๓. การชักหย่อนเรือช่วยชีวิต
ก. ความมุ่งหมาย
โดยที่การฝึกชักหย่อนเรือช่วยชีวิตที่โรงเรียนนายเรือในสภาพปัจจุบันนี้มีข้อจำกัดเกี่ยวกับเวลาฝึก เครื่องช่วยการฝึกและผู้รับการฝึก ไม่สามารถจะฝึกชักหย่อนเรือช่วยชีวิตลงน้ำให้ใกล้เคียงกับความจริงได้ แบบฝึกนี้จึงมุ่งหมายเฉพาะนักเรียนนายเรือให้คุ้นเคยกับการทำงานเป็นทีมในการชักหย่อนเรือช่วยชีวิตรวมทั้งหน้าที่นายยาม จ่ายาม คนประจำรอกหัว – ท้าย คนประจำหลักเดวิท หัว – ท้าย เท่านั้น โดยครูฝึกจะต้องสมมุติขั้นตอนและทำหน้าที่เป็นนายยามประกอบการปฏิบัติต่าง ๆ ด้วย
ข. ชุดฝึก
๑) ครูฝึกหรือผู้ช่วยครูฝึก ทำหน้าที่สมมุติขั้นตอนและเป็นนายยาม
๒) ชุดฝึกเรือช่วยชีวิตแต่ละชุด ๖ นาย ชุดใดมีจำนวนไม่ควรให้จัดชุดอื่นเข้าสมทบโดยครูฝึกกำหนดหมายเลขและหน้าที่ให้ดังนี้
หมายเลข ๑ นายท้าย
หมายเลข ๒ จ่ายาม
หมายเลข ๓ ประจำรอกหัว
หมายเลข ๔ ประจำรอกท้าย
หมายเลข ๕ ประจำเดวิทหัว
หมายเลข ๖ ประจำเดวิทท้าย
ค. การปฏิบัติในการชักหย่อนเรือช่วยชีวิต
ขั้นตอนและคำสั่ง | การปฏิบัติ |
๑. นายยามสั่ง “เตรียมเรือช่วยชีวิต เจ้าหน้าที่ชุด………ประจำที่
๒. เรือช่วยชีวิต |
๑. จ่ายามทวนคำสั่ง เป่านกหวีดประกาศคำสั่งให้ทราบทั่วกันตลอดลำ
๒. (เว้น) คนประจำเรือช่วยชีวิต รีบลงมาเรือก่อนลงเรือให้ช่วยกันเอาท้าวแขนออก (ถ้ามี) สวมเสื้อชูชีพจับ เชือกช่วยชีวิต ๓. (เว้น) คนประจำหลักเดวิทแก้เชือกปริบันเรือโบต ๔. คนประจำรอกหัว (ท้าย) แก้บาระตูคอรอกให้เหลือประมาณ ๒ – ๓ รอก ดึงหางเชือกเอาไว้แล้วเอาเท้ายันไว้ รายงาน “รอกหัว (ท้าย) พร้อม” ๕. คนประจำหลักเดวิท แก้บาระตูลูกตน เตรียมพร้อมที่จะหย่อนเรือ แล้วรายงาน “เดวิทหัว (ท้าย) พร้อม” ๖. คนประจำรอกหัว (ท้าย) แก้บาระตูจับเชือกช่วยชีวิต แล้วรายงาน “รอกหัว (ท้าย) พร้อม” ๗. นายท้ายเรือ เมื่อเห็นเรือช่วยชีวิตพร้อมแล้ว รายงาน “เรือช่วยชีวิต พร้อม” |
ขั้นตอนและคำสั่ง | การปฏิบัติ |
๓. เมื่อนายยามได้รับรายงานว่า “เรือช่วยชีวิตพร้อม” และเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว สั่ง “หะเรีย” หรือ “หะเรียแค่กราบ” | ๑. จ่ายามทวนคำสั่ง แล้วเป่านกหวีด เพลงหะเรีย
