร่ง หรือลดรอบเครื่องยนต์ (สวิตช์ที่มีเครื่องหมาย (+) เป็นการเร่งรอบเครื่องยนต์ สวิตช์ที่มีเครื่องหมาย (–) เป็นการลดรอบเครื่องยนต์)
- มาตรวัดแรงดันน้ำ เป็นมาตรวัดที่แสดงให้ผู้ใช้งานทราบว่าแรงดันน้ำขณะที่ใช้งานอยู่
มีแรงดันเท่าใด - ไฟแสดงสถานการณ์ใช้งานปืนฉีดน้ำบนหลังคารถ เมื่อกดสวิตช์เรียกใช้ปืนฉีดน้ำบนหลังคารถ
ไฟแสดงสถานะจะกระพริบ เมื่อปืนฉีดน้ำน้ำบนหลังคาพร้อมใช้งานไฟแสดงสถานะจะหยุดกระพริบ
โดยปากกระบอกปืนฉีดน้ำจะทำมุม 45 องศากับแนวราบ และอยู่ที่ทิศ 10 นาฬิกาจากแนวหัวรถ - สวิตช์เรียกใช้ปืนฉีดน้ำบนหลังคารถ เป็นสวิตช์สำหรับเปิดใช้งานปืนฉีดน้ำบนหลังคารถ โดยการดันสวิตช์ไปด้านหน้าเมื่อต้องการใช้งานปืนฉีดน้ำ และดันสวิตช์ไปด้านหลังเมื่อต้องการเก็บปืนฉีดน้ำเข้าที่
ภาพสวิตช์เรียกใช้งานปืนฉีดน้ำบนหลังคา
- คันบังคับปืนฉีดน้ำบนหลังคารถ ใช้ในการควบคุมปืนฉีดน้ำให้หมุนไปยังทิศทางที่ต้องการ และใช้ในการปรับองศาของการฉีดน้ำสูง – ต่ำตามที่ต้องการ
ภาพแผงควบคุมปืนฉีดน้ำบนหลังคารถ
แผงควบคุมท้ายรถ
- WATER LAVEL มาตรวัดระดับน้ำ ใช้ในการตรวจสอบว่ามีปริมาณน้ำคงเหลืออยู่ภายในถังบรรจุน้ำดับเพลิงเท่าใด โดยจะแสดงให้ทราบจากจำนวนของดวงไฟที่สองสว่าง รายละเอียดตามตางราง
ไฟแสดงปริมาณน้ำในถังดับเพลิง | ปริมาณน้ำในถังดับเพลิง |
ไฟติด 4 ดวง | มีน้ำเต็มถัง (4,000 ลิตร) |
ไฟติด 3 ดวง | มีน้ำ 3 ใน 4 ของความจุถัง (3,000 ลิตร) |
ไฟติด 2 ดวง | มีน้ำ 1 ใน 2 ของความจุถัง (2,000 ลิตร) |
ไฟติด 1 ดวง | มีน้ำ 1 ใน 4 ของความจุถัง (1,000 ลิตร) |
- มาตรวัดแรงดูด ใช้ในการตรวจสอบแรงดูดของปั๊มน้ำ ที่ใช้ในการสูบน้ำจากแหล่งน้ำ
ตามธรรมชาติ - มาตรวัดแรงดันสูง ใช้ในการตรวจสอบแรงดันน้ำ เมื่อใช้งานชุดปั๊มฉีดน้ำแรงดันสูง
ในการดับเพลิง - มาตรวัดแรงดันปกติ ใช้ในการตรวจสอบแรงดันน้ำ เมื่อใช้งานรถดับเพลิงตามปกติ
- มาตรวัดชั่วโมงการทำงานของปั๊มน้ำ ใช้ในการตรวจสอบชั่วโมงการทำงานของปั๊มน้ำเพื่อ
การปรนนิบัติบำรุงตามระยะเวลาของการใช้งาน - สวิตช์ส่งน้ำขึ้นปืนฉีดน้ำบนหลังคารถ ใช้ในการปิด – เปิดวาล์วเพื่อส่งน้ำจากปั๊มน้ำขึ้นไปยังปืนฉีดน้ำบนหลังคารถ (สวิตช์สีแดงปิด สีเขียวเปิด)
- FOAM LEVEL มาตรวัดระดับโฟม (น้ำยาฟองกล) ใช้ในการตรวจสอบว่ามีปริมาณโฟม
คงเหลืออยู่ภายในถังบรรจุโฟมเท่าใด โดยจะแสดงให้ทราบจากจำนวนของดวงไฟที่สองสว่าง รายละเอียดตามตางราง
ไฟแสดงปริมาณโฟม | ปริมาณโฟมในถังบรรจุโฟม |
ไฟติด 4 ดวง | มีโฟมเต็มถัง |
ไฟติด 3 ดวง | มีโฟม 3 ใน 4 ของความจุถัง |
ไฟติด 2 ดวง | มีโฟม 1 ใน 2 ของความจุถัง |
ไฟติด 1 ดวง | มีโฟม 1 ใน 4 ของความจุถัง |
- มาตรวัดความเร็วรอบปั๊มน้ำ ใช้ในการตรวจสอบความเร็วรอบของปั๊มน้ำ
- ขั้วต่อจอยสติกควบคุมปืนฉีดน้ำ ใช้ในการควบคุมปืนฉีดน้ำดับเพลิงบนหลังคารถจากผู้ควบคุมทางท้ายรถดับเพลิง
