การฝึกทักษะวิชาชีพทหารเรือของ นนร.ชั้นปีที่ ๑ – ๔ ภาคต้น ปีการศึกษา ๒๕๖๑
ตามแนวคิด “การเรียนการสอนแบบพี่สอนน้อง”
๑. แนวคิดการเรียนการสอนแบบพี่สอนน้อง
การฝึกวิชาชีพทหารเรือในช่วง ๔ – ๕ ปีที่ผ่านมา เป็นการจัดตารางการฝึกในลักษณะของอุดมศึกษา กล่าวคือ เป็นการจัดการเรียนการสอนแยกตามห้องเรียนและตามชั้นปี ซึ่งครูผู้สอน/ครูฝึกต้องรับผิดชอบผู้เรียนประมาณ ๒๕ นาย/ครูฝึกจำนวน ๑ นาย อีกทั้งครูฝึกส่วนใหญ่เป็นนายทหารสัญญาบัตรชั้น ข และนายทหารประทวน ปัญหาจากการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา พบว่า มีปัจจัยบางประการที่ส่งผลกระทบในทางลบต่อผลสัมฤทธิ์การฝึกทักษะวิชาชีพทหารเรือของ นนร. ได้แก่ ระยะเวลาการฝึกไม่เพียงพอ (บางครั้งสอนไม่ครบจำนวน ๒ ชั่วโมงเต็ม) จำนวนครูฝึกและอุปกรณ์การฝึกไม่เพียงพอ กิจกรรมอื่น ๆ นอกหลักสูตรแทรกเป็นจำนวนมาก สัดส่วนที่ไม่สมดุลระหว่างครูฝึกและ นนร. เป็นต้น ซึ่งจากการของภาคปฏิบัติในทะเลทั้งภายในและต่างประเทศของปีการศึกษา ๒๕๖๐ ที่ผ่านมานั้น มฝ.นนร. ให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ รร.นร. ว่า นนร. ยังมีความรู้และทักษะทางวิชาชีพทหารเรือไม่เพียงพอ
รูปแบบการเรียนการสอนทักษะวิชาชีพทหารเรือที่ผ่านมาเน้นรูแบบที่ยึดครูเป็นศูนย์กลาง (Teacher -centered Method) ส่งผลให้ครูฝึกควบคุมการฝึกของ นนร.ไม่ทั่วถึง นนร.มีบทบาทการเป็นผู้รับเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้ง นนร. มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนค่อนข้างน้อย ดังนั้น ในปีการศึกษา ๒๕๖๑ ฝศษ.รร.นร. จึงปรับรูปแบบการฝึกทักษะวิชาชีพทหารเรือของ นนร.ชั้นปีที่ ๑ – ๔ ใหม่เป็นการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student – centered method) โดยครูฝึกจะต้องปรับบทบาทของตนเองจากที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ป้อนความรู้ให้แก่ นนร. โดยปรับบทบาทส่วนใหญ่เป็นที่ปรึกษาให้แก่ นนร.ชั้นปีที่ ๔ และครูฝึกเองต้องเป็นผู้วัดและประเมินการฝึกของ นนร.ชั้นปีที่ ๑ – ๓ อีกด้วย โดย นนร.ชั้นปีที่ ๔ แต่ละคนจะถูกสอนทักษะวิชาชีพทหารเรือคนละ ๑ หัวข้อ โดยคณะครูฝึกจาก กวกด.ฝศษ.รร.นร. และ กวอย.ฝศษ.รร.นร. ในช่วง ๔ สัปดาห์แรกของการเปิดภาคการศึกษา จากนั้นในสัปดาห์ที่ ๕ – ๙ นนร.ชั้นปีที่ ๔ จะต้องทำหน้าที่เป็นครูฝึก สัปดาห์ที่ ๑๐ – ๑๒ ทำหน้าผู้ช่วยครูฝึกในการทดสอบ และในช่วงสัปดาห์ที่ ๑๓ – ๑๖ จะทำหน้าที่เป็นครูฝึกอีกครั้งในการทบทวนและสอบแก้ตัวสำหรับ นนร.