บทที่1
บทนำเหตุผลและความจำเป็น
เหตุผลและความจำเป็น
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 24 ต้องการให้สถานศึกษาจัดกระบวนการเรียนรู้ดังต่อไปนี้
(1) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
(2) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
(3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
(4) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรมค่านิยมที่ดีงามและและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
(5) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ทั้งนี้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ
(6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนทุกฝ่ายเพื่อเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ (สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา,2548,หน้า 8-9)
คณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ ได้จัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา โดยกำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา 5 ด้าน คือ (1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม (2) ด้านความรู้ (3) ด้านทักษะทางปัญญา (4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องทำคู่มือการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างกระบวนการคิด
เพื่อให้ครูอาจารย์สามารถเตรียมการสอนและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้และมีแนวทางปฏิบัติที่สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะทางปัญญาตามกรอบคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
วัตถุประสงค์ของคู่มือ
1.เพื่อให้ผู้สอนใช้เป็นแนวทางสำหรับสร้างกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์
2.เพื่อให้ผู้สอนได้ศึกษาขั้นตอนการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์
3.เพื่อนำเสนอวิธีสอนซึ่งนำไปสู่การปรับปรุงการพัฒนาเพื่อสร้างมาตรฐานการจัดการเรียนการสอน
ขอบเขตของเนื้อหาในคู่มือ
เนื้อหาในคู่มือประกอบด้วย 5 บท
บทที่ 1 บทนำ เหตุผลและความจำเป็น
บทที่ 2 การวิเคราะห์งานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 ขั้นตอนการสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์
บทที่ 4 ตัวอย่าง
บทที่ 5 ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ประโยชน์ของคู่มือการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์
1.เพื่อให้ผู้ใช้คู่มือได้ทราบวิธีการสร้างกิจกรรมการเรียนการสอน
2.เพื่อให้ผู้ใช้คู่มือสามารถเตรียมการปฏิบัติการสอนด้านการกำหนดเนื้อหา สื่อการสอน สถานที่และกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมกับเวลาและทรัพยากรสนับสนุนการสอน
3.เพื่อให้ผู้ใช้คู่มือเกิดความมั่นใจในการปฏิบัติงานว่าจะสามารถปฏิบัติการสอนได้เป็นมาตรฐานเดียวกันและเพื่อลดข้อผิดพลาดในการปฏิบัติการสอน
ขอบเขตของคู่มือ
การจัดการเรียนการสอนเพื่อกระบวนการคิดวิเคราะห์
บทที่2
การวิเคราะห์งานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
1.คุณลักษณะของผู้เรียน 6 ด้าน
ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา(Thai Qualifications Frameworks for Higher Education TQF : Head ) หรือ TQF ได้กำหนดคุณลักษณะของบัณฑิตที่ต้องการ 5 ด้าน คือ ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านสติปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับโรงเรียนเหล่าทัพเพิ่มด้านที่ 6 คือ ด้านทักษะทางวิชาชีพทหาร ก่อนปฏิบัติการสอน ครูอาจารย์ต้องทำความเข้าใจก่อนว่ารายวิชาที่รับผิดชอบสอนกำหนดคุณลักษณะของบัณฑิตว่ามีคุณลักษณะอย่างไร ดังนั้นครูอาจารย์จึงต้องศึกษาจากรายละเอียดของหลักสูตร(มคอ.2) หมวดที่ 4 ผลการเรียนรู้กลยุทธ์การสอนและการประเมินผล
สำหรับโรงเรียนเหล่าทัพจะมีมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่เกิดกับผู้เรียน 6 ด้าน ดังนี้
1. ด้านคุณธรรมและจริยธรรม |
1.1 มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต |
1.2 มีวินัยตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม |
1.3 สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ |
1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิชาชีพต่อบุคคลองค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม |
1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพรวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพของตนในแต่ละสาขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน |
2 ด้านความรู้ |
2.1 มีความรู้และความเข้าใจในวิทยาการและศาสตร์ในสาขาของตน เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิชาชีพที่ เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี |
2.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้าน |
2.3 มีความรู้วิชาทหารขั้นพื้นฐานในทฤษฎีและหลักการทางทหาร สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติการทางทหารได้ |
2.4 มีความรู้ในด้านจิตวิทยาและการเป็นผู้นำทหารอย่างเพียงพอที่จะนำไปปฏิบัติหน้าที่บังคับบัญชาทหาร |
2.5 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง |
2.6 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น |
2.7 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้ |
3. ด้านสติปัญญา |
3.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี |
3.2 สามารถรวบรวมศึกษาวิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ |
3.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาอย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ |
3.5 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ |
3.6 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเองเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ |
4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ |
4.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม |
4.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้ง
แสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในกาแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ |
4.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง |
4.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ |
4.5 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม |
5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ |
5.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี |
5.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ สามารถประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ |
5.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ |
5.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ |
5.5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาที่เกี่ยวข้องได้ |
6. ด้านทักษะทางวิชาชีพทหาร |
6.1 มีความรู้เกี่ยวกับวิทยาการทหารและวิชาชีพทหาร |
6.2 มีภาวะผู้นำทางทหาร มีวินัย รู้แบบธรรมเนียมทางทหารสามารถอุทิศตนเพื่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ |
6.3 มีความเข้มแข็งทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีบุคลิกลักษณะการวางตนที่เหมาะสม |
6.4 มีการปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัยทหาร สำนึกในหน้าที่รับผิดชอบของตน |
6.5 มีความสามารถปฏิบัติการทางทหาร รู้บทบาทหน้าที่ของการเป็นทหารอาชีพ ธำรงเกียรติยศและศักดิ์ศรี
ของทหาร |
ในรายวิชาต่างๆใน มคอ.2 หมวดที่ 4 ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนและการประเมินผลการเรียนรู้จะมีเครื่องหมายวงกลมสีดำทึบ l หมายถึงคุณลักษณะหลักที่มุ่งหวังให้เกิดกับผู้เรียน เครื่องหมาย ¡ หมายถึงคุณลักษณะรองที่มุ่งหวังให้เกิดกับผู้เรียนเครื่องหมายเหล่านี้ปรากฏหน้าข้อใดหมายความว่าเมื่อผู้เรียนจบการศึกษาตามหลักสูตรแล้วจะต้องเกิดการเรียนรู้ตามข้อต่างๆ เหล่านั้น
คำถามที่เกิดขึ้นสำหรับครูอาจารย์ประจำวิชา คือ จะสอนอย่างไรให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามที่กำหนด คำตอบ คือ การใช้กิจกรรมการเรียนรู้ การใช้วิธีสอน และ การแผนการสอน เป็นเครื่องมือสร้างคุณลักษณะตามที่มุ่งหวัง ต่อไปนี้จะเป็นการอธิบายเรื่องแผนการสอน วิธีสอนและการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้งสามเรื่องนี้เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
