สารบัญ
เรื่องเล่าจากประสบการณ์ การเรียนรู้ และการทำงานที่เป็นเลิศ
“ขั้นตอนการปฏิบัติในการเข้าร่วมแข่งขันเรือใบรีกัตต้าของ รร.นร.”
ชื่อผู้เล่า – น.ต.ธารา แก้วอรุณ
หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เล่าเรื่อง
– ครูฝึก กวกด.ฝศษ.รร.นร.
– รับผิดชอบกระบวนงานการเข้าร่วมแข่งขันเรือใบรีกัตต้าของ รร.นร.
ชื่อเรื่องที่เล่า
– ขั้นตอนการปฏิบัติในการเข้าร่วมแข่งขันเรือใบรีกัตต้าของ รร.นร.
ความเป็นมา
กวกด.ฝศษ.รร.นร.มีหน้าที่นอกเหนือไปจากหน้าที่ตามพันธกิจอย่างหนึ่งก็คือการจัดทีมนักกีฬาเรือใบของ รร.นร.เข้าร่วมการแข่งขันเรือใบรีกัตต้าในนามของกองทัพเรือ ซึ่งมีการจัดแข่งขันในช่วงต้นเดือนธันวาคมของทุกปี แต่ รร.นร.จะพิจารณาจัดทีมเข้าร่วมการแข่งขันเป็นคราว ๆ ไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของทีมนักกีฬา ซึ่งประกอบด้วยครูฝึก และ นนร.เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น ความพร้อมของ นนร.จึงเป็นเรื่องสำคัญ เช่า ถ้าในช่วงนั้น นนร.มีภารกิจอื่นที่สำคัญกว่าต้องปฏิบัติ ก็ต้องงดการเข้าร่วมการแข่งขันในปีนั้น นอกจากนั้น ก็เป็นดุลพินิจของ ผบ.รร.นร. ดังนั้น เมื่อได้รับการประสานเกี่ยวกับการแข่งขันตั้งแต่เนิ่น ๆ ทาง กวกด.ฯ ก็ต้องรีบนำเรียน ผบ.รร.นร.ว่าท่านจะอนุมัติให้จัดทีมเข้าร่วมการแข่งขันหรือไม่ เนื่องจากขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติมีมาก การที่เรารู้ข่าวเร็วเท่าไร ก็จะทำให้มีเวลามากพอในการประสานงานต่าง ๆ มากขึ้นเท่านั้น
กระบวนงาน
จากภาพนี้ เป็นการแสดงให้เห็นกระบวนงานการเข้าร่วมการแข่งขันเรือใบรีกัตต้าของ รร.นร. ตั้งแต่รับโทรเลข การประสานงาน การคำนวณค่าใช้จ่าย การหาแหล่งเงินสนับสนุนหรือสปอนเซอร์ นอกเหนือจากงบประมาณที่เราจะได้รับจาก สนฬ.ทร. และจากเบี้ยเลี้ยงของ นนร……………….การเตรียมความพร้อมของนักกีฬา ฯลฯ เมื่อได้ข้อมูลมาครบถ้วนแล้ว จึงขึ้นเรื่องขอนุมัติ รร.นร. จนเมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขัน ก็ขนเรือกลับ รร.นร. และรายงานผล รวมทั้งผลักใช้งบประมาณ
ตัวอย่างบันทึกข้อความ ขออนุมัติส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน และ ผลักใช้เงินยืม
แผนการปฏิบัติในการเข้าร่วม