ชั้นปีที่ ๑ – ๓ ที่มีคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์การทดสอบ ทั้งนี้ “การจัดการเรียนการสอนแบบพี่สอนน้อง” จะเป็นเป็นปลูกฝังและสร้างภาวะผู้นำทางทหาร ความรับผิดชอบ ปฏิสัมพันธ์ ที่ดีระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง และความสามัคคีในหมู่คณะตามหลักค่านิยม ทร. ๔ ประการ ในเรื่องความเป็นชาวเรือ และความเป็นผู้นำได้อย่างชัดเจน นับได้ว่าการเรียนการสอนในรูปแบบนี้เป็นการบูรณาการระหว่างการฝึกวิชาชีพทหารเรือและการสร้างภาวะผู้นำทางทหารให้แก่ นนร.ชั้นปีที่ ๔ ซึ่งเป็น นนร.ชั้นสูงได้อย่างชัดเจน
๒. วัตถุประสงค์การเรียนการสอนแบบพี่สอนน้อง
๒.๑ เพื่อบริหารจัดการการฝึกทักษะวิชาชีพทหารเรือของ นนร.ชั้นปีที่ ๑ – ๔ ในช่วงเวลา ๑๖๐๐ – ๑๘๐๐ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
๒.๒ เพื่อบูรนาการการฝึกระหว่างการฝึกทักษะวิชาชีพทหารเรือ และสร้างภาวะผู้นำทางทหารแก่ นนร.
๒.๓ เพื่อกำหนดเป้าหมาย วิธีการฝึก และการประเมินการฝึกทักษะวิชาชีพทหารเรือให้มีความเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
๒.๔ เพื่อเตรียมการฝึกภาคปฏิบัติทางทะเลของ นนร.ในปีการศึกษา ๒๕๖๑
๓. โปรแกรมการฝึกทักษะวิชาชีพทหารเรือ
ภาพรวมตารางการฝึกในวันจันทร์ – อังคาร จะเป็นการฝึก ทม.รอ. ซึ่งมีหัวข้อการฝึกเหมือนกับการฝึก ในวิชาทหารราบ ๑ และ ๒ ดังนั้น ฝศษ.ฯ จึงปรับตารางและวิธีการฝึกในรูปแบบใหม่จากที่ใช้ครูฝึกของ กวอย.ฯ และ ร้อย รปภ.ที่ ๖ ฯ เป็นการฝึกโดยใช้ท่าของ ทม.รอ. และใช้ครูฝึกจาก กรม นนร.รอ. ฯ ซึ่งเป็นผู้ที่ผ่านการฝึกจาก ทม.รอ. มาเป็นอย่างดี ส่วนวันพุธจะเป็นการเรียนพลศึกษาโดยใช้ครูฝึกจาก กพล.กรม นนร.รอ.ฯ ส่วนวันพฤหัสบดี – ศุกร์ จะเป็นการฝึกทักษะวิชาชีพทหารเรือในรูปแบบ “การเรียนการสอนแบบ พี่สอนน้อง” รายละเอียด ดังนี้
๓.๑ หัวข้อการฝึก
๓.๑.๑ นนร.ชั้นปีที่ ๑ : การปืน ๗๖/๕๐ เชือกเงื่อน นกหวีด เชือกใหญ่และรอก กระเชียง ดิ่งทรายและดิ่งน้ำตื้น ทหารราบ ๑ (ทอ.รม.) และพลศึกษา (ว่ายน้ำ)
๓.๑.๒ นนร.ชั้นปีที่ ๒ : การปืน ๔๐/๖๐ เรือยาง เรือยนต์ เรือใบ เรือเอนกประสงค์ ทหารราบ ๒ (ทอ.รม.) และพลศึกษา (การป้องตัวด้วยมือเปล่า)
๓.๑.๓ นนร.ชั้นปีที่ ๓ : ศูนย์ยุทธการ (พรรคนาวิน) ปคส./การปฏิบัติในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พรรคกลิน) และพลศึกษา (การสื่อสารทางทัศนะ : มอส ธงประมวล ธงสองมือ)
๓.๑.๒ นนร.ชั้นปีที่ ๔ : ฝึกท่ากระบี่ (ทม.รอ.)