2 แผนการสอน
แผนการสอน หมายถึง แผนการหรือโครงการที่จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อใช้ในการปฏิบัติการสอนในรายวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นการเตรียมการสอนอย่างเป็นระบบ และ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครูพัฒนาการจัดการเรียนการสอนไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้และจุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ(วัฒนาพร ระงับทุกข์ 2542 : 1 )
และ ดร.วัฒนาพร ระงับทุกข์ยังได้อธิบายเกี่ยวกับการวางแผนการสอนว่า ก่อนการเขียนแผนการสอนผู้สอนจะต้องตอบคำถาม
การวางแผนและเตรีมการสอนเป็นการกำหนดไว้ล่วงหน้าว่าจะสอนใคร ในเนื้อหาใด สอนเมื่อใด สอนอย่างไรและเพื่อให้เกิดอะไรซึ่งเมื่อถึงเวลาดังกล่าวจะดำเนินการสอนตามที่วางแผนไว้ผู้สอนจึงต้องคิดวางแผนและเตรียมการสอนล่วงหน้าอย่างละเอียด (บุญชม ศรีสะอาด 2537 : 43)
การจัดทำแผนการสอนมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกำหนดกรอบของกระบวนการเรียนรู้ (เนื้อหา และกิจกรรมการเรียนการสอน) และผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้น (พฤติกรรมหรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน)ซึ่งการนำแผนการสอนที่ได้จัดทำไว้แล้วอย่างรอบคอบและรัดกุมไปเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนในชั่วโมงเรียนนั้นย่อมจะส่งผลให้กระบวนการเรียนการสอนเป็นไปโดยราบรื่นมีประสิทธิภาพและที่สำคัญก็คือผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตรได้ตามกำหนดเวลา(ฝ่ายศึกษาโรงเรียนนายเรือ,2548 : 39)
3. วิธีสอน
วิธีสอนคือวิธีการต่างๆที่นำมาใช้ในการสอนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ซึ่งแต่ละวิธีมีองค์ประกอบ และขั้นตอนการดำเนินการที่มีลักษณะเด่นเป็นเอกลักษณ์นำไปสู่วัตถุประสงค์เฉพาะของวิธีนั้น(ทิศนาแขมมณี 2551 : 477)
เพื่อที่จะให้ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ คู่มือนี้ขอนำเสนอวิธีการสอนแบบอุปนัยซึ่งวิธีสอนแบนี้ผู้สอนมีบทบาทในการบอกเล่าความรู้น้อยที่สุดในขณะที่ผู้เรียนต้องทำกิจกรรมการเรียนการสอนแล้วใช้ทักษะต่างๆหลายอย่างประกอบกันจึงจะเกิดความรู้ความเข้าใจ แต่วิธีนี้มีข้อจำกัดคือผู้สอนต้องมีสื่อการสอนที่มีความหลากหลายพอที่จะให้ผู้เรียนสรุปหลักการออกมาได้ ผู้สอนจึงต้องใช้เวลามากในการค้นหาและรวบรวมสื่อการสอน
วิธีสอนแบบอุปนัย (Induction) คือ กระบวนการที่ผู้สอนช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยใช้สื่อการสอนที่มีความหลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนศึกษาแล้วดึงหลักการ แนวคิด ออกมาซึ่งผู้เรียนจะได้ใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ องค์ประกอบสำคัญของการสอนด้วยวิธีนี้ คือ
(1) มีผู้สอน ผู้เรียน
(2) มีตัวอย่าง ข้อมูล สถานการณ์ เหตุการณ์ บทความที่แสดงความคิดในลักษณะย่อยๆ
(3) มีการวิเคราะห์ตัวอย่างเพื่อดึงหลักการ
(4) มีข้อสรุปที่เป็นหลักการหรือแนวคิด
(5) มีผลการเรียนรู้ร่วมกัน
วิธีสอนแบบนี้จะได้ผลดีเมื่อผู้สอนสามารถหาตัวอย่างที่มีลักษณะย่อยๆ ของเรื่องที่เรียนและมีการตั้งคำถามที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการคิดวิเคราะห์
4.กิจกรรมการเรียนรู้หรือกิจกรรมการเรียนการสอน
กิจกรรมการเรียนรู้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะนำผู้เรียนไปสู่จุดหมายปลายทางที่ต้องการ การเลือกกิจกรรมการเรียนรู้จึงต้องพิจารณาให้รอบคอบ โดยยึดจุดประสงค์การเรียนรู้เป็นสำคัญ กล่าวคือ เลือกกิจกรรมที่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามจุดประสงค์การเรียนรู้นั้นๆ (บุญชม ศรีสะอาด 2537 : 39)
คำว่า”การเรียนรู้”หมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่นักศึกษาพัฒนาขึ้นในตนเองจากประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างการศึกษา(คณะกรรมการการอุดมศึกษา 2552 : 6 ) กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีผู้สอนควรกำหนดให้กิจกรรมมีความซับซ้อนเน้นเรื่องการใช้ความเข้าใจมากกว่าการจดจำเนื้อหามาตอบ มีกระบวนการเป็นขั้นตอนเพื่อฝึกการวางแผนเพื่อฝึกการคิด มีการค้นคว้าหาข้อมูลคัดเลือกข้อมูล มีการระดมสมองเพื่อแก้ปัญหาแบบบูรณาการ ฝึกการการอยู่ร่วมกัน การยอมรับซึ่งกันและกัน ฝึกเรื่องความรับผิดชอบ ผู้เรียนได้เรียนรู้จากเพื่อน จากสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการปรับปรุงแก้ไขงาน และความรู้เกิดจากประสบการณ์ของผู้เรียน
5.การตั้งคำถาม
การตั้งคำถามเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการสร้างกระบวนการคิดของผู้เรียน ผู้สอนต้องรู้จักคำถามประเภทต่างๆ เทคนิคการตั้งคำถาม การเรียนรู้ตามแนวคิดของบลูม (Bloom¢s Taxonomy) ได้แบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 6 ระดับ คือ ความเข้าใจ (Comprehend) การประยุกต์ (Application) การวิเคราะห์ (Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้ การสังเคราะห์ (Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่ การประเมินค่า (Evaluation) สามรถตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิดมีเกณฑ์ที่แน่ชัด คำถามทั้ง 6 ประเภทนี้จึงแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ คำถามระดับต่ำ และ คำถามระดับสูง
สำหรับประเภทของคำถาม ดร. วัฒนา ระงับทุกข์ ได้จำแนกประเภทไว้ ดังนี้
(1) คำถามระดับต่ำใช้สำหรับวัดความจำ ข้อมูล หลักการ ผู้สอนใช้ในการทบทวนความรู้พื้นฐานก่อนที่จะถามคำถามระดับสูง
(2) คำถามระดับสูง เป็นคำถามที่ต้องการวัดความสามารถในการแปลความหมายของความรู้ที่ได้เรียนไปแล้ว วัดความสามารถในการนำไปใช้ การคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การประเมินค่าช่วยให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดและการให้เหตุผล
(3) คำถามเกี่ยวกับผล กระบวนการ และความคิดเห็น เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบในรูปของการสรุปผลขั้นสุดท้าย สำหรับคำถามเกี่ยวกับกระบวนการจะทำให้ผู้เรียนต้องคิดและเรียบเรียงคำพูดเพื่ออธิบายถึงวิธีการ การจำแนกแยกแยะหรือขั้นตอนที่นำไปสู่ผลขั้นสุดท้าย คำถามเกี่ยวกับความคิดเห็น เป็นคำถามที่ต้องการให้ผู้เรียนแสดงความเห็น ตัดสินใจ หรือประเมินสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
(4) คำถามแบบปิดและแบบเปิด คำถามแบบปิดเป็นคำถามที่มีคำตอบเดียวมักใช้กับข้อมูลที่เป็นความจำ ส่วนคำถามแบบเปิด เป็นคำถามที่ให้คำตอบได้หลายอย่าง ใช้เพื่อการสร้างข้อมูล เพื่อให้เกิดการตอบสนองเฉพาะตัว และนำไปสู่การอภิปรายและการถามในชั้นต่อไป
ตารางต่อไปนี้แสดงตัวอย่างการตั้งคำถามแบบต่างๆ
ประเภทของคำถาม |
ตัวอย่างคำถาม |
วัดความรู้-ประเภทความจำ | ขยะแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง จงยกตัวอย่าง |
วัดความเข้าใจ | ขยะจำนวนมากๆ จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อประชาชน |
วัดการนำไปใช้-ประยุกต์ | จากหลักการกำจัดขยะที่ได้ศึกษาแล้วท่านจะนำไปใช้เพื่อแก้ปัญหาขยะในโรงเรียนของท่านอย่างไร |
วัดการวิเคราะห์ | จากข้อมูลเรื่องขยะ(จำนวนขยะ ประเภท และวัน เวลา สถานที่)ให้นักเรียนคิดว่าในโรงเรียนของเรามีขยะกี่ประเภท อะไรบ้าง |
สังเคราะห์ | 1.จากอุปกรณ์และสิ่งของที่กำหนดให้ จงนำมาทำเป็นเครื่องมือกำจัดขยะ
2.จากข้อปฏิบัติในการบริหารจดการขยะที่โรงเรียนมีอยู่และยึดถือปฏิบัติกันมา ท่านมีข้อเสนอในการเสนอแนวทางปฏิบัติใหม่ๆอย่างไรบ้าง ข้อเสนอแนะที่ตอบต้องแตกต่างไปจากของเดิม |
ประเมินค่า | จากแนวทางปฏิบัติเรื่องการบริหารจัดการเกี่ยวกับขยะที่โรเรียนนายเรือดำเนินการอยู่ท่านคิดว่ามีความเหมาะสมแล้วหรือยังมีข้อใดต้องแก้ไข(จงบอกพร้อมทั้งแสดงเหตุผล หลักกร |
6.วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม/จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