แผนการปฏิบัติในการเข้าร่วมการแข่งขันเรือใบรายการ”ภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตตา ครั้งที่ ๓o”
วัน/เดือน/ปี |
การปฏิบัติ |
ผู้ปฏิบัติ |
๒๙ พ.ย.๕๙ | – ยกเรือขึ้นรถชานต่ำที่ อจปร.อร | เจ้าหน้าที่ทีม |
๓o พ.ย. ๕๙ | – เดินทาง จาก อจปร.อร.-ฐท.พง. | เจ้าหน้าที่ทีม
รถชานต่ำ ๑ คัน รถปรับอากาศขนาดเล็ก ๑ คัน |
๑ ธ.ค. ๕๙ | – ประกอบเรือ Keelboat และนำเรือลงน้ำ
– นักกีฬาเดินทางจาก รร.นร.-ฐท.พง. |
เจ้าหน้าที่ทีม
รถชานต่ำ ๑ คัน รถปรับอากาศขนาดเล็ก ๑ คัน รถโดยสารขนาดใหญ่ ๑ คัน |
๒ ธ.ค. ๕๙ | – เดินทางไปภูเก็ตเส้นทาง ฐท.พง. – หาดกะตะ จ.ภูเก็ต | เจ้าหน้าที่ทีม,ชุดนักกีฬา
รถตู้ปรับอากาศขนาดเล็ก ๑ คัน รถโดยสารขนาดใหญ่ ๑ คัน |
๓ ธ.ค. ๕๙ | – ลงทะเบียน | นักกีฬา |
๔ ธ.ค. ๕๙ | – ประชุม/พิธีเปิด | นักกีฬา |
๕ – ๑o ธ.ค. ๕๙ | – แข่งขัน | นักกีฬา และชุดเจ้าหน้าที่ทีม |
๑o ธ.ค. ๕๙ | – ๑๘oo มอบรางวัลและพิธีปิด | นักกีฬา และชุดเจ้าหน้าที่ทีม |
๑๑ ธ.ค. ๕๙ | – นำเรือ Keelboat เส้นทาง อ่าวกะตะ จ.ภูเก็ต – ฐท.พง. | เจ้าหน้าที่ทีม,ชุดนักกีฬา
นักกีฬา เดินทางกลับ ฐท.พง.-รร.นร. รถโดยสารขนาดใหญ่ |
๑๒ ธ.ค. ๕๙ | – ยกเรือขึ้นรถชานต่ำ
– เดินทางกลับ เส้นทาง ฐท.พง. – อจปร.อร. |
เจ้าหน้าที่ทีม |
๑๓ ธ.ค. ๕๙ | – เดินทางถึง อจปร.อร.
– นำเรือ Keelboat ลงน้ำ และเดินทางกลับ รร.นร. |
เจ้าหน้าที่ทีม
รถชานต่ำ ๑ คัน รถตู้ปรับอากาศขนาดเล็ก ๑ คัน |
การประสานขอรถชานต่ำสำหรับขนย้ายเรือใบ
– การประสานขอรถชานต่ำ ประสานที่ ขส.ทร. เป็นอันดับแรก เนื่องจาก ขส.ทร. สามารถเบิกค่าใช้จ่าย (ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงได้ ถ้าประสานขอรถกับหน่วยอื่น (เช่น กลน.กร. ฐท.สส. สอ.รฝ. นย. การท่าเรือจุกเสม็ด ฯ) จะเป็นการเพิ่มปัญหาในเรื่องค่าใช้จ่ายอีกด้วย (ประมาณ 3 หมื่นกว่าบาท)
– นอกจากนั้น รถชานต่ำ ของ ฐท.สส. สอ.รฝ. นย. ท่าเรือจุกเสม็ด เป็นรถชานต่ำที่เก่าและชำรุด ทำให้การยึดเรือกับรถไม่แข็งแรง และเคยมีเหตุการณ์ไม้กระดานพื้นหลุด
– ขนาดของรถชานต่ำ ความสูงต้องไม่เกิน ๑.๒๐ ม. ความยาวต้องไม่ต่ำกว่า ๘ ม. ถ้ารถชานต่ำมีความสูงเกิน ๑.๒๐ ม. เมื่อมีการขนย้ายเรือใบลอดใต้สะพานลอย อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ เนื่องจากสะพานลอย ๕ ม. ( เรือสูง 3.65 ม. + ความสูงรถชานต่ำ 1.20 ม. = 4.85 ม. )
