ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcome) ของการฝึกแล่นใบ
วิชาการแล่นใบเป็นวิชาตามหลักสูตรการศึกษาของ นนร. คือ การฝึกทักษะวิชาชีพทหารเรือ ๓ (นนร.ชั้นปีที่ ๒ ภาคต้น) และวิชาพลศึกษา ๔ (นนร.ชั้นปีที่ ๒ ภาคปลาย) ซึ่งการแล่นใบช่วยทำให้ นนร. มีความรู้และทักษะหลายอย่าง เช่น ทักษะการบังคับเรือขั้นต้นและขั้นสูง ทักษะการออกเรือและการเข้าเทียบเรือ ฯลฯ ทักษะต่าง ๆ เหล่านี้ นนร. สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตรับราชการ ภายหลังจากจบการศึกษาจาก รร.นร. ได้
กวกด.ฯ มีภารกิจหน้าที่ในการฝึกทักษะวิชาชีพทหารเรือให้กับ นนร. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นนร. ชั้นปีที่ ๑มีหัวข้อการฝึกหลายอย่าง เช่น ดิ่งทราย ดิ่งน้ำตื้น การฝึกเชือกเงื่อน เป็นต้น แต่อุปสรรคในการฝึกทักษะวิชาชีพทหารเรือ คือ นนร. ต้องเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก ทำให้ นนร. ขาดเรียนไปในบางหัวข้อวิชา ดังนั้น กวกด.ฯ จึงต้องปรับแต่งตารางการฝึกหัดศึกษาใหม่ โดยการพิจารณาระยะเวลาการเรียน (จำนวน ชม.) เทียบกับความยากง่ายและความสำคัญของหัวข้อการฝึก ซึ่ง กวกด.ฯ พิจารณาแล้วเห็นว่าวิชาการแล่นใบมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ฝึกหัดศึกษา เนื่องจากวิชาดังกล่าวเป็นการบูรณาการทักษะหลากหลายอย่างเข้าด้วยกัน
แนวคิดของการจัดการเรียนการสอนวิชาแล่นใบของ กวกด.ฯ เป็นแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในรูปแบบ Play and Learning โดยมีวัตถุประสงค์ให้ นนร. ได้รับความรู้และประสบการณ์พร้อมกับความสนุกสนาน ซึ่งเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับ นนร. ซึ่งแตกแต่งจากการเรียนการสอนแบบเดิม
ตาราง Learning Outcome ของการฝึกแล่นใบ |
||||
ลำดับ |
หัวข้อวิชา | ผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน |
ตำแหน่ง
ในเรือใบ |
ขีดสมรรถนะภายหลัง จบการศึกษา |
1 |
ทฤษฎีเบื้องต้น อุปกรณ์เรือใบ การประกอบใบเรือ การดูแลรักษาอุปกรณ์เรือใบ |
มีความรู้ความเข้าใจในองค์ประกอบ และการดูแลรักษาเรือใบและใบเรือ |
ทุกตำแหน่ง | มีความรู้ความเข้าใจในเรือ (know your ship) |
2 |
ความรู้พื้นฐาน กฎ – กติกา หลักความปลอดภัย |
มีความรู้
ความเข้าใจ ในการเดินเรือ |
ทุกตำแหน่ง | เข้าใจกฎการเดินเรือสากล |
3 |
การติดตั้งใบเรือ ฝึกปฏิบัติแล่นใบต่าง ๆ ฝึกกลับใบ |
มีทักษะในการบังคับเรือขั้นต้น | ทุกตำแหน่ง | การนำเรือ |
4 |
การออกเรือและ
การเข้าเทียบเรือ |
สามารถออกเรือและการเข้าเทียบเรือได้ | ทุกตำแหน่ง | การเข้าเทียบ-ออกจากเทียบ การนำเรือเก็บคนตกน้ำด้วยเรือใหญ่ |
จากตาราง Learning Outcome แสดงให้เห็นความสอดคล้องกันในรูปแบบ Input>>>>> Output>>>>> Outcome (รูปที่ ๑) โดยเริ่มต้นจาก หัวข้อวิชา>>>>>ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน>>>>> ขีดสมรรถนะภายหลังจบการศึกษาจาก รร.นร. ยกตัวอย่างเช่น เมื่อ นนร. เรียนหัวข้อความรู้พื้นฐาน กฎ – กติกา
และหลักความปลอดภัย นั้น นนร. จะตระหนักถึงความสำคัญและต้องจดจำกฎการเดินเรือต่างๆ ให้ได้ เพราะ นนร. ต้องฝึกปฏิบัติจริงในแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีการสัญจรทางน้ำอย่างหนาแน่น ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอนแบบนี้แตกต่างจากวิธีการสอนแบบท่องจำ หรือกรณีทักษะในการบังคับเรือขั้นต้น นั้น เป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญของ นนร. ในเรื่องการดูกระแสน้ำ กระแสลม ที่ส่งผลกระทบต่อการนำเรือ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการนำเรือชั้น ๓ / เรือ ต. ซึ่งมีลักษณะอาการเรือที่ใกล้เคียงกัน
รูปที่ ๑