6.1วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม คือ พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้เรียนและ พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องเป็นพฤติกรรมที่ผู้สอนสามารถสังเกตได้และวัดได้ การเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมจะต้องสอดคล้องกับเนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผล (เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยวิธีการที่หลากหลาย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เป็นจุดประสงค์ที่กำหนดไว้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น และสามารถนำมาใช้เป็นข้อตกลงระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนว่าในการเรียนวิชานั้นๆผู้สอนหวังจะให้ผู้เรียนทำอะไรได้บ้าง หลังจากจบบทเรียนนั้น แล้ว จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมจึงเป็นจุดประสงค์ที่ต้องการให้นักเรียนแสดงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นหลังจากเรียนบทเรียนหนึ่งๆ ภายใต้เงื่อนไข และ เกณฑ์มาตรฐานที่กำหดไว้ ดังนั้นจุดประสงค์นี้จึงเป็นจุดประสงค์ที่ระบุถึงพฤติกรรมของผู้เรียนที่ผู้สอนสามารถสังเกตได้และวัดได้( เตือนใจ เกตุษา,สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์ 2542 : 38)
ทฤษฏีการเรียนรู้ของบลูม (Bloom¢s Taxonomy) แบ่งจุดประสงค์ของการเรียนรู้ออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านทักษะพิสัย และ ด้านเจตคติ และจัดระดับความรู้ด้านพุทธพิสัยไว้ 6 ระดับและจำแนกพฤติกรรมที่บ่งชี้การเรียนรู้ระดับต่างๆดังนี้
จุดประสงค์ด้านพุทธิพิสัย
การเรียนรู้ระดับ |
พฤติกรรมที่บ่งชี้ความรู้
(ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้) |
คำถาม |
1.ความจำ
(Knowledge ) |
บอก ระบุ ชี้ จำแนก รวบรวม ประมวล ให้ความหมาย เลือก | วัดความจำ |
2.ความเข้าใจ
(Comprehension) |
อธิบายโดยใช้คำพูดของผู้เรียน ขยายความ
ตีความ สรุป ย่อ คาดการณ์ ทำนาย ลงความเห็น แสดงความเห็น |
วัดความเข้าใจ |
3.การนำไปใช้
(Application) |
ประยุกต์ ปรับปรุง นำหลักการไปแก้ปัญหาได้ ทำ ปฏิบัติ แสดง | ประยุกต์ |
4.การวิเคราะห์
( Analysis) |
จำแนกแยกแยะ หาเหตุและผล หาความสัมพันธ์
หาหลักการ หาหลักฐาน หาข้ออ้างอิงสนับสนุน ตรวจสอบ จัดกลุ่ม ระบุ ชี้ |
ถามหาเหตุและผล องค์ประกอบ ความมุ่งหมาย รูปแบบ ระบบ โครงสร้าง วิธีกระบวนการ |
5.การสังเคราะห์
(Synthesis) |
เขียนบรรยาย อธิบาย เล่า เรียบเรียง สร้าง ประดิษฐ์ ดัดแปลง แก้ไข ออกแบบ ทำใหม่ ตั้งสมมติฐาน ทำนาย คิดริเริ่ม แจกแจงรายละเอียด แก้ไขปัญหา | ถามการศึกษาค้นคว้า ทฤษฎี หลักการ ส่วนประกอบ ความสัมพันธ์ แผนผัง แผนภูมิ แผนภาพ |
6.การประเมินผล(Evaluation) | วิพากษ์ วิจารณ์ ตัดสิน ประเมินค่า เกณฑ์ชี้วัด จัดอันดับ เปรียบเทียบ แสดงเหตุผล หาหลักฐาน | ข้อมูลข้อเท็จจริง มาตรฐาน เกณฑ์คุณภาพ ประสิทธิภาพ วิธีการ ประโยชน์ ความเชื่อมั่น ความคลาดเคลื่อน |
6.2 วิธีเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
การเขียนประโยคของวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมเขียนได้ 2 แบบตามโครงสร้างต่อไปนี้
แบบที่ 1 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ + พฤติกรรมที่คาดหวัง + เกณฑ์ความสามารถ/เงื่อนไข
แบบที่ 2 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ + คำที่แสดงพฤติกรรม + เกณฑ์ความสามารถ
ตัวอย่าง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบอก/อธิบายความหมายของคำว่าเงินเฟ้อได้อย่างถูกต้อง
เพื่อผู้เรียนสามารถคำนวณหาอัตราเงินเฟ้อเมื่อกำหนดข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภคมาให้
เพื่อผู้เรียนสามารถแปลความหมายของดัชนีราคาผู้บริโภคได้อย่างถูกต้อง
ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในการเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม คือ ผู้สอนใช้คำกริยาที่แสดงพฤติกรรมไม่ชัดเจน ไม่สามารถแสดงออกเป็นพฤติกรรมที่ชัดเจนได้
คำที่ห้ามใช้ในการเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม |
คำที่ใช้ในการเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม |
– ทราบถึง คุ้นเคยกัน รู้ซึ้งถึง รู้จัก – สนใจใน เห็นคุณค่า ตระหนัก – เคยชินกับ- ยอมรับใน – เชื่อถือใน- สำนึกในระลึกถึง มั่นใจ มีความรู้เกี่ยวกับ เข้าใจ
|
แสดง กระทำ ดำเนินการ ชั่ง ตวง วัด เลือก แก้ไข สาธิต ตัดสินใจ วิเคราะห์ วางแผน จำแนก จัดลำดับ ระบุ อธิบาย แก้ปัญหา ปรับปรุง พัฒนา ตรวจสอบ เปลี่ยนแปลง ดัดแปลง รวบรวม ค้นคว้า คำนวณวาดรูปภาพ เขียนแผนผัง นำตัวเลขที่กำหนดให้เขียนเส้นกราฟ สรุป อภิปราย
|
ข้อควรปฏิบัติ เมื่อเริ่มตั้งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมผู้สอนควรเริ่มต้นจากการวัดความจำ ความรู้ หลักการ ความเข้าใจ การนำไปใช้แล้วท้ายที่สุดคือการประเมินค่า
ตารางวิเคราะห์วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
เพื่อตรวจสอบว่าผู้สอนได้ตั้งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมในรับใดบ้าง ผู้สอนสามารถตรวจสอบกับตารางต่อไปนี้
วัตถุประสงค์
เชิงพฤติกรรม |
ความจำ | ความเข้าใจ | นำไปใช้ | วิเคราะห์ | สังเคราะห์ | ประเมินค่า |
1. | ||||||
2. | ||||||
3. | ||||||
4. | ||||||
5. |
6.3 ประโยชน์ของวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม /จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
(1) สามารถใช้บอกระดับการเรียนรู้ที่คาดหวัง เนื่องจากผู้สอนได้ระบุพฤติกรรมที่ต้องการให้ผู้เรียนได้แสดง เมื่อนำวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมตั้งแต่ข้อแรกจนถึงข้อสุดท้ายในแผนการสอนมาเรียงต่อกัน จะกลายเป็นเนื้อหาการเรียนการสอนประจำสัปดาห์
(2) สามารถใช้เป็นแนวทางกำหนดวิธีสอน ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ กำหนดสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน
(3) สามารถใช้เป็นแนวทางในการออกข้อสอบช่วยให้ผู้สอนออกข้อสอบได้ครอบคลุมเนื้อหาที่สอน
(4) สามารถใช้เป็นหลักในการเขียนบันทึกการสอน เพื่อให้ผู้สอนได้ตรวจสอบทบทวนแผนการสอนว่ามีสิ่งใดที่ต้องปรับปรุง แก้ไข สิ่งใดที่เหมาะสม ข้อสรุปทั้งหมดจะนำไปสู่การพัฒนาการเรียนการสอนต่อไปและบันทึกการสอนของผู้สอนทุกคนสามารถใช้เป็นแนวทางการพัฒนาของผู้บริหาร(วงจร PDCA)
(5) ประโยชน์ของการกำหนดจุดประสงค์ในเชิงพฤติกรรมนี้นอกจากจะช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนเข้าใจจุดมุ่งหมายปลายทางได้ตรงกันแล้วยังช่วยให้ผู้สอนคนอื่นๆที่สอนวิชาเดียวกันสามารถสอนให้ได้ผลใกล้เคียงมากที่สุด(เตือนใจ เกตุษาและสุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์, การประเมินผลการศึกษา. 2542 : 38)
7.การคิดวิเคราะห์
7.1.ความหมายของการคิดวิเคราะห์ ดร.สุวิทย์ มูลคำ ได้อธิบายความหมายของคำว่าการวิเคราะห์และการคิดวิเคราะห์ไว้ดังนี้ การวิเคราะห์ (Analysis) หมายถึง การจำแนกแยกแยะองค์ประกอบของสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกเป็นส่วนๆ เพื่อค้นหาว่ามีองค์ประกอบย่อยๆอะไรบ้างทำมาจากอะไรประกอบขึ้นมาอย่างไร และ มีความเชื่อม โยงสัมพันธ์กันอย่างไร ส่วนคำว่า การคิดวิเคราะห์ หมายถึงความสามารถในการจำแนก แยกแยะองค์ประกอบต่างๆของสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งอาจจะเป็นวัตถุสิ่งของเรื่องราวหรือเหตุการณ์และหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างองค์ประกอบ เหล่านั้นเพื่อค้นหาสภาพความเป็นจริงหรือสิ่งสำคัญที่กำหนดให้(สุวิทย์ มูลคำ.2547: 9)
7.2 ลักษณะของการคิดวิเคราะห์ ดร.สุวิทย์ มูลคำ ได้แบ่ง ลักษณะของการคิดวิเคราะห์ ออกเป็น 3 ลักษณะดังนี้
(1) การวิเคราะห์ส่วนประกอบ เป็นการจำแนก แบ่งแยกส่วนประกอบของสิ่งที่กำลังศึกษา เช่น พืชแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ราก ใบ และดอก
(2) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ เป็นการหาความเกี่ยวข้องกันระหว่างสิ่งที่กำลังศึกษาตั้งแต่สองส่งขึ้นไป ดร.สุวิทย์ มูลคำได้แบ่งความสัมพันธ์ออกเป็น 14 ประเภท ประกอบด้วย ความคล้ายคลึง ความขัดแย้ง การทำนาย ความเป็นลำดับย่อย ความเป็นลำดับที่แสดงลำดับที่สูงกว่า ความเป็นสมาชิก ความสัมพันธ์ที่เติมเต็มซึ่งกันและกัน ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อย-ส่วนรวม ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนรวม-ส่วนย่อย ความสัมพันธ์ที่แสดงความเท่าเทียมกัน ความสัมพันธ์เชิงปฏิเสธ ความสัมพันธ์ของการใช้คำ ความสัมพันธ์ด้านคุณสมบัติ และความสัมพันธ์เชิงเหตุผลแบบสรุปความ
(3) การวิเคราะห์หลักการเป็นการหาความเกี่ยวข้องกันระหว่างสิ่งที่กำลังศึกษาโดยต้องการทราบว่าสิ่งที่เรากำลังศึกษานั้นสัมพันธ์กันโดยอาศัยหลักการใด
