
สารบัญ
การสอบภาคพลศึกษา ๘ สถานี
การสอบพลศึกษา เป็นการทดสอบสมรรถภาพทางกายของผู้สมัคร โดยมีสถานีทดสอบจำนวน ๘ สถานี ซึ่งมีคะแนนเต็มรวมในการสอบพลศึกษา ๑๐๐ คะแนน ผลคะแนนการสอบพลศึกษาที่ได้จะนำไปรวมกับคะแนนที่ได้จากการสอบภาควิชาการซึ่งมีคะแนนเต็มรวม ๗๐๐ คะแนน รวมเป็นคะแนนเต็มทั้งหมด ๘๐๐ คะแนน แล้วจัดเรียงตามลำดับคะแนนใหม่เพื่อประกาศผลสอบรอบสุดท้ายต่อไป
ทั้งนี้ผู้สมัครที่เข้ารับการทดสอบไม่ผ่านเกณฑ์โดยตกในสถานีใดสถานีหนึ่ง จะถือว่าสอบไม่ผ่าน
สถานีที่ ๑ นั่งงอตัว
วัตถุประสงค์ เพื่อวัดความอ่อนตัวของร่างกาย
วิธีการทดสอบ ให้ผู้เข้ารับการทดสอบอยู่ในท่าเริ่มต้น คือ นั่งเหยียดขาตรงชิดกันและให้ข้างเท้าด้านในชิดกัน ตั้งเท้าให้เป็นมุมฉาก ฝ่าเท้าทั้งสองสัมผัสกับกล่องตรงกลางไม้วัด เมื่อกรรมการสั่ง “เริ่ม” ให้ผู้รับการทดสอบ โน้มตัวลงไป เหยียดแขนและปลายนิ้วมือให้ตึง เลื่อนไปข้างหน้าตามไม้วัด จนไม่สามารถเลื่อนปลายนิ้วมือต่อไปได้และเข่าจะต้องเหยียดตรงตลอดเวลา ห้ามโยกตัวหรืองอตัวแรง ๆ การบันทึกให้ถือระยะที่ไกลที่สุดตามแนวไม้วัด
เกณฑ์คะแนนเต็ม ๒๐ เซนติเมตร เกณฑ์ที่ไม่ผ่าน ๐ เซนติเมตร
สถานีที่ ๒ ลุกนั่ง ๓๐ วินาที
วัตถุประสงค์ เพื่อวัดความทนทานของกล้ามเนื้อหน้าท้อง
วิธีการทดสอบ ให้ผู้รับการทดสอบอยู่ในท่าเริ่มต้น คือ นอนหงาย เข่าทั้งสองงอเป็นมุมฉาก เท้าทั้งสองห่างกันประมาน ๑ ฟุต มือทั้งสองให้นิ้วมือประสานกันอยู่ที่ท้ายทอย กางศอกให้แนบพื้นเบาะ เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือจะนั่งคุกเข่าบริเวณปลายเท้า มือทั้งสองจับและกดที่ข้อเท้าของผู้เข้ารับการทดสอบ ให้เท้าติดพื้น เมื่อพร้อมแล้วกรรมการจะให้สัญญานว่า “เริ่ม” ให้ผู้เข้ารับการทดสอบยกลำตัวท่อนบนขึ้นสู่ท่านั่งพร้อมกับ ก้มศรีษะและรวบศอกทั้งสองข้างชิดกันเข้าอยู่ระหว่างช่องเข่าแล้วกลับนอนหงายลงพื้นให้อยู่ในท่าเริ่มต้นสัมผัสที่เบาะ ทำเช่นนี้ติดต่อกันให้ได้จำนวนครั้งมากที่สุด ภายในเวลา ๓๐ วินาที หากผู้เข้ารับการทดสอบปฏิบัติผิดจากวิธีดังกล่าว กรรมการจะไม่นับจำนวนครั้งที่ทำผิดนั้น
เกณฑ์คะแนนเต็ม เวลา ๓๐ ครั้ง เกณฑ์ที่ไม่ผ่าน ตำกว่า ๑๐ ครั้ง .