– ในกรณีการแข่งขัน รายการสมุยรีกัตต้า จะใช้วิธีการนำเรือไปเอง และการที่จะยกเรือลงจากรถชานต่ำ ต้องใช้รถเครน หน่วยงาน ทร. ในบริเวณนั้นไม่มี ที่จะให้การสนับสนุน ทำให้ต้องจ้างบริษัทเอกชน และมีค่าใช้จ่าย เพิ่มเติม
– กรณีไม่สามารถหารถชานต่ำได้ เพื่อเดินทางไปแข่งขัน รายการภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้า ได้ การแก้ปัญหาสามารถแบ่งออกเป็น ๒ กรณี ได้แก่
๑. กรณี ถ้าไม่สามารถหารถชานต่ำได้ จะต้องยกเลิกการแข่งขัน โดยนำเรียน ผบ.รร.นร. โดยตรง
๒. กรณีที่มีรถเที่ยวไป แต่เที่ยวกลับมาที่ รร.นร. ไม่มี จะต้องนำเรือไปฝากไว้ที่ ฐท.พังงา โดยประสานกับ บก.ฐท.พังงา เพื่อฝากเรือ (จนกว่ารถชานต่ำจะพร้อมให้การสนับสนุน)
ตัวอย่างบันทึกข้อความเรื่อง ขอรับการสนับสนุนรถลากจูงและรถกึ่งพ่วง
การยกเรือด้วยรถเครนที่ ฐท.พง.
- การยกเรือลงน้ำ
– เตรียมความพร้อมในการยกเรือลงน้ำ แก้เชือกที่ยึดเรือเตรียมสายยกเรือ ยกเสาลงจากรถชานต่ำ และเรือยาง เครื่องติดท้าย ประกอบตัวเสาให้พร้อมที่จะยก ตรวจระบบไฟ สายสลิงต่างๆ อย่าให้พันกัน ติดตั้งธงลม ติดตั้งเสาวิทยุ
– ใช้รถเครนยกเรือลงน้ำ ยกเสาประกอบเข้ากับตัวเรือ ยึดเสาด้วยสลิงข้าง-หัว-ท้าย ให้ได้ระดับต่อสายไฟต่างๆจากเสาเข้ากับตัวเรือ
– ยกเรือยาง เพื่อติดข้างเรือ และประกอบเครื่องติดท้ายกับเรือยาง
– ทดลองติดเครื่องเรือ ทดลองไฟต่างๆ ทดลองวิทยุ ประกอบบูมเข้ากับเสา ประกอบใบเข้ากับบูมให้พร้อมร้อยเชือกเข้ากับตัวล็อกต่างๆ ตามตำแหน่ง พันเทปตรงบริเวณลอยต่อต่างๆ ที่อาจจะทำความเสียหายกับเรือใบ และนักกีฬา
– ล้างทำความสะอาดตัวเรือ ทั้งภายนอกและภายในให้พร้อมในการเดินทางไป อ่าวกะตะ จ.พังงา
การยกเรือขึ้นรถชานต่ำ
– ปลดสลิงยึดเสาต่างๆ ทั้งหมด ปลดเชือกสำหรับดึงใบต่างๆ มัดไว้กับเสา ปลดบูมออกจากเสา ปลดสายไฟต่างๆ ให้ให้หลุดจากตัวเรือ
– ยกเสาออกจากตัวเรือในการยกเสาใช้เชือกผูกกับเสาให้รูดไปล็อกกับสเป็กเตอร์ ปลายเชือกอีกด้านที่ติดกับห่วงยกให้พ้นจากปลายเสา กรณีที่ไม่พ้นปลายเสาจะทำความเสียหายกับอุปกรณ์ที่ปลายเสา เสร็จแล้วยกไปวางไว้ที่บนฝั่งก่อน
– เตรียมสายยกเรือเข้ากับตัวเรือ แล้วยกขึ้นวางบนรถชานต่ำ ยึดตัวเข้ากับรถชานต่ำให้แน่น ล็อคคิวของเรือเข้ากับรถชานต่ำให้แน่น แล้วยกเรือยางและเครื่องติดท้ายขึ้นวางบนรถชานต่ำ และผูกยึดติดกับรถ