7.3 กระบวนการคิดวิเคราะห์ ดร.สุวิทย์ มูลคำ ได้อธิบายกระบวนการคิดวิเคราะห์ว่า ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอน |
รายละเอียด |
1.กำหนดสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์ | รู้ว่าขณะนี้กำลังศึกษาสิ่งใด เรื่องใด |
2.กำหนดปัญหาหรือวัตถุประสงค์ | รู้ว่ากำลังสงสัยสิ่งใด สามารถแปลงเป็นคำถาม เรื่องที่ต้องค้นหาคำตอบ |
3.กำหนดหลักการหรือกฎเกณฑ์ | นำสิ่งที่สงสัยมาแยกองค์ประกอบ |
4.พิจารณาแยกแยะ | ใช้เครื่องมือแยกแยะส่วนประกอบ อาทิ คำถาม5W+1H การแจกแจงประเด็นหรือส่วนประกอบออกมาเป็นตารางเพื่อค้นหาความสัมพันธ์ |
5.สรุปคำตอบ | รวบรวมประเด็นสำคัญมาพิจารณา ตอบด้วยคำบรรยาย แสดงด้วยแผนผัง
รูปแผนภูมิ |
7.4 เทคนิคช่วยการคิดวิเคราะห์ เพื่อที่จะให้ผู้เรียนสามารถจำแนก แยกย่อยส่วนประกอบต่างๆได้ ผู้สอนจัดกิจกรรมต่อไปนี้เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์
(1) แผนผังความคิดรวยอด ( Concept Map) ใช้บอกความสัมพันธ์แบบลำดับ การแบ่งกลุ่ม
(2) แผนผังตารางเปรียบเทียบ(Compare Table Map) ใช้เปรียบเทียบสองสิ่งในประเด็นที่กำหนด
(3) แผนผังก้างปลา( Fishbone map) ผู้คิดค้น คือ ศาสตรจารย์คาโอรุ อิชิกาวา เมื่อปี ค.ศ.1943 หรือแผนผังสาเหตุและผล( Cause and Effect diagram)ใช้เมื่อต้องการค้นหาสาเหตุของปัญหา วิธีใช้ให้เขียนปัญหาไว้ที่หัวปลา และใส่ชื่อปัจจัยต่างๆที่เป็นส่วนประกอบของปัญหา เพื่อฝึกให้นักเรียนได้จัดหมวดหมู่ จัดกลุ่มของสิ่งที่วิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญ
(4) แผนผังวงจร( Circle Map) ช่วยให้ผู้เรียนได้เห็นเหตุการณ์เกิดขึ้นตามลำดับ
(5) แผนผังตนไม้(Tree Diagram) ใช้ในการหาหนทาง/วิธีแก้ปัญหา ใช้ประกอบการตัดสินใจหรือประเมินทางเลือก
(6) แผนผังรูปวงกลมทับเหลื่อม (Over lapping circles map)
บทที่ 3
ขั้นตอนการสร้างกิจกรรมการเรียนการสอน
1.จุดมุ่งหมายของการสร้างกิจกรรมการเรียนการสอน
เพื่อให้ผู้เรียนสามรถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยกระบวนการเรียนรู้เกิดจากประสามสัมผัสและช่องทางการสื่อสารต่างๆ อาทิ การฟัง การอ่าน การซักถาม การตอบคำถาม การทดลองการพูดคุย การรับฟังความคิดเห็นจากเพื่อนๆ ซึงจะนำไปสู่ทักษะการคิดแบบต่างๆ
2.คุณลักษณะของกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีปะสิทธิผล
1.สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหา สามารถสร้างความรู้ความคิดให้แก่ผู้เรียนได้
2.สามารถสร้างทักษะและกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้โดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้และผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการทำกิจกรรม สามารถสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง
3.เหมาะสมกับระดับการศึกษา วัย เวลา เนื้อหาการเรียนการสอน
4.เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนได้เป็นผู้ค้นพบความรู้มีปฏิสัมพันธ์กลุ่มมีส่วนร่วมในการประเมินผลการเรียนรู้
3.การสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อสร้างกระบนการคิด
การสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์ ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 วางแผนการสอน โดยตอบคำถามว่าจะสอนอะไร กำหนดเนื้อหาที่จะสอนออกเป็นข้อย่อยๆ ความยาวของเนื้อหาต้องเหมาะสมกับเวลา นำไปกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม โดยวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมต้องเรียงลำดับจากระดับความจำ ความรู้ในหลักการ การนำไปใช้ จนถึงท้ายสุดคือการตัดสินคุณค่า ต่อจากนั้นสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการตั้งคำถามจากวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม และผู้สอนต้องกำหนดให้ผู้เรียนทำกิจกรรมที่ครอบคลุม 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ทักษะพิสัยและเจตคติ
ขั้นที่ 2 กำหนดวิธีสอน ซึ่งประกอบด้วย องค์ประกอบการสอน วัตถุประสงค์การสอน และขั้นตอนการสอน โดยในขั้นตอนการสอนจะต้องมีกิจกรรมการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์
ขั้นที่ 3 ขั้นตรวจสอบผลการสอน/การทำกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้สอนต้องมีทั้งแบบทดสอบวัดความรู้ แบบสังเกตพฤติกรรม และให้ผู้เรียนได้ประเมินตนเองโดยใช้แบบประเมินตนเอง
ภาพ แสดงวิธีการสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์โดยประยุกต์จาก 3 คำถามของ ดร.วัฒนาพร ระงับทุกข์ กับวิธีสอนแบบอุปนัย
จากภาพจะเห็นว่าผู้สอนต้องรู้จักวิธีสอนซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ องค์ประกอบการสอน วัตถุประสงค์การสอน และขั้นตอนการสอน ในภาพต่อไปจะแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของวิธีสอนกับกิจกรรมการเรียนการสอน
บทที่4
ตัวอย่าง
1.ตัวอย่างการเขียนแผนการสอนประจำสัปดาห์ แสดงในรูปของแผนผังดังนี้
สื่อการสอน ที่ 1-บทความที่ใช้เป็นสื่อการสอนเรื่องเงินเฟ้อ ความหมายและหลักการของเงินเฟ้อ
(เอกสารประกอบการสอน โดย น.ท.หญิงดวงกมล พิชิตชโลธร )
เงินเฟ้อ(Inflation)
1.ความหมายของเงินเฟ้อ
เงินเฟ้อ (inflation) หมายถึงภาวะที่”ระดับราคาของสินค้าและบริการโดยทั่วไป“มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นการสูงขึ้นของระดับราคาในเกือบทุกหมวดของสินค้าและบริการ ทำให้ “อำนาจซื้อของเงิน“ที่อยู่ในมือของประชาชนลดลง คำว่า” อำนาจซื้อ” หมายถึง เงินจำนวน 1 หน่วย มีค่าลดลง หรือ เงินจำนวนเท่าเดิมใช้จับจ่ายซื้อหาสินค้าและบริการได้ในปริมาณที่น้อยลง ส่งผลกระทบต่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนทำให้ยากจนลง
¯
ตัวอย่าง นาย A ได้รับค่าจ้างวันละ 100 บาท (รายได้ 100 บาทเรียกว่า Money Income) เขาจะซื้อส้มราคา ก.ก.ละ 20 บาท ได้จำนวน 5 ก.ก. แต่ถ้าส้มมีราคาสูงขึ้นเป็น ก.ก.ละ 25 บาท เขาจะซื้อส้มได้ 4 ก.ก.
ส้มคือ รายได้แท้จริงซึ่งเราจะเรียกว่า Real Income เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อระดับราคาสินค้าสูงขึ้น
รายได้แท้จริงจะลดลง คำว่ารายได้แท้จริงลดลงจึงมีความหมายว่าอำนาจซื้อของเงินลดลงนั่นเอง
ภาวะเงินเฟ้อเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงระดับราคาสินค้าและบริการ ซึ่งดูได้จากตัวเลข ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) ดัชนีราคาผู้บริโภค จึงเป็นเครื่องวัดราคาขายปลีกของสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจ ในช่วงเวลาหนึ่งโดยเปรียบเทียบกับอีกช่วงเวลาหนึ่ง ตัวอย่าง เมื่อปี พ.ศ. 2535 ดัชนีราคาผู้บริโภคที่คำนวณได้เท่ากับ 100 พ.ศ. 2536 ดัชนีราคาผู้บริโภคเท่ากับ 105 หมายความว่า สินค้าชนิดหนึ่งเมื่อปี 2535 ราคา 100 บาท เมื่อขายในในปี 2536 จะมีราคา 105 บาท ถ้าถามว่าสินค้านี้มีราคาสูงขึ้นร้อยละเท่าไร คำตอบก็คือ สินค้ามีราคาสูงขึ้นร้อยละ 5 การนำดัชนีราคาผู้บริโภคมาหาคำนวณหาอัตราการเปลี่ยนแปลง คำตอบที่ได้ คือ อัตราเงินเฟ้อ (Inflation Rate)
2.ลักษณะของเงินเฟ้อ ในทางเศรษฐศาสตร์ เราแบ่งลักษณะของเงินเฟ้อออกเป็น 3 ระดับ คือ
2.1 ภาวะเงินเฟ้ออย่างอ่อน (mild inflation) หมายถึงภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปสูงขึ้นไม่เกิน 5% ต่อปี ภาวะเงินเฟ้อระดับนี้จะเป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม เนื่องจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าและบริการ แต่เพียงเล็กน้อยจะเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบเพิ่มการลงทุนในการผลิตสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น (ได้กำไรสูงขึ้น) เมื่อมีการลงทุนมากขึ้นก็จะทำให้การจ้างงานเพิ่มขึ้น ประชาชนมีรายได้เพื่อจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
2.2 ภาวะเงินเฟ้อปานกลาง (moderate inflation) หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปสูงขึ้นเกินกว่า 5% แต่ไม่เกิน 20% ต่อปี ภาวะเช่นนี้ทำให้ประชาชนเดือดร้อน เนื่องจากค่าครองชีพสูงขึ้นโดยที่รายได้เพิ่ม ตามไม่ทันกับรายจ่าย ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะทางเศรษฐกิจ เลวลง (รายได้ที่แท้จริงลดลง)
