การทำบุญหน่วย
โดย น.ท.สมปอง วัฒนกูล อศจ.บก.รร.นร.
ในการทำบุญหน่วย ไม่ว่าจะเป็นหน่วยเล็ก หรือหน่วยใหญ่
จำต้องเตรียมการให้พร้อมเช่นกัน โดยเฉพาะการฟอร์มทีมงานและซักซ้อมทำความเข้าใจในทุกขั้นตอนของกิจกรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
(ทำความเข้าใจและซักซ้อมก่อนถึงเวลา และดำเนินไปตามขั้นตอน โดยละเอียด)
.
(ยกตัวอย่างการซักซ้อมและการปฏิบัติในวันนี้)
๑. เมื่อพระสงฆ์ขึ้นสู่อาสน์สงฆ์ (นั่งบนอาสนะ) เรียบร้อยแล้ว
ฝ่ายถวายน้ำดื่ม ต้องเข้าไปทันที (ใครรับผิดชอบ และใช้กำลังพลกี่คน – คนหนึ่งถือถาด คนหนึ่งหยิบถวายทีละขวดทีละแก้ว หรือเป็นแบบไหน)
.
๒. เมื่อพร้อม
– กล่าวเกริ่นนำ (กล่าวเริ่มต้นอย่างไร ประโยคคำพูดว่าอะไร (เขียนเป็นแนวไว้) เขียนชื่อพระ ชื่อประธาน ชื่อหน่วย ฯลฯ กันพูดผิด ติดขัด – นมัสการ/เรียน สวัสดีฯลฯ)
– เชิญประธานในพิธีฯ จุดธูปเทียนฯ
—ประธานฯ นั่งพร้อมหรือยัง (เป็นใคร (ยศชื่อนามสกุลตำแหน่ง) คนไหน มองดูให้ดี ไม่ใช่พระพร้อม แล้วเรียนเชิญประธานในพิธีฯ เลย ทั้งๆ ที่ยังต้อนรับแขกอยู่ข้างนอก)
— คนยื่นเทียนชนวน พร้อมหรือยัง (เขาเป็นใคร ต้องไม่ใช่พิธีกร เพราะพิธีกรกำกับอยู่ที่ไมค์ ไม่ต้องเดินไปไหนให้วุ่นวาย อยู่กับที่),ป้ายน้ำมันเชื้อไฟที่ธูปเทียนให้พร้อม มีไฟแช็คพร้อม จะเข้าทางไหนซ้าย ขวา ของประธานฯ (ดูสถานที่ประกอบ) ยื่นให้ประธานเสร็จแล้ว ต้องถอยฉากเล็กน้อย รอให้ประธานฯ กราบเสร็จ แล้วค่อยเก็บเทียนชนวน ไม่ใช่ยื่นเก็บข้ามหัวขณะประธานฯ กราบอยู่ หรือยืนค้ำหัวประธานฯ ต้องกำชับและปฏิบัติให้ดี (ภาพถ่ายออกมาจะแลไม่สวย และภาพฟ้องไปในตัว)
และยื่นเทียนชนวนเสร็จแล้วไปไหน ทำอะไรต่อ (ถ้ามี)
— ตรวจอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น พัดลม พัดมาทางธูปเทียนหรือไม่ ต้องปิดก่อนหรือหันพัดลมไปทางอื่น ไม่ให้พัดเทียนดับ (ทั้งเทียนชนวน เทียนที่โต๊ะหมู่ และเทียนน้ำมนต์)
๓. พระเจริญพระพุทธมนต์ (เอาที่ปักเทียนน้ำมนต์ไปด้วย ป้ายเชื้อไฟให้เรียบร้อย และเตรียมแฟ้มหรือที่บังลมไว้ด้วย เผื่อลมแรง เทียนดับ ตลอดทั้งจัดกำลังพลไปถือแฟ้มบังลมที่บาตรน้ำมนต์)
– เชิญประธานฯ จุดเทียนน้ำมนต์ ใครเดินไปเรียนเชิญประธานฯ หรือเจ้าหน้าที่ใครจุดเทียนชนวน (ไปนั่ง) รอที่หน้าบาตรน้ำมนต์
– การตักบาตร (ขณะพระจะสวดถึงบทพาหุง)
— เตรียมอาหารและเจ้าหน้าที่ไว้ให้พร้อม (ยืนจุดไหน ทำอะไร)
—- ชุดตักข้าวใส่โถ จาน (พร้อมทัพพี ซ้อน)
—- ชุดรับคืน (ปลายทางใส่บาตรลูกสุดท้าย ส่งมายังคนตักเพิ่ม)
—- ตักบาตรเริ่มจากใครก่อน และเริ่มจากไหน (บาตรแรกไปถึงบาตรสุดท้าย) เข้าด้านไหน มุมไหน และตักบาตรกลับทางไหน อย่างไร
๔. หลังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จบ ทำอะไรต่อไป
– เตรียมถวายภัตตาหาร
— เตรียมข้าวพระพุทธ เป็นแบบไหน ขันโตกหรือถาด ปูผ้าขาว ฯลฯ
มีโต๊ะตั้งหรือไม่อย่างไร ตั้งไว้บริเวณใกล้ ๆ ที่จะยกมาได้สะดวก
— ภัตตาหารเพล สำหรับพระ จัดที่ไหน โต๊ะนั่ง กี่ชุด (แยกชุดให้ชัดเจน ทั้งของคาวและของหวาน)