๓.๒ ตารางการฝึก
ตารางการฝึกขอนำเสนอในรูปแบบการฝึกของ นนร.ชั้นปีที่ ๔ และ นนร.ชั้นปีที่ ๑ – ๓ เพื่อให้เกิดความชัดเจน รายละเอียด ดังนี้
๓.๒.๑ นนร.ชั้นปีที่ ๔
๑) สัปดาห์ที่ ๑ – ๔ (Train the Trainer)
จันทร์ – อังคาร ฝึก ทม.รอ. (ครูฝึกจาก กรม นนร.ฯ)
พุธ พลศึกษา (ครูฝึกจาก กพล.ฯ)
พฤหัสบดี – ศุกร์ ฝึกวิชาชีพทหารเรือ (เรียนเพียง ๑ กราบ/วัน : ซ้าย/ขวา)
(ครูฝึกจาก กวกด.ฯ และ กวอย.ฯ)
กราบที่ว่างเตรียมการฝึกหลักสูตรปฏิบัติงานใต้น้ำ
หมายเหตุ พฤหัสบดี – ศุกร์ : รับการฝึกวิชาชีพทหารเรือจากครูฝึก โดย นนร.ชั้นปีที่ ๔ แต่ละคนจะได้รับฝึกความชำนาญเพียง ๑ หัวข้อเท่านั้น สำหรับนำไปสอน นนร.ชั้นปีที่ ๑ – ๓ ต่อไป
๒) สัปดาห์ที่ ๕ – ๘
จันทร์ – อังคาร ฝึก ทม.รอ. (ครูฝึกจาก กรม นนร.ฯ)
พุธ พลศึกษา (ครูฝึกจาก กพล.ฯ)
พฤหัสบดี – ศุกร์ ครูฝึกวิชาชีพทหารเรือ (เพียง ๑ กราบ/วัน : ซ้าย/ขวา)
กราบที่ว่างเตรียมการฝึกหลักสูตรปฏิบัติงานใต้น้ำ
หมายเหตุ พฤหัสบดี – ศุกร์ : นนร.ชั้นปีที่ ๔ ทำหน้าที่ครูฝึก
๓) สัปดาห์ที่ ๙ – ๑๒
จันทร์ – อังคาร ฝึก ทม.รอ. (ครูฝึกจาก กรม นนร.ฯ)
พุธ พลศึกษา (ครูฝึกจาก กพล.ฯ)
พฤหัสบดี – ศุกร์ ครูฝึกวิชาชีพทหารเรือ (เพียง ๑ กราบ/วัน : ซ้าย/ขวา)
กราบที่ว่างเตรียมการฝึกหลักสูตรปฏิบัติงานใต้น้ำ
หมายเหตุ พฤหัสบดี – ศุกร์ : นนร.ชั้นปีที่ ๔ ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยครูฝึกในการทดสอบภาคปฏิบัติของ นนร.ชั้นปีที่ ๑ – ๓
๔) สัปดาห์ที่ ๑๓ – ๑๖
จันทร์ – อังคาร ฝึก ทม.รอ. (ครูฝึกจาก กรม นนร.ฯ)
พุธ พลศึกษา (ครูฝึกจาก กพล.ฯ)
พฤหัสบดี – ศุกร์ ครูฝึกวิชาชีพทหารเรือ (เพียง ๑ กราบ/วัน : ซ้าย/ขวา)
กราบที่ว่างเตรียมการฝึกหลักสูตรปฏิบัติงานใต้น้ำ
หมายเหตุ พฤหัสบดี – ศุกร์ : นนร.ชั้นปีที่ ๔ ทำหน้าที่เป็นครูฝึกเพื่อทบทวนให้แก่นนร.ที่มีผล การทดสอบไม่ผ่านเกณฑ์
๓.๒.๒ นนร.ชั้นปีที่ ๑ – ๓
๑) สัปดาห์ที่ ๑ – ๔
จันทร์ – อังคาร ฝึก ทม.รอ. (ครูฝึกจาก กรม นนร.ฯ)
พุธ พลศึกษา (ครูฝึกจาก กพล.ฯ)
พฤหัสบดี – ศุกร์ ว่าง (เนื่องจากครูฝึกทั้งหมดต้องทำการฝึกให้แก่ นนร.ชั้นปีที่ ๔ เพื่อทำหน้าที่เป็นครูฝึก นนร.ชั้นปีที่ ๑ – ๓)
๒) สัปดาห์ที่ ๕ – ๘
จันทร์ – อังคาร ฝึก ทม.รอ. (ครูฝึกจาก กรม นนร.ฯ)
พุธ พลศึกษา (ครูฝึกจาก กพล.ฯ)
พฤหัสบดี – ศุกร์ ฝึกวิชาชีพทหารเรือ (เรียนเพียง ๑ กราบ/วัน : ซ้าย/ขวา)