– ถอดเครื่องวัดลม เสาวิทยุที่ติดอยู่กับเสาออก แล้วมัดสลิงและเชือกต่างๆ ให้ติดกับเสาเสร็จแล้วยกขึ้นรถชานต่ำผูกยึดติดกับรถชานต่ำ ติดตั้งไฟสัญญาณและธงแดงที่ปลายเสาท้ายรถเพราะเสายาวกว่าตัวรถ ๓ เมตร
การเตรียมความพร้อมของเรือ
-ก่อนการแข่งขันประมาณ 2 สัปดาห์
-ตรวจเช็คตัวล็อคเชือกจุดต่าง ๆ บนตัวเรือ ถ้าเกิดการชำรุดเสียหายให้ทำการจัดเปลี่ยน พร้อมทั้งตรวจเชือกดึงใบต่างๆ ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ เช็คใบเรือทั้ง ๔ ใบ ถ้าขาดต้องทำการเย็บให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ตรวจระบบไฟเรือเดิน ไฟในตัวเรือ ไฟวิทยุ สื่อสาร เครื่องหยั่งน้ำ เข็มทิศ เครื่องวัดความเร็วลม ทำการเปลี่ยนในกรณีที่ใช้งานไม่ได้ ตรวจสอบระบบเครื่องยนต์เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ ตรวจระบบน้ำ ระบบความร้อน
-ก่อนการแข่งขันประมาณ 1 สัปดาห์
-นำเรือเข้าอู่ที่ อจปร. เพื่อล้าง ทำความสะอาด และทำสี ท้องเรือและตัวเรือ เพื่อกำจัดเพรียงและตะไคร่น้ำที่ติดอยู่กับท้องเรือ
เราต้องทำการตรวจสอบสภาพเรือ ในการ maintenance เรือใบ ทาง กวกด.ทำเป็นห้วงเวลา คือใน……..ปีละ….ครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนการแข่งขัน เราต้องตรวจสภาพเรืออีกครั้ง หน่วยตรวจสอบและซ่อมทำอุปกรณ์ชำรุดของเรือคือ กววร.ฝศษ.รร.นร. เครื่องยนต์เรือยนต์หมายเลข 3 เป็นเครื่องยนต์ดีเซล ตามอักษร “YANMA” Model 6LPA SERIE BETJENINGSMANUAL P/N:OA 6 LP-G00102
ตัวอย่างบันทึกข้อความเสนอ กววร.ฝศษ.รร.นร.เรื่อง ขอรับการสนับสนุนการตรวจสอบซ่อมทำ
ตัวอย่างบันทึกข้อความเสนอ อจปร.เรื่อง ขอรับการสนับสนุนล้างท้องทาสี
การประสานงานเรื่องที่พักสำหรับทีมขนย้าย/ทีมสนับสนุน และทีมนักกีฬา
ทีมขนย้ายเรือหรือทีมสนับสนุน ประกอบด้วยข้าราชการทั้งหมด จึงสามารถเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางได้ (แต่สำหรับ นนร.มีเบี้ยเลี้ยงประจำที่ทำการเบิกอยู่แล้ว ก็ไม่สามารถเบิกซ้ำซ้อน จึงขอเบิกจาก กรม นนร.รอ.วันละ 70 บาท ) เราต้องหาที่พักให้ โดยหาได้จากหน่วยในพื้นที่ และประสานฝ่ายจัดการแข่งขัน ส่วนค่าอาหาร นนร.นอกจากจะขอรับค่าเบี้ยเลี้ยง นนร.จาก กรม นนร.รอ. แล้ว ยังต้องหาเพิ่มเติมจากสปอนเซอร์ และ งป.คณะกรรมการกีฬา ทร.???????