2.3 ภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง (hyper inflation) หมายถึงภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปสูงขึ้นเกินกว่า 20% เป็นสภาพที่เกิดขึ้นในฉับพลันทันที เนื่องจากราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลาสั้นๆ ประชาชน ประสบกับความเดือดร้อนมาก เงินที่ถืออยู่ในมือมีค่าลดลงทุกวันจนอาจจะไม่มีค่าเลยอีกต่อไป ภาวะแบบนี้ โดยมากจะเกิดขึ้นในระยะที่เกิดสงคราม จลาจล หรือเกิดภัยพิบัติต่างๆ อาทิ เงินเฟ้อที่ประเทศเยอรมันหลัง สงครามโลกที่สอง หรือภาวะ เงินเฟ้อที่ประเทศซิมบับเว เมื่อเงินไม่สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนได้ ประชาชนต่างพากันทิ้งเงินแล้วใช้ระบบสิ่งของแลกเปลี่ยนกันเอง เรียกว่า ระบบ Barter System
3.สาเหตุของเงินเฟ้อ 2 สาเหตุ
สาเหตุที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อมาจากสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ สาเหตุที่มาจากทางด้านอุปสงค์ และสาเหตุที่มาจากทางด้านอุปทาน แต่อุปสงค์และอุปทานที่กล่าวถึงนี้จะเป็นอุปสงค์และอุปทานมวลรวมของประเทศ อุปสงค์มวลรวม (aggregate demand: AD) หมายถึงความต้องการใช้จ่ายรวมของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งคำนวณจากผลรวมของค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของครัวเรือน (C) + ค่าใช้จ่ายในการลงทุนของภาคธุรกิจ (I) + ค่าใช้จ่ายของรัฐบาล (G) + สินค้าส่งออกนำเข้าสุทธิ (X – M) ส่วนคำว่าอุปทานมวลรวม (Aggregate Supply : AS) หมายถึงปริมาณของสินค้าและบริการทั้งหมดที่ ระบบเศรษฐกิจนั้นผลิตขึ้นมาได้ในขณะใดขณะหนึ่ง โดยมีสมมติฐานว่าผู้ผลิตจะผลิตสินค้าและบริการเท่ากับความต้องการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนพอดี
(ก) สาเหตุทางด้านอุปสงค์(demand pull inflation)
หมายถึงภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากอุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้นมากกว่าอุปทานมวลรวมของระบบเศรษฐกิจ ถ้าระบบเศรษฐกิจอยู่ใกล้จุดที่มีการจ้างงานเต็มที่ (full employment) แปลว่าการใช้ทรัพยากรต่างๆที่มีอยู่อย่างเต็มกำลังการผลิต( ไม่มีปัจจัยการผลิตเหลือพอที่จะทำการผลิตเพิ่ม) จากผลของการที่อุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้นโดยที่อุปทานมวลรวมของระบบเศรษฐกิจเพิ่มตามไม่ทันทำให้ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปมีแนวโน้มสูงขึ้น ก่อให้เกิดเงินเฟ้อขึ้นในที่สุดรายได้แท้จริงลดลง
ภาพแสดงการเปลี่ยนแปลงของภาวะดุลยภาพในระบบเศรษฐกิจมหภาค เมื่อระบบเศรษฐกิจมีการจ้างงานเต็มที่
จากภาพ เดิมระบบเศรษฐกิจอยู่ที่จุด E ระดับการใช้จ่ายอยู่ที่ AD0 รายได้ประชาชาติของประเทศอยู่ที่ Y0 ต่อมาอุปสงค์มวลรวมในระบบเศรษฐกิจสูงขึ้นเป็น AD1 จุดดุลยภาพอยู่ที่ E1 รายได้ประชาชาติของประเทศอยู่ที่ Yf
ต่อมาอุปสงค์มวลรวมในระบบเศรษฐกิจสูงขึ้นเป็น AD2 จุดดุลยภาพอยู่ที่ 2 รายได้ประชาชาติของประเทศอยู่ที่ Yf ผลจากการใช้ทรัพยากรการผลิตที่เต็มที่ทำให้ราคาปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้น ต้นทุนการผลิตเพิ่ม ราคาสินค้าและบริการปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ประชาชนใช้จ่ายเงินมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงดุลยภาพของระบบเศรษฐกิจจาก
เป็นภาวะที่เกิดเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ การที่อุปสงค์มวลรวมในระบบเศรษฐกิจสูงขึ้นเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้
1.สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อในปริมาณมากและหรืออัตราดอกเบี้ยสินเชื่ออยู่ในอัตราต่ำส่งผลให้อุปสงคมวลรวมเพิ่มขึ้น การจับจ่ายใช้สอยที่เพิ่มขึ้น ระดับราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น
2.ภาวะที่เกิด สงครามเป็นระยะเวลานานๆ อุปสงค์ในสินค้าจำเป็นบางอย่างจะเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ ได้แก่ อาหาร ยารักษาโรค ฯลฯ ภาวะสินค้าขาดแคลน (shortage)
3.การใช้จ่ายของภาครัฐบาล เช่นการใช้นโยบายขาดดุล รายจ่ายงบประมาณสูง ส่งผลให้อุปสงค์มวลรวมเพิ่มมากกว่าอุปทานมวลรวม(สินค้าที่เสนอขายในระบบเศรษฐกิจ)ส่งผลให้ระดับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น
4.รายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้น ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นส่งผลให้อุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น การจับจ่ายใช้สอยที่เพิ่มขึ้น ระดับราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น
(ข)สาเหตุทางด้านอุปทาน(Cost Push Inflation)
หมายถึงภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากต้นทุนการผลิตของผู้ผลิต/ผู้ประกอบการสูงขึ้น ซึ่งอาจจะเกิดจากค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้น (wage push inflation) อันเนื่องจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เมื่อต้นทุนการผลิตสูงขึ้น( Cost )ผู้ผลิตและผู้ประกอบการจะผลักภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปให้กับผู้บริโภคเป็นผู้รับผิดชอบ ทำให้ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถ้าผู้ผลิตอยู่ในตลาดผูกขาดและต้องการจะมีกำไรเพิ่มขึ้นเขาจะลดปริมาณการผลิตลง (ผูกขาดตลาด) เพื่อให้อุปทานในสินค้าและบริการของตลาดลดลง กลายเป็นแรงแรงกดดันให้เกิดเงินเฟ้อขึ้นได้เนื่องจากเกิดการขาดแคลนของสินค้าและบริการขึ้นมาในระบบเศรษฐกิจ ทั้งที่อุปสงค์มวลรวมไม่ได้เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด เราเรียกแรงกดดันเงินเฟ้อดังกล่าวว่า Profit push inflation or mark up inflation
4.ผลกระทบของเงินเฟ้อ
1.ผลที่มีต่อความต้องการถือเงิน เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อจะทำให้อำนาจซื้อของเงินที่อยู่ในมือของประชาชนลดลง ทั้งนี้ เพราะเงินจำนวนเดิมสามารถใช้จับจ่ายซื้อของได้ในปริมาณที่น้อยลง และเนื่องจากแต่ละบุคคลจะพยายามรักษาระดับการบริโภคของตนให้อยู่ในระดับเดิม ทำให้ประชาชน มีความต้องการถือเงินเพิ่มขึ้นเพื่อให้พอเพียงกับระดับการใช้จ่ายหรือการบริโภคของแต่ละบุคคล ซึ่งความต้องการดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับขนาดของเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น
2.มาตรฐานการครองชีพของประชาชน ในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำหรือถดถอยประชาชนจะได้รับความเดือดร้อนประชาชนมีรายได้(ตัวเงิน)เท่าเดิมแต่รายได้ที่แท้จริงลดลงจึงต้องลดค่าใช้จ่ายในการบริโภคลง ตัวอย่างที่ประเทศซิมบับเว ประชาชนต่างพากันทิ้งธนบัตรเพราะไม่สามารถใช้ซื้อสินค้าได้(เงินเสื่อมค่า)
3.ผลที่มีต่อเจ้าหนี้และลูกหนี้ เมื่อเกิดเงินเฟ้อ เจ้าหนี้จะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เนื่องจากเงินที่ได้รับชำระหนี้ในปัจจุบันหรืออนาคตจะมีอำนาจซื้อลดลง เมื่อเทียบกับในขณะที่ให้กู้ยืมไป ตรงกันข้าม ลูกหนี้จะเป็นฝ่ายได้เปรียบเนื่องจากเงินที่ได้รับไปขณะกู้ยืมมีอำนาจซื้อสูงกว่า โดยเปรียบเทียบ กับเงินที่จะใช้ชำระหนี้ในอนาคต
4.ผลที่มีต่อระดับการผลิตและการลงทุนของประเทศ ขึ้นอยู่กับว่าภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นอยู่ในระดับมากน้อยเพียงใด กล่าวคือ ถ้าเป็นเงินเฟ้ออย่างอ่อนจะเป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม นั่นคือ เงินเฟ้อจะช่วยกระตุ้นให้ผู้ผลิตลงทุนเพื่อการผลิตเพิ่มขึ้น ทำให้ผลผลิตรวมของประเทศสูงขึ้น แต่ถ้าเงินเฟ้อที่ค่อนข้างรุนแรงหรือรุนแรงมากแล้ว นอกจากจะไม่เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม แล้ว ยังก่อให้เกิดผลเสียอีกด้วย กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าและบริการสูงขึ้นมากกว่ากำลังซื้อของประชาชน ที่มีอยู่ จะทำให้ผลผลิตที่ผลิตขึ้นมาแล้วไม่สามารถขายได้ เนื่องจากประชาชนไม่มีกำลังซื้อเพียงพอ ในที่สุดจะส่งผลให้ผู้ผลิตลดการลงทุน ทำให้ผลผลิตรวมของประเทศลดลง ประชาชนมีรายได้น้อยลง
5.ผลที่มีต่อดุลการค้า ดุลการชำระเงิน เมื่อเกิดเงินเฟ้อ ราคาสินค้าในประเทศมีแนวโน้ม สูงขึ้นเมื่อเทียบกับในต่างประเทศ ทำให้สินค้าที่ส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศมีราคาแพงขึ้น เป็นผลให้ขายสินค้าให้ต่างประเทศได้น้อยลง ตรงกันข้าม จะมีการสั่งซื้อสินค้าเข้าจากต่างประเทศมากขึ้น( เพราะว่าตนทุนการผลิตภายในประเทศสูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆแล้วสินค้าต่างประเทศมีราคาต่ำกว่า) ส่งผลกระทบต่อฐานะดุลการค้า ดุลการชำระเงินของประเทศ
สื่อการสอน ที่ 2 -บทความที่ใช้เป็นสื่อการสอนเรื่องเงินเฟ้อ-แสดงผลกระทบของเงินเฟ้อต่อระบบเศรษฐกิจ
เงินเฟ้อน่ากลัวจริงหรือ ?