– นำกล่าวคำบูชาข้าวพระพุทธ และคำถวายภัตตาหาร (อาหารตั้งอยู่ไกลที่โต๊ะอาหาร ใช้คำว่า เอตานิ มะยัง ภันเต ไม่ใช่ อิมานิ มะยัง ภันเต)
– กล่าวเสร็จ ทำอะไร (เชิญประธานฯ ไปถวาย(ถาด โตก) ข้าวพระพุทธ กราบสามครั้ง และนิมนต์พระสงฆ์ลงจากอาสน์สงฆ์ เจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกในการนั่ง และพาไปที่ยังจุดที่ตั้งโต๊ะอาหาร นั่งพร้อม เชิญประธานฯ และผู้บังคับบัญชา ตลอดทั้งผู้ร่วมพิธีฯ ไปร่วมถวายที่โต๊ะอาหารพระ
– จัดเจ้าหน้าที่คอยดูแลขณะพระฉัน (น้ำ ข้าว กระดาษทิชชู กระโถน เก้าอี้เสริมสำหรับวางบาตร โถข้าว กระป๋องน้ำแข็ง ฯลฯ)
(ช่วงพระฉัน เปิดดนตรี (ฯลฯ) ตามอัธยาศัย กล่าวประวัติหน่วย ฯลฯ แจ้งประชาสัมพันธ์กิจกรรมของหน่วยที่จะทำในช่วงต่อไป เช่น กีฬา)
๕. พระฉันเสร็จกลับขึ้นสู่อาสน์สงฆ์ ทำอะไรต่อไป
– ทอดผ้าบังสุกุล
—- เคลียร์พื้นที่ (เก็บถาดข้าวพระพุทธ) เก็บแก้วน้ำ ฯลฯ
—- ภูษาโยง (อศจ. เตรียมไปด้วย) + รายชื่อผู้เสียชีวิต (พับใส่ซองขาว วางบนพาน) เชื่อมกับสายสิญจน์อีกม้วนหนึ่ง วางไว้บนพาน (อาจใช้สองพาน – พานหนึ่ง เป็นพานสายสิญจน์กับซองรายชื่อ, และอีกพานหนึ่งเป็นพานภูษาโยง)
—- จัดเจ้าหน้าที่ลาดภูษาโยง และเก็บภูษาโยง (ลาดอย่างไร (ยกลงจากพานไว้ที่พื้น เพื่อเวลาลาด จะไม่หล่นตกจากพาน) ยกมือไหว้หนึ่งครั้งก่อนลาด มือซ้ายแนบลำตัว มือขวาลากไปช้าๆ และเก็บอย่างไร เก็บตามรอบพับ)
—- เจ้าหน้าที่ถือพานผ้าบังสุกุล เป็นผ้าสบง ถือพานเดียว ใช้เจ้าหน้าที่คนถือพานคนเดียว และเจ้าหน้าที่รับผ้าฯ นำไปวางไว้ (แนวขนานกับภูษาโยง) เลยก็ได้ เพราะทอดหลายคน (เก้าคน สิบคน มีส่วนร่วม ถวายพร้อมกัน ชักภาพออกมาจะแลดูสวยงาม) (แต่ถ้าประธานฯ ทอดคนเดียว ให้คนหนึ่งหยิบผ้าจากพานแล้วยื่นให้ประธานฯ ทอดทีละผืน)
—- ทอดเสร็จแล้ว เชิญทุกท่านกลับนั่งที่เก้าอี้ก่อน (จะได้ไม่เกะกะเวลาเจ้าหน้าไปเก็บภูษาโยง และเจ้าหน้าที่เทียบเครื่องไทยธรรม) พระพิจารณาผ้าบังสุกุลต่อไป
– ถวายเครื่องไทยธรรม
—- เจ้าหน้าที่เทียบเครื่องไทยธรรม (ซักซ้อมการเดินเข้า เดินออก (เข้าทางไหน ทางท้ายพระรูปสุดท้าย และออกทางเดิม) ถือเครื่องไทยธรรมอย่างไร ฯลฯ)
—- เรียนเชิญชุดเดิม ไปถวายเครื่องไทยธรรม (ถวายพร้อมกัน ชักภาพออกมาสวย) กลับที่นั่ง เตรียมกรวดน้ำรับพร
—- ที่กรวดน้ำ จัดไว้กี่ชุด ใส่น้ำไว้ให้พร้อม (เช็คดูให้ดี) กรวดเสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่ไปเก็บเต้ากรวดน้ำเลยหรือไม่อย่างไร หรือทิ้งไว้นั้นก่อน
—- พระสวดอนุโมทนา (ยะถา สัพพี) และประพรมน้ำพระพุทธมนต์
(ใครถือบาตรน้ำมนต์ องค์ไหนเป็นผู้ประพรม ลงจากอาสน์สงฆ์ตรงไหน เคลียร์เครื่องไทยธรรมด้านหน้า จัดเก้าอี้ตัวหนึ่งให้ท่านเหยียบลง อศจ.อำนวยความสะดวก ฯลฯ) ประพรมเสร็จกลับขึ้นนั่งอาสน์สงฆ์เหมือนเดิม
—- เสร็จพิธี (อศจ. กล่าวปิด —
(เจ้าหน้าที่เก็บเครื่องไทยธรรม เข้ามาช่วงนี้ – ที่กระจายกันไปตามที่ต่าง ๆ ให้รีบมาพร้อมใกล้ ๆ บริเวณพิธี – ปัญหา ตามหาตัวไม่เจอ หรือไม่ครบคน ทำให้เสียเวลารอ)
.