ตัวอย่างบันทึกข้อความเรื่อง ขอรับค่าจัดเลี้ยง นนร.
ที่พักในภูเก็ตมีราคาแพง ซึ่ง งป.เบี้ยเลี้ยงเดินทางไม่เพียงพอ เราต้องประสานที่พักของ ฐท.พง. แต่บางครั้งที่พักเต็ม เพราะ กร.ก็มาพักเหมือนกัน ซึ่งปกติ กร.จองล่วงหน้า 6 เดือน รร.นร.เลยจองไม่ทัน เพราะเราต้องแน่ใจว่า ผบ.รร.นร.อนุมัติให้เข้าร่วมการแข่งขันเสียก่อน จึงจะทำการติดต่อจองห้องพักได้
ที่พักสำหรับข้าราชการ(ทีมสนับสนุน) และนักกีฬา(นักเรียนนายเรือ)
๑. บ้านพักศูนย์อนุรักษ์ จ.พังงา (พักคืนขาไปและขากลับ)
สำหรับข้าราชการ(ทีมสนับสนุน) ที่เป็นส่วนล่วงหน้า เพื่อเตรียมความพร้อมโดยจะต้องนำเรือลงน้ำจาก ฐท.พง.ไปอ่าวกะตะ จ.ภูเก็ต ที่เป็นสนามสำหรับการแข่งขัน และนำเรือกลับในวันสุดท้ายของการแข่งขัน
๒. อาคารรับรอง ฐท.พง. จ.ภูเก็ต (พักประมาณ ๖ วัน ๕ คืน)
สำหรับข้าราชการ(ทีมสนับสนุน) และนักกีฬา(นักเรียนนายเรือ)
ในกรณีที่ห้องพักไม่เพียงพอ เนื่องจากมีจำนวนจำกัด สามารถประสานกับกรรมการจัดการแข่งขันในส่วนของกองทัพเรือ (น.อ.พรพรหม สกุลเต็ม) เพื่อขอรับการสนับสนุนที่พักเพิ่มเติม
แหล่งเงิน และการคำนวณค่าใช้จ่าย
การคำนวณค่าใช้จ่าย
– ข้าราชการ
– ค่าเบี้ยงเลี้ยง
– ค่าที่พัก
– ค่าน้ำมัน คำนวณไป-กลับ วิ่งใช้สอยในพื้นที่ภูเก็ต (ติดต่อ ขส.รร.นร.)
-รถตู้ ๑ คัน
– รถบัส ๑ คัน
– เรือใบ
– เรือยาง
– นักเรียนนายเรือ
– ค่าอาหาร ติดต่อขอจากกรม นนร.รอ. เพื่อทำหนังสือเบิกค่าใช้จ่ายของนนร.
ขั้นตอนการปฏิบัติหลังจากได้รายละเอียดข้างต้น ขึ้นเรื่องเสนอตามลำดับ ดังนี้
กองวิชาการเรือและเดินเรือ > ฝ่ายศึกษาฯ > รร.นร. > อนุมัติ > ยืมเงิน > ปฏิบัติงาน > ผลักใช้(ภายใน ๑๕ วัน)
งบประมาณสนับสนุน
- สวัสดิการกีฬาทร. ให้งบประมาณ ๘๐,๐๐๐ บาท/ปี
- ผู้สนับสนุน
การขอสปอนเซอร์
ตัวอย่างบันทึกข้อความเรื่องการขอรับการสนับสนุนจากสปอนเซอร์ img146
ตัวอย่างเอกสารประกอบการเสนอให้ผู้สนับสนุน/สปอนเซอร์ ขอสปอนเซอร์_ภูเก็ตคิงส์คัพ_(ปี_2012)รร.นร
การปฏิบัติเมื่อเดินทางไปถึงสนามแข่งขัน ฯ
แบ่งเป็นสองทีม
– ทีมสนับสนุน
– ทีมนักกีฬา