โดย : ไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน
แบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ยสกัดเงินเฟ้อ เอกชนบ่นต้นทุนเพิ่ม ค่าครองชีพสูง
พาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์รายวันข้างต้นทำให้น่าสงสัยว่า ทำไมแบงก์ชาติจึงต้องทำในสิ่งที่คนส่วนใหญ่เขาไม่ชอบด้วย เศรษฐกิจดี แบงก์ชาติจะกลัวอะไรกับเงินเฟ้อ อุปมาดั่งปาร์ตี้กำลังสนุก แบงก์ชาติเคาะแก้วแล้วบอกว่างานเลิกแล้ว … คนไทยไม่เคยหอบเงินใส่กระสอบไปจ่ายตลาด แต่คนเยอรมันหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ซื้อขนมปังตอนเย็นแพงกว่าที่ซื้อตอนกลางวันและตอนเช้า ท่านลองจินตนาการดูว่าในเช้าวันรุ่งขึ้น คนเยอรมันในยุคนั้นจะรู้สึกอย่างไร สถานการณ์ทำนองนี้ยังไม่เคยเกิดขึ้นในบ้านเรา คนไทยจึงอาจเห็นผลเสียของการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาสินค้าหรือที่เรียกว่าเงินเฟ้อไม่ชัดเจนนัก ดังนั้น ในบทความนี้ ผมจะพยายามอธิบายว่า เงินเฟ้อที่สูงๆ เลวร้ายอย่างไรทั้งต่อตัวเราและต่อเศรษฐกิจของประเทศ เงินเฟ้อที่กล่าวข้างต้น ถ้าจะว่าตามหลักวิชา ต้องเรียกว่าภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นภาวะที่ราคาสินค้า บริการ ค่าเช่า และ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ประชาชนทั่วไปต้องบริโภคสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง คำถามที่ตามมา คือ แล้วเงินเฟ้อสูงเลวร้ายอย่างไร
ผลเสียประการแรก ก็คือ เงินในกระเป๋าของทุกคนมีค่าน้อยลงเช่นคนเยอรมันยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 1ที่มีเงินพอซื้อขนมปังตอนเช้าได้พอดีตกเวลาบ่ายซื้อขนมปังไม่ได้แล้ว
ประการที่สอง คือ เงินเฟ้อเพิ่มความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำในสังคมให้มากขึ้น เพราะคนที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดคงหนีไม่พ้น คนที่ไม่มีอำนาจต่อรองให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งไม่เฉพาะแต่คนที่มีรายได้น้อยเท่านั้น ยังรวมถึงคนที่บากบั่นขยันหมั่นเพียรเก็บหอมรอบริบจนมีเงินออมฝากไว้กับธนาคาร เพราะในที่สุดแล้วเงินออมนั้นจะมีค่าเหลือนิดเดียวหากเงินเฟ้อสูงมากๆ แต่ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่ใช้จ่ายเกินตัว จนเป็นหนี้ กลับได้รับประโยชน์ จากค่าเงินที่ลดลง เพราะแม้เขาต้องใช้หนี้เงินต้นรวมกับดอกเบี้ยแล้ว ค่าของเงินตอนที่ใช้หนี้ก็ยังน้อยกว่าค่าของเงินตอนที่เขากู้มาข้อเสียอันนี้ยังเกี่ยวโยงไปถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของภาครัฐด้วย ภาครัฐที่ใช้จ่ายเกินตัวและเกินระดับที่เหมาะสม ผลที่ตามมา คือ เกิดภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนก็คงหนีไม่พ้นประชาชนเพราะภาระที่เพิ่มขึ้นจากเงินเฟ้อทำให้ประชาชนต้องใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อบริโภคเท่าเดิม เปรียบ เสมือนต้องเสียภาษี จึงเรียกกันว่า “ภาษีเงินเฟ้อ” ซึ่งเลวร้ายกว่าภาษีอื่นๆ เพราะเก็บแบบไม่บอกกล่าว เดาสุ่ม และที่แย่สุด คือ พวกไม่มีอำนาจต่อรองให้ทันกับเงินเฟ้อซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อยต้องรับภาระมากที่สุด
ประการที่สาม คือ เงินเฟ้อสูงๆทำให้ความเสี่ยงในการทำธุรกิจสูงขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตกำหนดราคาขายได้ยาก เพราะคาดการณ์กำลังซื้อของลูกค้าไม่ได้ การวางแผนการผลิตและการลงทุนก็ทำได้ยาก เพราะต้นทุนต่างๆ ทั้งราคาวัตถุดิบ ค่าแรง ค่าเช่า ดอกเบี้ย สูงขึ้นพรวดพราด ถือเป็นการทำลายบรรยากาศการลงทุนในประเทศ เมื่อการลงทุนใหม่ๆไม่เกิดขึ้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและศักยภาพการแข่งขันของประเทศทำได้ยาก
ประการที่สี่ ถ้าเงินเฟ้อของไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่ง ต้นทุนการผลิตและราคาสินค้าของไทยย่อมสูงกว่า ทำให้ขายของแข่งกับประเทศอื่นไม่ได้ กระทบกับการส่งออก เศรษฐกิจก็มีปัญหา นักลงทุนต่างชาติที่คิดจะเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานในไทยคงเลือกที่จะไปตั้งฐานการผลิตในประเทศที่มีต้นทุนต่ำและคงที่มากกว่าแน่นอน
ประการที่ห้า คือ เงินเฟ้อมักมีพลังขับเคลื่อนตัวเองให้สูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะเมื่อของแพง ต้นทุนการผลิตก็สูงขึ้น ผู้ผลิตก็ต้องปรับราคาสินค้า ลูกจ้างก็เรียกร้องค่าจ้างเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตก็บอกค่าจ้างแพง ปรับราคาอีก เป็นวงจร เรียกว่า Wage-price spiral ซึ่งจะทำลายความมั่งคั่งของประชาชนและเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจของประเทศ
ผลเสียประเด็นสุดท้าย ที่อยากเน้น คือ เงินเฟ้อเป็นตัวทำลายทั้งบรรยากาศการออม การค้า และการลงทุน ดังนั้น ผู้รับผิดชอบนโยบายเศรษฐกิจของประเทศจึงต้องตระหนักอยู่เสมอ ว่า มาตรการที่มุ่งกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างรวดเร็วเกินธรรมชาติในระยะสั้นนั้น คงไม่ได้ผลที่จีรัง แต่กลับจะมีผลร้ายหากเกิดเงินเฟ้อ ซึ่งมีผลบั่นทอนความกินดีอยู่ดีของประชาชนและทำลายศักยภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว
การดูแลเงินเฟ้อถือเป็นพันธกิจสำคัญของธนาคารกลางทั่วโลก โดยเครื่องมือหลักที่ธนาคารกลางส่วนใหญ่ใช้ดูแลเงินเฟ้อ คือ อัตราดอกเบี้ย จริงอยู่ การขึ้นดอกเบี้ยเป็นการเพิ่มต้นทุนแก่ผู้กู้ในระยะสั้น แต่ถ้าไม่ขึ้นดอกเบี้ยและปล่อยให้เงินเฟ้อสูงจนควบคุมไม่อยู่ ผลเสียที่ตามมาในระยะยาวจะสูงกว่าภาระดอกเบี้ยในระยะสั้นมาก แม้แต่ธุรกิจก็ต้องเดือดร้อน เพราะหากเงินเฟ้อสูงสัก 20% ในอนาคตท่านก็ต้องกู้มาลงทุนในอัตราที่ไม่ต่ำกว่า20% หากทางการรักษาเงินเฟ้อให้ต่ำได้ในระยะยาวต้นทุนการกู้ยืมก็จะถูกลงมาด้วย
สุดท้ายนี้ผมขอฝากไว้ว่าเงินเฟ้อต่ำเป็นหัวใจสำคัญต่อการเติบโตของประเทศในระยะยาวก็จริง แต่เงินเฟ้อต่ำเพียงอย่างเดียวคงไม่พอที่จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้แต่เรายังต้องอาศัยหัวใจสำคัญ คือการพัฒนาความ สามารถในการแข่งขันของเอกชน และการจัดโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอและมีคุณภาพจากภาครัฐควบคู่กันไป
บทความนี้ เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย
สื่อการสอน ที่ 3 -บทความที่ใช้เป็นสื่อการสอนเรื่องเงินเฟ้อ-แสดงผลกระทบของเงินเฟ้อแบบรุนแรง
จ่ายค่าหมอด้วยถั่ว
โดยวีรกรตรีเศศ คอลัมน์อาหารสมองในมติชนสุดสัปดาห์ ออนไลน์
ฉบับวันศุกร์ที่ 07 มกราคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 31 ฉบับที่ 1586 หน้า 42
คนไข้มานั่งคอยรับบริการแพทย์กันแน่นโรงพยาบาล บ้างก็อุ้มไก่ อุ้มหมู แบกถุงธัญพืชนานาชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถั่วลิสงเพื่อเอามาจ่ายเป็นค่าหมอและยาที่กล่าวมานี้ ไม่ใช่ฉากในภาพยนตร์ หากเป็นเรื่องจริงที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศ Zimbabwe ในแอฟริกาทำไมจึงไม่ใช้เงินสดจ่าย ลองตามมาดูกันว่าเหตุใดจึงทำอะไรประหลาดเช่นนี้