- สวิตช์ส่งน้ำเข้าชุดผสมโฟม ใช้ในการปิด – เปิดวาล์ว์เพื่อส่งน้ำจากถังบรรจุน้ำให้เข้าไปผสมกับโฟม (น้ำยาฟองกล) ภายในชุดผสมโฟม (สวิตช์สีแดงปิด สีเขียวเปิด)
- สวิตช์ปรับตั้งเปอร์เซ็นโฟม ใช้ในการปรับอัตราส่วนผสมของโฟมที่จะส่งเข้าไปผสมกับน้ำในชุดผสมโฟมให้มีความหนาบางตามความต้องการ
- สวิตช์เร่งรอบไฟฟ้า ใช้ในการเร่ง หรือลดรอบเครื่องยนต์ (กดที่สวิตช์ที่มีเครื่องหมาย (+) เป็นการเร่งรอบเครื่องยนต์ กดที่สวิตช์ที่มีเครื่องหมาย (–) เป็นการลดรอบเครื่องยนต์)
- สวิตช์ปรับตั้งแรงดันน้ำอัตโนมัติ ภายในชุสวิตช์ปรับตั้งแรงดันน้ำจะมีสวิตช์ 2 ตัว
- สวิตช์แบบบิดหมุน เป็นสวิตช์ที่มีไว้เพื่อปรับตั้งค่าแรงดันน้ำดับเพลิงตามความต้องการของผู้ใช้งาน
- แบบกดสีเขียว เป็นสวิตช์เร่งรอบอัตโนมัติ ทำหน้าที่ควบคุมแรงดันน้ำดับเพลิงที่ผู้ใช้งานได้ปรับตั้งไว้ในข้อ 1) ให้คงที่อยู่ตลอดเวลาโดยการปรับเพิ่มรอบเครื่องยนต์โดยอัตโนมัติ เมื่อจำนวนท่อทางส่งน้ำดับเพลิงที่ใช้งานเพิ่มขึ้น และลดรอบเครื่องยนต์ลงโดยอัตโนมัติ เมื่อจำนวนท่อทางส่งน้ำดับเพลิงลดลง โดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องใช้คันเร่งท้ายรถในการปรับเพิ่มหรือลดรอบเครื่องยนต์
- สวิตช์หลัก เป็นสวิตช์ที่ทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟให้กับสวิตช์ต่างๆ ภายในแผงควบคุมท้ายรถ (สวิตช์สีแดงปิด สีเขียวเปิด)
- สวิตช์หัวฉีดน้ำป้องกันตนเอง ทำหน้าที่เปิดวาล์วส่งน้ำไปยังหัวฉีดต่างๆ ซึ่งติดตั้งอยู่รอบๆ ตัวรถเพื่อฉีดน้ำป้องกันอันตรายจากไฟที่จะลุกลามมายังตัวรถ (สวิตช์สีแดงปิด สีเขียวเปิด)
- สวิตช์สูบโฟมจากถัง ใช้เป็นสวิตช์ปิด – เปิดปั๊มสูบโฟมจากถังบรรจุโฟมส่งไปยังชุดผสมโฟม (สวิตช์สีแดงปิด สีเหลืองเปิด)
ภาพแผงควบคุมท้ายรถ
วาล์วต่าง ๆ
การใช้งานรถดับเพลิง
- สตาร์ทเครื่องยนต์ กดเปิด MAIN SWITCH ที่แผงสวิตช์ข้างคนขับ
- เมื่อขับรถไปถึงที่หมาย จอดรถในจุดที่ปลอดภัย ดึงเบรกมือทุกครั้ง
ข้อควรระวัง 1) อย่าจอดรถในที่พื้นอ่อนนิ่ม เพราะอาจจะทำให้ล้อรถจมได้
2) หลีกเลี่ยงการจอดรถบนเชิงลาด หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรทำการหนุนล้อ
3) ควรเลือกจุดจอดที่รถสามารถเคลื่อนที่ออกไปได้ทันทีหากมีกรณีที่อาจจะไม่ปลอดภัย
4) เมื่อจะใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการดับเพลิง จะต้องเบรกมือทุกครั้ง หากไม่ดึงเบรกมือระบบจะไม่จ่ายกระแสไฟให้กับเครื่องมือและอุปกรณ์ ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้
- เหยียบแป้นกดคลัทช์ให้สุดระยะ
- กดเปิดสวิตช์ PTO บนแผงสวิชต์ด้านข้างคนขับ เพื่อเข้าเกียร์ปั๊ม (PUMP PTO) รอจนกว่าไฟแสดงสถานะว่าปั๊มน้ำพร้อมใช้งานติด (ไฟสีเขียวที่สวิตช์ติด) หรือรอประมาณ 3 วินาที