สถานีที่ ๓ ยืนกระโดดไกล
วัตถุประสงค์ เพื่อวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา และข้อเท้า
วิธีการทดสอบ ให้ผู้เข้ารับการทดสอบอยู่ในท่าเริ่มต้น โดยยืนบนกระดานเส้นเริ่ม
ปลายเท้าทั้งสองชิดหลังเส้นเริ่ม เมื่อพร้อมแล้วกรรมการจะสั่ง “เริ่ม” ให้ผู้เข้ารับการทดสอบเหวี่ยงแขนทั้งสองไปด้านหลัง ก้มตัว ย่อเข่า เหวี่ยงแขนทั้งสองไปข้างหน้าพร้อมกระโดด ให้ลำตัวและเท้าทั้งสองไปด้านหน้าให้ไกลที่สุด การวัดระยะการกระโดด จะถือจากเส้นเริ่มไปยังจุดที่ส้นเท้าสัมผัสพื้น หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายสัมผัสพื้นใกล้เส้นเริ่มมากที่สุด หากการทดสอบผิดจากที่กำหนด เช่น เหยียบเส้นเริ่มต้น ให้ผู้เข้ารับการทดสอบสามารถทดสอบได้อีก ๑ ครั้ง
เกณฑ์คะแนนเต็ม ๒๔๐ เซนติเมตร เกณฑ์ที่ไม่ผ่าน น้อยกว่า ๑๙๑ เซนติเมตร
สถานีที่ ๔ ดึงข้อ
วัตถุประสงค์ เพื่อวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและหัวไหล่
วิธีการทดสอบ ให้ผู้เข้ารับการทดสอบจับราวแบบคว่ำมือ ปล่อยตัวห้อยลงจนลำตัวและขาเหยียดตรง เป็นท่าเริ่มเมื่อพร้อมแล้วให้สัญญาน “เริ่ม” ให้ผู้เข้ารับการทดสอบดึงตัวขึ้น จนคางอยู่เหนือราว แล้วปล่อยตัวลงมาอยู่ในท่าเริ่มต้น แล้วดึงตัวขึ้นไปใหม่ ทำติดต่อกันไปให้มากครั้งที่สุด ถ้าหยุดพักระหว่างครั้งนานเกิน ๕ วินาที หรือไม่สามารถ ดึงขึ้นจนคาง
พ้นราวได้ ๒ ครั้ง ติดต่อกันให้หยุดการปฏิบัติ
เกณฑ์คะแนนเต็ม ๒๐ ครั้ง เกณฑ์ที่ไม่ผ่าน ดึงไม่ขึ้น ๐ ครั้ง
สถานีที่ ๕ วิ่งเก็บของ
วัตถุประสงค์ เพื่อวัดความคล่องแคล่วว่องไวและการสั่งการของประสาท
วิธีการทดสอบ วางไม้ทั้งสองท่อนกลางวงกลมที่อยู่ปลายเส้นทาง ผู้เข้ารับการทดสอบยืนเท้าข้างใด ข้างหนึ่งชิดเส้นเริ่ม เมื่อได้ยินสัญญาณ “เข้าที่” ผู้เข้ารับการทดสอบพร้อมแล้ว ผู้ปล่อยตัว สั่ง “เริ่ม” ให้ผู้เข้ารับการทดสอบวิ่งไปยังวงกลมปลายทาง หยิบไม้ในวงกลม ๑ ท่อน วิ่งกลับ มาวางไม้ ในวงกลมหลังเส้นเริ่ม แล้วกลับตัววิ่งไปหยิบไม้อีก ๑ ท่อน วิ่งกลับมาแล้ววิ่งผ่านเส้นเริ่มไป ห้ามโยนท่อนไม้เข้าวงกลมในระหว่างการทดสอบ ถ้าวางไม้ไม่เข้าวงกลมต้องเริ่มต้นใหม่ โดยให้โอกาสแก้ตัวได้ ๑ ครั้ง แต่จะคิดเวลาและให้คะแนนในครั้งหลัง