Zimbabwe มีพลเมือง12.5 ล้านคนมีพื้นที่เกือบ 400,000 ตารางกิโลเมตรเกือบเท่าไทยที่มีพื้นที่ 500,000ตารางกิโลเมตรเดิมชื่อประเทศโรดีเซีย(Rhodesia)มีประวัติความเป็นคล้าประเทศแอฟริกาใต้ที่เป็นเพื่อนบ้าน คือเป็นบริเวณที่คนขาว(คนอังกฤษส่วนใหญ่) มาตั้งรกรากทำมาหากินในดินแดนคนผิวดำและก็ตั้งขึ้นมาเป็นประเทศเสียเลย โดยเป็นอาณานิคมของอังกฤษตั้งแต่ค.ศ.1888 จนได้รับเอกราชในปี 1965 และเปลี่ยนชื่อเป็น Zimbabwe ในปี 1979 ประวัติศาสตร์ของ Zimbabwe เต็มไปด้วยการต่อสู้แย่งชิงผลประโยชน์ระหว่างคนขาว การต่อสู้เพื่อเอกราชจากคนขาวด้วยกันเองการต่อสู้ระหว่างคนขาวและระหว่างคนพื้นเมืองดั้งเดิมในช่วงปี 1965-1979 คนขาวครองอำนาจโดยนาย Ian Smith เป็นผู้นำสำคัญ เมื่อกระแสในเรื่องสิทธิมนุษยชนมาแรงในโลก การเลือกตั้งก็เกิดขึ้นในปี 1979 โดยคนดำชนะเลือกตั้งท่ามกลางสงครามกลางเมืองที่คุกรุ่นมาตลอด นาย Mugabe คือผู้ชนะเลือกตั้งอย่างถล่มทลายครั้งนั้นและครองอำนาจยาวนาน 28 ปีเมื่อเริ่มต้นก็เป็นนักการเมืองที่ดีและกลายเป็นผู้ร้ายในที่สุดฆ่าฟันฝ่ายตรงข้ามคอร์รัปชั่นมโหฬารสนใจแต่การครองอำนาจไม่ใส่ใจความกินดีอยู่ดีของประชาชน ในปี 2008 มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี มีคู่แข่งสำคัญ 3 คน ผลการลงคะแนนปรากฏว่านาย Tsvangirai มีคะแนนนำนาย Mugabe มาก แต่เมื่อรัฐบาลนำคะแนนไปนับใหม่ นาย Mugabe ก็ชนะเกิดการขัดแย้งกันหนัก ในที่สุด ก็ประนี-ประนอมให้นายMugageเป็นประธานาธิบดีและนายTsvangiraiเป็นนายกรัฐมนตรี
ปัญหาที่หนักหนาสาหัสของ Zimbabwe ก็คือเงินเฟ้อที่รุนแรงอย่างน่าอัศจรรย์ในช่วงปี 2003 – 2009 ในปี 1998 ราคาข้าวของแพงขึ้นโดยเฉลี่ยหรือที่เรียกว่าเงินเฟ้อในระดับ 32 เปอร์เซ็นต์ซึ่งนับว่าสูงมากแล้ว แต่ในปี 2008 เงินเฟ้อสูงขึ้นในระดับ 11.2 ล้านเปอร์เซ็นต์ ซึ่งสภาพการณ์อย่างนี้เรียกว่า Hyperinflation หรือ สถานการณ์เงินเฟ้ออย่างสุดๆ อัตราที่ยากจะเข้าใจนี้ หากแปลความง่ายๆ ก็คือระดับราคาจะสูงขึ้นเป็นอีกหนึ่งเท่าตัวทุกๆ 1.3 วัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นอัตราเงินเฟ้อที่สูงอันดับสองในประวัติศาสตร์ อัตราสูงที่สุดคือฮังการีในปี 1946 ซึ่งระดับราคาสูงขึ้นหนึ่งเท่าตัวทุกๆ15.6ชั่วโมง ในปี 2006 รัฐบาลได้กำหนดหน่วยเงินใหม่เพื่อความสะดวกในการซื้อขายก่อนที่ประชาชนจะตาลายและสำลักเลขศูนย์ตาย โดยกำหนดให้หนึ่งดอลลาร์ใหม่เท่ากับ 1,000 ดอลลาร์เก่า แต่เงินเฟ้อก็พุ่งไม่หยุด รัฐบาลต้องปรับหน่วยเงินใหม่อีกครั้งโดยให้ 1 เหรียญใหม่เท่ากับ 1,000,000,000,000 เหรียญเก่า แค่อ่านก็เวียนหัวแล้ว คน Zimbabwe ต้องใช้เงินเหรียญทั้ง 2 ชนิดคู่กันไป คิดดูก็แล้วกันว่าจะต้องเก่งคณิตศาสตร์กันแค่ไหนจึงจะอยู่ได้ในประเทศนี้ เงินเฟ้อก็เดินหน้าต่อไปไม่หยุด จนสุดท้ายรัฐต้องประกาศยกเลิกการใช้ดอลลาร์ของ Zimbabwe ในเดือนเมษายน ปี 2009 และให้มาใช้ดอลลาร์สหรัฐเป็นทางการ และคราวนี้เงินเฟ้อหยุดได้ทันที คำถามก็คือทำไมมันเฟ้อกันได้ขนาดนี้? คําตอบง่ายๆก็คือรัฐบาลปั๊มธนบัตรออกมาใช้จ่ายเหมือนแบงก์กงเต็กเพราะเก็บภาษีไม่ได้แต่ต้องมีรายจ่าย ในขณะที่ข้าวของกินของใช้มีปริมาณเท่าเดิมและจำกัดมาก ราคาจึงสูงขึ้น ข้าวยากหมากแพงเป็นผลจากการที่รัฐบาลไปยึดที่ดินของคนขาวที่มีเพียงร้อยละ1ของประชากร(ปัจจุบันเหลืออยู่ในประเทศไม่ถึง 20,000 คน) แต่ครอบครองที่ดินร้อยละ 75 ของทั้งประเทศเมื่อรัฐบาลยึดมาแล้วก็ไม่มีปัญญาไปทำอะไรกับมัน จึงต้องทิ้งให้รกร้าง ที่ดินเหล่านี้เคยเป็นแหล่งผลิตสินค้าและเกษตร เป็นแหล่งอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศ แต่เมื่อคนผิวดำมีอำนาจ การเมืองก็ยุ่งมีแต่การแย่งอำนาจและแย่งกันคอร์รัปชั่น ประชาชนกว่า 3.4 ล้านคนอพยพออกนอกประเทศไป South Africa และ Botswana ตั้งแต่กลางปี 2007 ผู้คนระส่ำระสายกันทั่ว อัตราว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 80 พร้อมกับบริการสาธารณสุขที่เลวลงเป็นลำดับ การแลกสิ่งของกัน (bartering) หรือใช้ของบางอย่างเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนบนสภาพการณ์เงินเฟ้อรุนแรงเช่นนี้หรือในสังคมที่ขาดความเชื่อมั่นในเงินสกุลของตนเองนั้นเป็นเรื่องธรรมดาในพม่าเมื่อ 15 ปีก่อน บุหรี่ 555 และวิสกี้ตราแดง (Red Label) กลายเป็น “เงินสกุล” สำคัญแทนเงินจั๊ด เหตุที่ไม่ใช้ทองคำก็เพราะไม่มีใครมีเงินมากพอจะมีทองคำและมันก็มีราคาสูงจนไม่อาจแบ่งเป็นมูลค่าย่อยๆได้สะดวก Zimbabwe ก็เหมือนกัน ในสภาพการณ์ที่ราคาขึ้นสูงไม่หยุด ใครรับเงินสกุลท้องถิ่นไว้ภายใน 2 วันก็เอาไปซื้อสิ่งของได้จำนวนนิดเดียว (ค่าเงินลดลงมากเพราะราคาสินค้าสูงขึ้นมาก) ดังนั้น จึงต้องรับไว้เป็นสินค้าแทน เพราะสินค้าที่รับมาก็จะมีราคาสูงขึ้นต่อไปด้วยเงินสกุลหลักอื่นๆ เช่น ปอนด์ ยูโร ดอลลาร์สหรัฐ ก็มีการใช้กันในช่วงเงินเฟ้อรุนแรง เพราะเป็นตัวกลางที่เชื่อได้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนของมันกับเงินสกุลท้องถิ่นจะปรับสูงขึ้นตามเงินเฟ้อด้วย เพราะค่าของเงินสกุลเหล่านี้ผูกโยงกับของมีค่าอื่นๆ ที่อยู่ในประเทศและต่างประเทศ เช่น ทองคำ อีกทั้งเงินสกุลเหล่านี้เป็นที่ต้องการอย่างมาก จนอัตราแลกเปลี่ยนของมันสูงขึ้นด้วย การที่โรงพยาบาลรับค่าบริการเป็นถั่วลิสง (ราคาบริการพบหมอหนึ่งครั้งเท่ากับถั่วหนึ่งในสี่ของถัง) ทำให้ได้ถั่วเอาไปทำถั่วบดทาแผ่นแป้งหรือทำซุปเป็นอาหารให้คนไข้ และหากเก็บไว้ราคาของมันก็จะสูงขึ้น เช่นเดียวกับไก่ หมู และธัญพืชอื่นๆ การที่รัฐบาลประกาศใช้ดอลลาร์สหรัฐแทนก็เท่ากับเป็นการผูกมือรัฐบาลให้พิมพ์ธนบัตรของ Zimbabwe เพิ่มอีกไม่ได้เพราะได้ใช้สกุลต่างประเทศแล้ว เมื่อผู้คนตระหนักว่าจะไม่มีเงินท้องถิ่นไหลเข้ามาโดยภาครัฐอีก การคาดคะเนเช่นนี้ ก็ทำให้แรงกดดันเก็งกำไรสินค้าลดลงไปทันที นอกจากนี้ อำนาจซื้อของประชาชนที่เข้าไม่ถึงดอลลาร์สหรัฐก็จะลดไปเช่นกัน สินค้าออกสู่ตลาดในขณะที่อำนาจซื้อลดลงไป ราคาก็จะไม่พุ่งสูงขึ้น แต่คนที่เข้าไม่ถึงดอลลาร์ก็จะใช้วิธีแลกเปลี่ยนสินค้ากัน แต่เมื่อราคาหยุดพุ่ง ความบ้าคลั่งก็จะหมดไปจนความเป็นปกติอาจกลับคืนมาได้ เงินเฟ้อเปรียบเสมือนภาษีที่ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นโดยไม่ต้องออกกฎหมาย มันทำร้ายผู้คนได้ร้ายแรง โดยเฉพาะคนจนผู้ขาดความคล่องตัวในการทำมาหากินและการปรับตัว
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม |
ความ
จำ |
ความเข้าใจ | นำไปใช้ | วิเคราะห์ | สังเคราะห์ | ประเมินค่า | |
1.อธิบายความหมายของเงินเฟ้อ | / | ||||||
2. ยกตัวอย่างประกอบความหมายโดยตัวอย่างไม่ซ้ำกับในบทเรียน | / | ||||||
3.บอกตัวบ่งชี้การเกิดเงินเฟ้อ บอกสาเหตุการเกิด | / | ||||||
4.คำนวณหาอัตราเงินเฟ้อได้ แปลความหมายได้ | / | / | |||||
5.ให้เสนอแผนออมเงินโดยใช้ตลาดเงินและตลาดทุน | / | / | / | ||||
6. กำหนดสถานการณ์(ใหม่ที่ผู้เรียนยังไม่เคยพบ )ซึ่งมีข้อมูลด้านราคาสินค้าให้ค้นหาสาเหตุ หรือให้คาดการณ์ | / | ||||||
7.กำหนดตัวอย่างเรื่องเงินเฟ้อ มีผลกระทบ มีแนวทางแก้ไขปัญหา แล้วตั้งคำถามว่าแนวทางการแก้ไขที่มีอยู่ ผิดหรือถูกอย่างไร | / |
บทที่5
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข
ในบทนี้ผู้เขียนจะขอนำเสนอปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์ มักมีปัญหาต่อไปนี้
1.ผู้สอนไม่ได้ศึกษาจุดประสงค์ของหลักสูตรและจุดประสงค์ของรายวิชา แนวทางแก้ไข ควรศึกษาหลักสูตรการศึกษาและมาตรฐานผลการเรียนรู้(มคอ.2)ก่อนออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน
สื่อการสอน ที่ 4 -บทความที่ใช้เป็นสื่อการสอนเรื่องเงินเฟ้อ-แสดงผลกระทบของเงินเฟ้อแบบรุนแรง