หมายเหตุ พฤหัสบดี – ศุกร์ : นนร.ชั้นปีที่ ๓ กราบที่ว่างเตรียมการฝึกหลักสูตรปฏิบัติงานใต้น้ำ
๓) สัปดาห์ที่ ๙ – ๑๒
จันทร์ – อังคาร ฝึก ทม.รอ. (ครูฝึกจาก กรม นนร.ฯ)
พุธ พลศึกษา (ครูฝึกจาก กพล.ฯ)
พฤหัสบดี – ศุกร์ สอบวิชาชีพทหารเรือ (สอบเพียง ๑ กราบ/วัน : ซ้าย/ขวา)
หมายเหตุ พฤหัสบดี – ศุกร์ : นนร.ชั้นปีที่ ๓ กราบที่ว่างเตรียมการฝึกหลักสูตรปฏิบัติงานใต้น้ำ
๔) สัปดาห์ที่ ๑๓ – ๑๖
จันทร์ – อังคาร ฝึก ทม.รอ. (ครูฝึกจาก กรม นนร.ฯ)
พุธ พลศึกษา (ครูฝึกจาก กพล.ฯ)
พฤหัสบดี – ศุกร์ ทบทวน/เก็บตกการฝึกวิชาชีพทหารเรือ (เรียนเพียง ๑ กราบ/วัน : ซ้าย/ขวา)
หมายเหตุ พฤหัสบดี – ศุกร์ : นนร.ชั้นปีที่ ๓ กราบที่ว่างเตรียมการฝึกหลักสูตรปฏิบัติงานใต้น้ำ
๔. การวัดและประเมินผล
เพื่อให้ครูผู้สอน และ นนร.มีความเข้าใจในการฝึกที่ตรงกัน และเพื่อมีการปฏิบัติที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ดังนั้น การฝึกในแต่ละหัวข้อจะกำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการ วิธีการวัด และเกณฑ์การประเมินผลที่มีความชัดเจน เป็นรูปธรรม เพื่อให้การวัดและประเมินผลสามารถสะท้อนสมรรถนะด้านวิชาชีพทหารเรือ ความเป็นผู้นำทางทหารของ นนร.ได้อย่างแท้จริง
๕. ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการฝึก
๕.๑ นนร.มีเวลาการฝึกวิชาชีพทหารเรือที่เพียงพอ ครูฝึกสามารถดูแลผู้รับการฝึกได้อย่างทั่วถึง
๕.๒ นนร.ชั้นปีที่ ๔ มีการพัฒนาที่ดีขึ้นในเรื่องภาวะผู้นำทางทหาร จากการที่ต้องมีส่วนรับผิดชอบในการฝึกทักษะวิชาชีพทหารเรือของตนเองให้มีความชำนาญ และยังต้องมีส่วนรับผิดชอบในการทำหน้าที่เป็นครูฝึกทักษะวิชาชีพทหารเรือให้แก่ นนร.ชั้นปีที่ ๑ – ๓ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนเองให้ผ่านเกณฑ์การประเมิน
๕.๓ ครูฝึกสามาถประเมินภาวะผู้นำทางทหารของ นนร.ชั้นปีที่ ๔ ได้อย่างเที่ยงตรง จากการทำหน้าที่เป็นครูฝึก นนร.ชั้นปีที่ ๑ – ๓ ที่ตนเองรับผิดชอบ
๕.๔ นนร.มีความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะ มีความสามารถในการทำงานเป็นทีม และปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง นนร.รุ่นพี่และรุ่นน้อง จากการทำกิจกรรมร่วมกันในระหว่างการฝึก
๕.๕ นนร.แต่ละชั้นปีมีทักษะวิชาชีพทหารเรือที่เป็นเลิศ มีความพร้อมสำหรับการฝึกภาคปฏิบัติในทะเล
กองวิชาการเรือและเดินเรือ
พ.ค.๖๑