๒. คนประจำหลักเดวิทหะเรียเรือช่วยชีวิตลงไป เรื่อย ๆ ตามเสียงนกหวีด |
๔. เมื่อเรือช่วยชีวิตถึงน้ำแล้ว นายยามสั่ง “ปล่อย” | ๑. เมื่อเรือถึงน้ำแล้ว นายท้ายหักหางเสือให้เรือช่วยชีวิตออกห่างเรือใหญ่พอสมควร
๒. จ่ายามทวนคำสั่ง แล้วเป่านกหวีด เพลงปล่อย ๓. คนประจำหลักเดวิท สลัดเชือกออกจากลูกตน ๔. นายท้ายสั่ง “ปลดรอกท้าย” คนประจำรอกท้ายปลดรอกแล้ว รายงาน “รอกท้ายพร้อม” ๕. คนประจำหลักเดวิทท้ายดึงเชือกเพื่อยกรอกท้ายให้สูงขึ้นจนพ้นระดับศีรษะคนประจำกระเชียงและนายท้าย ๖. นายท้ายสั่ง “ปลดรอกหัว” คนประจำรอกหัวปลดรอกแล้วรายงาน “รอกหัวพร้อม” ๗. คนประจำหลักเดวิทหัว ดึงเชือกเพื่อยกรอกหัวให้สูงขึ้น จนพ้นศีรษะคนประจำกระเชียงและนายท้าย ๘. นายท้ายสั่งกระเชียงออกและสั่งตี เพื่อให้เชือกนำหย่อน |
๕. เมื่อนายยามเห็นว่า นายท้ายสั่ง ปลด รอกหัวและรอกท้ายแล้ว นายยามสั่ง “ปลดเชือกนำ”
๖. เก็บคนน้ำได้ |
๑. คนสัญญาณ (คนประจำรอกหัวทำหน้าที่ปลดเชือกนำ ถ้าปลดไม่ออก ให้ใช้ขวานตัดแล้วรายงานนายท้ายว่า “พร้อม” (คนสัญญาณทำหน้าที่สัญญาณโดยใช้ธงสองมือจากถุงเรือโบตตามวิธีการ)
๒. (เว้น) พลกระเชียงดูสัญญาณจากเรือใหญ่แล้วบอกแก่นายท้าย ๓. นายท้ายนำเรือช่วยชีวิตเข้ามารับเชือกนำ |
๗. เมื่อเรือช่วยชีวิตเก็บคนตกน้ำได้แล้ว และนายท้ายกำลังนำเรือเข้ามาหาเรือใหญ่ นายยามสั่ง “เตรียมรับเรือช่วยชีวิต กราบขวา (ซ้าย)” | ๑. จ่ายามทวนคำสั่ง แล้วประกาศให้ทราบทั่วกัน
๒. (เว้น) คนประจำรอกบีเลารอกให้พร้อม พลประจำเรือเตรียมพร้อมที่จะชักเรือช่วยชีวิต ๓. นายท้ายนำเรือเช้ามารับเชือกนำ |
๘. นายยามสั่ง “ส่งเชือกนำ”
๙. เรือช่วยชีวิตอยู่ตรงเชือกรอก
|
๑. คนประจำเชือกนำ(การฝึกสมมุติให้คนประจำเดวิทหัวทำหน้าที่) โยนเชือกนำให้คนสัญญาณมารับเชือกแล้วให้ผูกไว้ที่หัวเรือตามเดิม
๒. นายท้ายเมื่อเห็นว่าเรือช่วยชีวิตอยู่ตรงเชือกรอกให้สั่ง“กระเชียงเข้า” พลกระเชียงนำกระเชียงเข้า ๓. นายท้ายสั่ง “เกี่ยวรอกหัว” คนสัญญาณ (คนประจำรอกหัวเกี่ยวรอกหัว รายงาน “รอกหัวพร้อม” |
ขั้นตอนและคำสั่ง | การปฏิบัติ |
๙. เรือช่วยชีวิตอยู่ตรงเชือกรอก (ต่อ)
๑๐. เรือช่วยชีวิตเข้าเทียบหรือใกล้เรือใหญ่ |