ข้อควรระวัง การเดินปั๊มสูบน้ำ (ปั๊ม PTO) ตัวเปล่าโดยที่ยังไม่ได้เปิดวาล์วให้น้ำในถังเก็บเข้าปั๊มได้ไม่เกิน 2 นาที หากเดินปั๊มตัวเปล่านานกว่านี้ อาจจะทำให้ปั๊มได้รับความเสียหายได้
- ค่อย ๆ ปล่อยแป้นกดคลัทช์ช้า ๆ จนสุดระยะ
- ลงจากรถเพื่อไปกดเปิดสวิตช์หลักที่แผงควบคุมท้ายท้ายรถดับเพลิง (กดสวิตช์สีเขียว)
- เปิดวาล์วส่งน้ำจากถังน้ำดับเพลิงเข้าปั๊มน้ำดับเพลิง โดยการหมุนวงล้อเปิดวาล์วน้ำสีดำในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
- เร่งรอบเครื่องยนต์ให้มีความเร็วระหว่าง 1,200 – 1,500 รอบ/นาที โดยการหมุนคันเร่งด้านท้ายรถทวนเข็มนาฬิกา
- ตรวจดูมาตรวัดแรงดัน ให้แรงดันน้ำอยู่ที่ 3 บาร์
- เปิดวาล์วส่งน้ำวนกลับถังบรรจุน้ำดับเพลิง โดยการยกคันโยกเปิดวาล์ว (สีแดง) ด้านซ้ายสุดขึ้น และปิดวาล์วส่งน้ำวนกลับถังทันทีเมื่อมีน้ำออกจากปืนฉีดน้ำแล้ว
ข้อควรทราบ 1) หากไม่เปิดวาล์วส่งน้ำวนกลับถังในขณะที่น้ำยังไม่ออกจากปืนฉีดน้ำอาจจะทำให้ใบพัดภายในปั๊มน้ำได้รับความเสียหายได้
2) หากไม่ปิดวาล์วส่งน้ำวนกลับถังภายหลังจากที่น้ำออกจากปืนฉีดน้ำแล้ว จะมีผลทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของปั๊มน้ำลดลง เป็นผลความแรง และระยะในการฉีดน้ำลดลงไปด้วย
- เปิดวาล์วท่อส่งน้ำดับเพลิง โดยพิจารณาจากสถานที่เกิดเหตุว่าอยู่ทางด้านกราบขวา หรือกราบซ้ายของรถดับเพลิง การเปิดวาล์วท่อส่งน้ำดับเพลิงใช้วิธีการหมุนวาล์วสีเขียวทวนเข็มนาฬิกา (ท่อทางส่งน้ำดับเพลิงมีจำนวน 4 ท่อ ส่งน้ำออกด้านซ้าย และขวา ด้านละ 2 ท่อ)
- ปิดวาล์วระบายน้ำทิ้ง (ยกคันโยกขึ้นให้ทำมุม 90 องศากับแนวท่อน้ำทิ้ง)
- เร่งเครื่องยนต์ให้ได้กำลังดันน้ำตามที่ต้องการ โดยการหมุนคันเร่งด้านท้ายรถทวนเข็มนาฬิกา (กำลังดันน้ำต้องไม่เกิน 10บาร์ หรือรอบเครื่องยนต์ต้องไม่เกิน 3,000 รอบ/นาที เนื่องจากสายส่งน้ำดับเพลิงมีขีดจำกัดในการทนต่อแรงดันน้ำ หากใช้แรงดันน้ำมากกว่านี้อาจจะทำให้สายส่งน้ำดับเพลิงแตกได้)
- เมื่อปฏิบัติเมื่อเลิกใช้งาน ลดความเร็วรอบเครื่องยนต์ให้เดินเบา โดยการหมุนคันเร่งด้านท้ายรถตามเข็มนาฬิกา
- ขึ้นไปนั่งประจำที่คนขับ เหยียบแป้นกดคลัทช์จนสุดระยะ และกดปิดสวิตช์ PTO บนแผงสวิชต์ด้านข้างคนขับเพื่อปลดเกียร์ปั๊ม (PUMP PTO)
- รอประมาณ 3 วินาที จึงค่อยๆ ปล่อยแป้นกดคลัทช์ช้าๆ จนสุดระยะ
- ลงจากรถเพื่อไปกดปิดสวิตช์หลักที่แผงควบคุมท้ายท้ายรถดับเพลิง (กดสวิตช์สีแดง)
- ปิดวาล์วส่งน้ำจากถังน้ำดับเพลิงเข้าปั๊มน้ำดับเพลิง โดยการหมุนวงล้อปิดวาล์วน้ำสีดำ
ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา
- เปิดวาล์วระบายน้ำทิ้ง (ดึงคันโยกลงให้ขนานไปกับแนวท่อน้ำทิ้ง)
- ปิดวาล์วท่อส่งน้ำดับเพลิง ที่ใช้ส่งน้ำเข้าดับเพลิงในที่เกิดเหตุ
- จัดเก็บอุปกรณ์ต่างๆ เข้าที่ เช่น สายส่งน้ำดับเพลิง หัวฉีดน้ำดับเพลิง เป็นต้น