เกณฑ์คะแนนเต็ม เวลา ๑๐.๐๐ วินาที เกณฑ์ที่ไม่ผ่าน เวลามากกว่า ๑๒.๔๐ วินาที
สถานีที่ ๖ วิ่ง ๕๐ เมตร
วัตถุประสงค์ เพื่อวัดความรวดเร็วของร่างกาย
วิธีการทดสอบ ท่าเริ่มต้นให้ผู้เข้ารับการทดสอบยืนที่หลังเส้นเริ่ม เมื่อผู้ปล่อยตัวสั่ง “เข้าที่” และเมื่อได้ยินสัญญานปล่อยตัว “เสียงนกหวีดสั้น” ให้ผู้เข้ารับการทดสอบวิ่งไปเส้นชัย ให้เร็วที่สุดการคิดคะแนนจะตามเวลาที่ผู้เข้ารับการทดสอบแต่ละคนทำได้ดีที่สุด
เกณฑ์คะแนนเต็ม เวลา ๖.๒๐ วินาที เกณฑ์ที่ไม่ผ่าน เวลามากกว่า ๘.๙๐ วินาที
สถานีที่ ๗ วิ่ง ๑,๐๐๐ เมตร
วัตถุประสงค์ เพื่อวัดความอดทน ความทนทานของระบบการไหลเวียนของโลหิต
วิธีการทดสอบ ท่าเริ่มต้นให้ผู้เข้ารับการทดสอบยืนที่หลังเส้นเริ่ม เมื่อผู้ปล่อยตัวสั่ง “เข้าที่” และเมื่อได้รับสัญญานปล่อยตัว “เสียงนกหวีดสั้น” ให้ผู้เข้ารับการทดสอบวิ่งไปตามเส้นทางที่กำหนดจนถึงเส้นชัย การคิดคะแนนจะคิดตามเวลาที่ผู้เข้ารับการทดสอบแต่ละคนทำได้ดีที่สุด
เกณฑ์คะแนนเต็ม เวลา ๓.๒๒ นาที เกณฑ์ที่ไม่ผ่าน เวลามากกว่า ๕.๒๒ นาที
สถานีที่ ๘ ว่ายน้ำ ๕๐ เมตร
วัตถุประสงค์ เพื่อวัดความสามารถในการว่ายน้ำ ด้านทักษะ และ ความเร็ว
วิธีการทดสอบ ท่าเริ่มต้นให้ผู้เข้ารับการทดสอบยืนบนแท่นปล่อยตัวหรือยืนบนขอบสระ และเกาะที่ขอบสระด้านเส้นเริ่ม เมื่อผู้ปล่อยตัวสั่ง “เข้าที่” และเมื่อได้ยินสัญญานปล่อยตัว “เสียงนกหวีดสั้น” ให้ผู้เข้ารับการทดสอบพุ่งตัวลงน้ำหรือถีบตัวออกจากขอบสระเส้นเริ่ม แล้วว่ายน้ำโดยเร็วในท่าใดก็ได้ไปยังเส้นชัยแตะขอบสระอีกด้านหนึ่ง การคิดคะแนนจะคิดตามเวลาที่ผู้เข้ารับการทดสอบแต่ละคนทำได้ดีที่สุด
เกณฑ์คะแนนเต็ม ๓๕ วินาที เกณฑ์ที่ไม่ผ่าน มากกว่า ๘๐ วินาที
ระเบียบการทั่วไปและวิธีการสมัครสอบคัดเลือกบุคคลพลเรือนเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพเรือ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔
ขอบคุณนะคะ ข้อมูลมีประโยชน์มากค่ะ