๑. ทีมสนับสนุนตรวจความพร้อมของเรือใบให้มีความพร้อมที่สุดก่อนเข้าร่วมการแข่งขันรายการภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้า เตรียมความพร้อม กรณีที่มีการชำรุดเสียหายในระหว่างการแข่งขัน ต้องทำการซ่อมทำ ให้เสร็จก่อนกทำการแข่งขันของวันต่อไป ตรวจสอบน้ำมันเรือใบและเรือยาง ให้พร้อมในแต่ละวัน จัดซื้ออาหารเช้าและกลางวันสำหรับนักกีฬาแต่ละวัน ก่อน ๐๖๐๐
๒. ทีมนักกีฬา ลงทะเบียนที่คณะจัดการแข่งขัน ฯ ตรวจวัดใบ ๔ ใบ สำหรับใช้ในการแข่งขันภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้า และทำการซ้อมในสนามจริง
การปฏิบัติของทีมสนับสนุน (เจ้าหน้าที่ทั้งหมด)
๑. การเตรียมเรือ
- จัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมใช้ เช่น วิทยุสื่อสาร อุปกรณ์ซ่อมทำเรือ ชูชีพ เป็นต้น
- ทำการยึดเรือให้ติดกับรถชานต่ำอย่างมั่นคงที่ อจปร.
๒.ควบคุมการลำเลียงเรือ/รถชานต่ำไปยัง ฐท.พง.
- ตรวจสอบการยึดลำเรือทุก ๓ ชั่วโมง
๓.ขั้นตอนการนำเรือลงจากชานต่ำ รายละเอียดอยู่ในการยกเรือด้วยรถเครนที่ ฐท.พง.
๔.เดินทางไปภูเก็ตโดยรถตู้ รร.นร. เพื่อรอสนับสนุนต่อไป
การเตรียมพร้อมด้านตัวนักกีฬา
ตัวอย่างบันทึกข้อความ เรื่อง 61_2_บันทึก ขอส่งแผนการส่งนักกีฬาและประมาณการรายจ่าย 2561
การนำเรือกลับจาก จ.ภูเก็ต-จ.พังงา
– จัดบุคลากรในการนำเรือกลับ จำนวน ๖-๗ นาย โดยมีหัวหน้าทีม ๑ นายที่มีความรู้ ความสามารถในการเล่นใบได้ เพื่อเป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมทีม เพราะอาจจะมีเหตุการณ์เครื่องชำรุดเสียหายระหว่างทางได้ เราต้องสามารถใช้ใบแล่นกลับได้จากอ่าวกะตะ จ.ภูเก็ต – ฐท.พังงา จ.พังงาของเช้าวันรุ่งขึ้น หลักจากการแข่งขันเสร็จ เวลาประมาณ ๐๗๐๐ โดยมีการจัดเตรียมอาหาร และน้ำดื่ม สำหรับมื้อกลางวันให้เพียงพอสำหรับบุคลากรให้ทีมที่ไปกับเรือ เนื่องจากการเดินทางใช้เวลาประมาณ ๗-๘ ชม. ขึ้นอยู่กับกระแสน้ำ-กระแสลม ในวันที่เดินทางกลับ
เมื่อถึง ฐท.พังงา ให้จัดเก็บอุปกรณ์ต่างๆให้เรียบร้อย นำอุปกรณที่มีความสำคัญ และมีความเสี่ยงต่อการสูญหาย เช่น กล้องสองตา GPS. วิทยุสื่อสารเคลื่อนที่ ขึ้นไปไว้บนรถ เพื่อป้องกันการสูญหาย เนื่องจากเรือจะต้องจอดเทียบท่าจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น เพื่อนำขนย้ายขึ้นรถชานต่ำในเช้าวันรุ่งขึ้นเพื่อนำกลับ อจปร.
ตัวอย่างบันทึกข้อความ เรื่อง ขออนุมัติให้ข้าราชการนำเรือใบกลับจาก ฐท.พง.
การปฏิบัติเมื่อถึง รร.นร.