เครื่องกดขวดแอลกอฮอล์เจลแบบใช้เท้าเหยียบ
เจ้าของนวัตกรรม เรือโทกิตติพงษ์ จันทร์เปล่ง
ประจำแผนกช่างไม้ กองโรงงาน
ฝ่ายบริการ โรงเรียนนายเรือ
ที่มาแนวคิด
เนื่องจากปลายปี2562มีโรคระบาดเกิดขึ้นที่เรียกว่าไข้อู่ฮั่น ต่อมากรมอนามัยโลกตั้งทางการชื่อว่า corona 2019 โดยโรคนี้เริ่มระบาดเป็นวงกว้างและมีแนวโน้มจะขยายไปทั่วโลกรวมทั้งไทยก็เริ่มมีผู้ป่วยโรคนี้เกิดขึ้นโดยโรคระบาดชนิดนี้ระบาดทางการหายใจและการสัมผัสต่อกัน ส่งผลให้เริ่มประสบปัญหาเรื่องของหน้ากากอนามัยและถุงมือยางเนื่องจากเป็นสิ่งที่ป้องกันการสัมผัส รวมทั้งแอลกอฮอล์เจลที่ใช้ฆ่าเชื้อก็เป็นสิ่งจำเป็นต้องใช้และก็เริ่มขาดแคลนแต่การใช้งานของแอลกอฮอล์เจลต้องมีการสัมผัสจากมือต่อๆกันฉะนั้นหากมีผู้ป่วยติดเชื้อมาสัมผัสขวดก็อาจเป็นเหตุให้เชื้อโรคแพร่กระจายต่อกันได้ผมจึงหาวิธีไม่ให้มีการสัมผัสขวดแอลกอฮอล์ในขณะใช้งานจึงได้คิดค้นอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งเพื่อช่วยในการกดขวดเจลโดยไม่ใช้มือกดแต่ใช้เท้ากดแทนเพื่อความสะดวกในการใช้งาน และที่สำคัญคือ หยุดเป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อทำให้ผู้ใช้งานได้รับความปลอดภัยเป็นอย่างยิ่ง โดยได้คิดและประดิษฐ์ขึ้นในวันที่ 30 มีนาคม 2563
คือเครื่องมือชิ้นนี้ครับ
เครื่องกดแอลกอฮอล์เจลแบบใช้เท้าเหยียบ
โดยผลงานชิ้นนี้ได้มอบให้กับโรงพยาบาลโรงเรียนนายเรือใช้เป็นที่แรกในวันที่ 1 เมษายน 2563
คุณสมบัติของเครื่อง
1.มีแป้นปั๊มขวดแอลกอฮอล์โดยใช้เท้าเหยียบกระเดื่องจากตัวเครื่องโดยไม่ต้องใช้มือกดปั๊ม
2.สามารถปรับระดับตามความสูง-ต่ำของขวดแอลกอฮอล์แต่ละชนิดได้ถึง100เซนติเมตร
3.สามารถปรับหมุนได้ 360 องศาตามความถนัดในการใช้งานของผู้ใช้
4.รูปร่างและน้ำหนักพอเหมาะกะทัดรัดในการใช้งานไม่เปลืองเนื้อที่
5.เคลื่อนย้ายสะดวก
เมื่อนวัตกรรมนี้เกิดความสะดวกและปลอดภัยในการใช้งานทางเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลโรงเรียนนายเรือได้นำผลงานออกสื่อสังคมออนไลน์เพียง 1 วันมีผู้สนใจผลงานชิ้นนี้เป็นอย่างมากและต้องการนำเครื่องนี้ไปใช้งานในส่วนงานด้านสาธารณสุขและการแพทย์ ผมจึงได้มีการพัฒนารูปแบบขึ้นเป็นรุ่นที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้
แบบที่ใช้ปัจจุบัน
เพียงไม่นานก็มีหลายหน่วยงานรวมทั้งเอกชนที่เห็นผลงานจากสื่อ ให้ความสนใจนวัตกรรมชิ้นนี้และมีบางหน่วยติดต่อขอต้นแบบเพื่อนำไปผลิตใช้ในหน่วยงาน รวมทั้งเอกชนที่เห็นผลงานจากสื่อ เช่น
1.ข้าราชการระดับชั้นนายพลของกองทัพอากาศ
2.บริษัท SCG logistics management
3.กรมอู่ป้อมพระจุลจอมเกล้า
4.กรมโรงงานฐานทัพเรือสงขลา
5.โรงเรียนบางแห่งในส่วนภูมิภาค
6.บริษัทเอกชนบางแห่ง
7.ประชาชนทั่วไป
บริษัท SCG logistics management เข้ามาศึกษาแบบที่โรงเรียนนายเรือ
บริษัทเอกชนที่เห็นภาพจากสื่อแล้วนำไปทำออกจำหน่าย
มีการทำเป็นรูปแบบต่างๆหลายรูปแบบ เพื่อนำออกใช้งานและจำหน่าย
หลายๆแห่งก็คิดค้นออกมาหลายรูปแบบแต่โดยใช้หลักการเดียวกันจากต้นแบบแห่งนี้ ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจของกองทัพเรือและผู้ผลิตคิดค้นเป็นอย่างยิ่งจึงทำให้ผู้ผลิตและหน่วยงานได้รับชื่อเสียง
ต่อมา ได้มีกันทำใช้ในหน่วยงานรร.นร.โดยงบประมาณของโรงเรียนนายเรือ และผู้ผลิตได้บริจาคให้กับโรงพยาบาลสิริกิติ์ สนามกีฬาภูติอนันต์บางนาและบางสถานที่ในโรงเรียนนายเรือ จึงทำให้มีผู้สนใจนวัตกรรมชิ้นนี้มากขึ้นมากมายจึงเป็นเหตุใ้ห้หน่วยงานสนใจสั่งซื้อในราคาประหยัดเพื่อใช้ในหน่วยรวมทั้งข้าราชการและประชาชนทั่วไปขอจัดซื้อในราคาประหยัดเพื่อนำไปบริจาคให้กับโรงพยาบาลและสถานที่หลายแห่ง เช่น
1.หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
2.โรงพยาบาลสิริกิติ์
3.โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า
4.โรงพยาบาลในสังกัดกองทัพอากาศ
5.โรงพยาบาลในจังหวัดขอนแก่น
6.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหลายแห่ง
7.ข้าราชการโรงเรียนนายเรือซื้อบริจาคโรงพยาบาลในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
8.ผู้ใจบุญในจังหวัดสุรินทร์ขอซื้อแบบเพื่อนำไปทำบริจาค
9.มูลนิธิจงกง- จังหวัดสมุทรปราการ
10.ข้าราชการโรงเรียนนายเรือและผู้ใจบุญ รวมทั้งบริษัทห้างร้านหลายแห่ง บริจาคให้โรงพยาบาลตำรวจ
ข้าราชการและประชาชนทั่วไปที่ซื้อไปใช้เป็นการส่วนตัว
นวัตกรรมชิ้นนี้ถือว่าเป็นผลงานของคนไทยและเขื่อว่าเป็นแห่งแรกของโลกที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกในการรับมือกับภัยโควิด2019อย่างแท้จริง
ขอบคุณโรงเรียนนายเรือ และกองทัพเรือที่ให้การสนับสนุนครับ