ซิมบับเวจะนำธนบัตรฉบับละ 1 แสนล้านดอลลาร์ออกใช้ ไทยรัฐ ฉบับที่ 18448 ศุกร์ที่ 25 ก.ค.51 คอลัมน์ หน้าต่างโลก ฮาราเร 19 ก.ค.51 – ธนาคารกลางซิมบับเว ประกาศจะนำเอาธนบัตรฉบับละ 1 แสนล้านดอลลาร์ซิมบับเวออกใช้ วันจันทร์นี้เพื่อต่อสู้กับปัญหาเงินเฟ้อระดับรุนแรงนายกีเดียน โกโน ผู้ว่ากาธนาคารกลางซิมบับเวไดออกประกาศ ตั้งแต่วันพุธแล้วว่า ขณะนี้อัตราเงินเฟ้อในซิมบับเวได้พุ่งเกิน 22,000 เท่าแล้ว ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าจริงๆ แล้ว อัตราเงินเฟ้อของซิมบับเวสูงกว่าตัวเลขดังกล่าวมาก นายโกโน ให้เหตุผลในการพิมพ์ธนบัตรฉบับละ 1 แสนล้านดอลลาร์ซิมบับเวออกมาใช้ว่า ต้องการแบ่งเบาภาระผู้บริโภคไม่ให้ต้องหอบเงินเป็นฟ่อนๆ แม้แต่ การทำธุรกรรมธรรมดาๆ ธนาคารกลางซิมบับเวใช้วิธีออกธนบัตรมูลค่าสูงๆ เพื่อสู้ปัญหาเงินเฟ้อมาโดยตลอด ปัจจุบันธนบัตรที่มีราคาสูงสุดคือฉบับละ 50,000 ล้านดอลลาร์ซิมบับเว นายโกโนกล่าวด้วยว่า กำลังพิจารณา เรื่องขยายเพดานให้ประชาชนถอนเงินรายวันได้เพิ่มขึ้น จากเดิมกำหนดไว้ ไม่เกินวันละ 1แสนล้านดอลลาร์ซิมบับเว เพราะจำนวนดังกล่าวพอแค่เพียงใช้โดยสารรถประจำทางได้เพียง 2 เที่ยว หรือซื้อขนมปังได้เพียง 2 ก้อนเท่านั้นหากสามารถหาซื้อได้เงินดอลลาร์ซิมบับเวตรึงอัตราแลกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการที่ 30,000 ดอลลาร์ซิมบับเว ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐแต่ขณะนี้ซื้อขายกันจริงที่ 800 ล้านดอลลาร์ซิมบับเวต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ นอกจากเผชิญปัญหาอาหารขาดแคลนอย่างหนักแล้ว ชาวซิมบับเวยังต้องเข้าแถวเป็นเวลานานเพื่อถอนเงินจากธนาคารเพราะต้องหอบเงินเป็นจำนวนมากในการเบิกถอนแต่ละครั้ง ก่อนหน้านี้ราว 2 สัปดาห์ บริษัทกีเซค และเดฟเรียนท์ของเยอรมนีได้งดส่งกระดาษพิมพ์ธนบัตรให้กับซิมบับเวแล้ว เนื่องจากถูกรัฐบาลเยอรมนีกดดัน ซิมบับเวเคยเป็นชาติที่ร่ำรวยชาติหนึ่งในแอฟริกา แต่เศรษฐกิจต้องล่มสลายลงในพริบตาจากการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดของประธานาธิบดีโรเบิร์ต มูกาเบ้ เช่น การยึดที่ดินของคนผิวขาวมาให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นคนผิวดำ.-สำนักข่าวไทย
สื่อการสอน ที่ 5 ทฤษฎีวงจรการบริโภคชั่วชีวิต ประกอบคำถามการนำความรู้เรื่องเงินเฟ้อไปประยุกต์ใช้ /สังเคราะห์ ทฤษฎีวงจรการบริโภคชั่วชีวิต อธิบายว่า คนจะมีการจับจ่ายใช้สอยระหว่างมีชีวิตมากน้อยเท่าไรขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ดังนี้ 1.กองมรดก 2.รายได้จากการทำงาน 3.ผลตอบแทนจากการลงทุน จากรูปข้างล่าง อธิบายว่า ช่วงอายุตั้งแต่เกิด ถึงจบการศึกษา ยังไม่มีรายได้ เงินออมติดลบ เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทำงานจนถึงวันเกษียณอายุราชการเป็นช่วงที่สามารถออมเงินได้ ช่วง กข เป็นช่วงที่รายได้สูงกว่าค่าใช้จ่าย เส้นโค้ง CD แสดงรายได้จากการทำงานตลอดชีวิต มีลักษณะสูงที่สุดวัยกลางคน เมื่อถึงวัยหลังเกษียณ เส้นนี้มีลักษณะลดลงเรื่อยๆ แต่เส้น AB สีน้ำเงินแสดงค่าใช้จ่ายตลอดชีวิต มีลักษณะลาดขึ้นจากซ้ายไปขวาแปลว่าคนจะมีรายจ่ายสูงขึ้นเรื่อยๆ ตลอดชีวิตท่านทราบหรือไม่ว่าค่าใช้จ่ายตลอดชีวิตนั้นคืออะไร ท่านคิดว่าท่านจะวางแผนการออมเงินอย่างไรเพื่อให้ชีวิตไม่ลำบากมากในวัยชรา |
การตรวจสอบระดับการเรียนรู้โดยใช้ตารางวิเคราะห์วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
|
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม |
ความ
จำ |
ความเข้าใจ | นำไปใช้ | วิเคราะห์ | สังเคราะห์ | ประเมินค่า | |
1.อธิบายความหมายของเงินเฟ้อ | / | ||||||
2. ยกตัวอย่างประกอบความหมายโดยตัวอย่างไม่ซ้ำกับในบทเรียน | / | ||||||
3.บอกตัวบ่งชี้การเกิดเงินเฟ้อ บอกสาเหตุการเกิด | / | ||||||
4.คำนวณหาอัตราเงินเฟ้อได้ แปลความหมายได้ | / | / | |||||
5.ให้เสนอแผนออมเงินโดยใช้ตลาดเงินและตลาดทุน | / | / | / | ||||
6. กำหนดสถานการณ์(ใหม่ที่ผู้เรียนยังไม่เคยพบ )ซึ่งมีข้อมูลด้านราคาสินค้าให้ค้นหาสาเหตุ หรือให้คาดการณ์ | / | ||||||
7.กำหนดตัวอย่างเรื่องเงินเฟ้อ มีผลกระทบ มีแนวทางแก้ไขปัญหา แล้วตั้งคำถามว่าแนวทางการแก้ไขที่มีอยู่ ผิดหรือถูกอย่างไร | / | ||||||
บทที่5
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข
ในบทนี้ผู้เขียนจะขอนำเสนอปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์ มักมีปัญหาต่อไปนี้
1.ผู้สอนไม่ได้ศึกษาจุดประสงค์ของหลักสูตรและจุดประสงค์ของรายวิชา แนวทางแก้ไข ควรศึกษาหลักสูตรการศึกษาและมาตรฐานผลการเรียนรู้(มคอ.2)ก่อนออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน
2.ผู้สอนจัดทำแผนการสอนประจำสัปดาห์โดยไม่ได้แบ่งเนื้อหาออกเป็นหน่วยย่อยๆส่งผลต่อการตั้งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
3.การตั้งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม กับการเลือกวิธีสอนและการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนไม่สอดคล้องกัน ทำให้ผู้เรียนไม่เกิดการเรียนรู้ตามที่คาดหวัง
4.การตั้งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมไม่ครอบคลุมพุทธิพิสัย ทักษะพิสัยและเจตคติ
5. การวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมไม่สามารถวัดระดับการเรียนรู้ได้ครบทั้ง 6 ระดับ ผู้เขียนแผนการสอนส่วนใหญ่พบว่าตั้งแค่ระดับวัดความจำและความเข้าใจ เพื่อป้องกันการลืมผู้สอนควรใช้ตารางวิเคราะห์พฤติกรรมตรวจสอบ
6.ผู้เรียนไม่สามารถทำกิจกรรมการเรียนการสอนภายในเวลาที่กำหนดเนื่องจากมีภารกิจหรือกิจกรรมอื่นมาแทรก
7.ผู้เรียนในกลุ่มบางคนไม่ทำกิจกรรม การจัดการเรียนการสอนจึงไม่ได้ผล ผู้สอนต้องเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิดและใช้เทคนิคการตั้งคำถาม เทคนิคการจัดกลุ่มความคิดด้วยแผนผังต่างๆหรืออกแบบกิจกรรมให้มีความซับซ้อนทำให้ผู้เรียนต้องแบ่งงานกันทำ แบ่งหน้าที่
8.การสรุปบทเรียนหรือการบอกเล่าความสำเร็จเป็นตัวบ่งชี้ของการเรียนรู้ร่วมกัน ข้อเสนอแนะผู้สอนควรให้ผู้เรียนที่ประสบความสำเร็จได้มีโอกาสถ่ายทอดความรู้ให้กับเพื่อนๆ
บรรณานุกรมท้ายบท
คณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ2552 และแนวทางการปฏิบัติ.กรุงเทพมหานครและแนวทางการปฏิบัติ ,2552
เตือนใจ เกตุษา,สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์.การประเมินผลการศึกษา : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.2542 .)
สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา.หลักการศึกษายุคใหม่.นครปฐม.25428
นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ .เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยวิธีการหลากหลาย.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.2554
นภาลัย สุวรรณธาดา ธิดา โมสิกรัตน์ สุมาลี สังข์ศรี .ผลงานวิชาการและบทความ. ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์ กรุงเทพมหานคร.2553
ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ 11. 2552
สุวิทย์ มูลคำ. กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์. ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์. กรุงเทพมหานคร.2547
วัฒนาพร ระงับทุกข์ แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง.กรุงเทพมหานคร.2542
ฝ่ายศึกษาโรงเรียนนายเรือ.คู่มือครู-อาจารย์ ฝ่ายศึกษาโรงเรียนนายเรือ พ.ศ.2548