๔. นายท้ายสั่ง “เกี่ยวรอกท้าย”คนกระเชียงหนึ่ง (คนประจำรอกท้าย” เกี่ยวรอกท้าย รายงาน “รอกท้ายพร้อม”
๕. นายท้ายสั่งคนกระเชียงไต่บันไดลิงหรือตาข่ายขึ้นเรือใหญ่ แล้วรายงาน “เรือช่วยชีวิตพร้อม” |
๑๑. เรือช่วยชีวิตพร้อม นายยามสั่ง “เข้าเชือก”
๑๒. นายยามสั่ง “ดึงตึง”
๑๓. นายยามสั่ง “รวมเชือก”
๑๔. นายยามสั่ง “หะเบส” |
๑. จ่ายามทวนคำสั่ง แล้ว เป่านกหวีด เพลงประกาศแล้วสั่ง “เข้าเชือก”
๒. จ่ายามทวนคำสั่ง แล้ว เป่านกหวีด เพลงดึงตึง ๓. คนประจำหลักเดวิทหัว – ท้ายดึงเชือกให้ตึง ๔. จ่ายามทวนคำสั่งแล้วเป่านกหวีด เพลงประกาศแล้วสั่ง “รวมเชือก” ๕. จ่ายามทวนคำสั่ง แล้วเป่านกหวีด เพลงหะเบส |
๑๕. เมื่อเรือช่วยชีวิตขึ้นมาแค่กราบ นายยามสั่ง “โฮ” | ๑. จ่ายามทวนคำสั่ง แล้วเป่านกหวีด ผูกหรือหยุด
๒. นายท้ายไปรายงานนายยามเรือเดิน “เก็บคนตกน้ำได้แล้ว คนตกน้ำปลอดภัย” |
๑๖. นายยามสั่ง “หะเบส” | ๑. จ่ายามทวนคำสั่ง แล้วเป่านกหวีด เพลงหะเบส |
๑๗. เมื่อเรือขึ้นเกือบถึงที่แล้ว นายยามสั่ง “โฮ”
๑๘. ถ้าเรือขึ้นไม่เสมอกัน (ไม่ได้ระดับ) นายยามสั่ง “แยกเส้น” แล้วสั่ง “เส้นนอกเรือใหญ่ (หรือเส้นในเรือใหญ่) หะเบส |
๑. จ่ายามทวนคำสั่ง แล้วเป่านกหวีด เพลงผูกหรือหยุด
๒. จ่ายามทวนคำสั่ง แล้วสั่ง “แยกเส้น” เส้นนอกเรือใหญ่ (เส้นในเรือใหญ่) หะเบส” แล้วเป่านกหวีดเพลงหะเบสนิดหน่อย |
๑๙. เมื่อเรือขึ้นถึงที่แล้ว นายยามสั่ง “โฮ” | ๑. จ่ายามทวนคำสั่ง แล้วเป่านกหวีด เพลงหะเบส
๒. คนประจำรอกหัว(ท้าย) จัดการบาระตูเสร็จแล้วแล้วรายงาน “รอกหัว (ท้าย) พร้อม” ๓. นายท้ายรายงาน “เรือช่วยชีวิตพร้อม” |
๒๐. นายยามสั่ง “เดินกลับ” | ๑. จ่ายามทวนคำสั่ง แล้วสั่ง”เดินกลับ”
๒. คนประจำหลักเดวิท (ท้าย) บาระตูลูกตน แล้วรายงาน “เดวิทหัว (ท้าย) พร้อม” |
๒๑. นายยามสั่ง “ปล่อย” | ๑. จ่ายยามทวนคำสั่ง แล้วเป่านกหวีด เพลงปล่อย
๒. คนประจำเรือช่วยชีวิตช่วยกันจัดเชือกและเก็บของใน เรือช่วยชีวิตเข้าที่ให้เรียบร้อย |
๒๒. การฝึกเรือช่วยชีวิตชุด ๑ เสร็จสิ้นแล้ว นายยามสั่ง “พักฝึก” | ๑. เจ้าหน้าที่เรือช่วยชีวิตชุด ๑ กลับมาแถวหน้าหลักเดวิท (นายท้ายอยู่หัวแถว) รอฟังคำสั่งต่อไป |