ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของอุบัติเหตุ 3 ประการ ประการแรกคือ ผู้รับอุบัติเหตุ ต่อมาคือ สิ่งที่เป็นเหตุ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ สุดท้ายได้แก่ เวลาและสถานที่เกิดเหตุ และสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ เกิดได้จาก ตัวบุคคล ตัวเครื่องมือหรือยานพาหนะ และสภาพแวดล้อม
ห่วงโซ่รอดชีวิตจากการเจ็บป่วยทางน้ำ ประกอบด้วย การป้องกัน(Prevention) การเข้าช่วยเหลือ(Rescue)
การดูแลรักษา(Care) และการเคลื่อนย้ายส่งต่อ(Transportation and Evaluation)
การป้องกันเพื่อให้เกิดความปลอดภัยทางน้ำหลักการป้องกันอุบัติเหตุ ดำเนินได้ 3 ประการ คือ
- แก้ไขและซ่อมแซมอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ และเครื่องมือที่ใช้ควรออกแบบให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้
- ให้ความสนใจแก่บุคคลที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ผู้ดื่มสุรา คนที่สายตาและร่างกายไม่สมบูรณ์ โดยควรหาทางป้องกันเป็นพิเศษ
- ควบคุมและแก้ไขสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น จัดการจราจรทางน้ำให้ดี หากสิ่งแวดล้อมใดที่มีการเกิดอุบัติเหตุสูงกว่าปกติ ควรวิเคราะห์หาทางป้องกันแก้ไขโดยเร็ว
หลักการดูแลผู้ป่วยเจ็บทางน้ำ มีลำดับการดูแลในลักษณะเดียวกันกับผู้ป่วยเจ็บในพื้นที่ห่างไกลทางการแพทย์ ใช้หลักการ ตรวจสอบ (Check) ร้องขอ (Call) ดูแล (Care) โดยอาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมของทรัพยากรที่มีอยู่ในบริเวณนั้นๆ
การช่วยชีวิตผู้ตกน้ำและผู้ป่วยจมน้ำ (Aquatic Rescue)
หากเป็นไปได้พยายามช่วยชีวิตในทุกกรณี โดยไม่ต้องลงไปในน้ำ พูดคุย และยื่นสิ่งของเข้าช่วยเหลือหรือโยนเชือกหรือวัสดุลอยน้ำ หากตกน้ำในบริเวณใกล้ฝั่งหากจำเป็นต้องลงไปในน้ำต้องนำอุปกรณ์ช่วยเหลือและลอยตัวไปด้วยเสมอ และควรลงไปอย่างน้อย 2 คน ไม่ควรกระโดดพุ่งหลาว เนื่องจากอาจคลาดสายตาและได้รับบาดเจ็บกระดูกคอ
การช่วยหายใจสามารถกระทำได้ตั้งแต่อยู่บนผิวน้ำและระดับน้ำตื้นก่อนขึ้นฝั่ง หากผู้ช่วยเหลือได้รับการฝึกฝนและไม่ตกอยู่ในอันตรายให้การช่วยหายใจเป็นจานวน 5 ครั้งให้เร็วที่สุด หากยังอยู่ในระดับน้ำลึกหากได้รับการฝึกฝนและมีอุปกรณ์ช่วยลอยตัวให้ช่วยหายใจ 10-15 ครั้งต่อนาที และกระทำในระหว่างการลากขึ้นสู่ฝั่ง หากนานเกินกว่า 5 นาทีให้ช่วย หายใจต่ออีกประมาณ 1 นาที แล้วนำขึ้นสู่ฝั่งให้เร็วที่สุดโดยไม่ต้องช่วยหายใจอีก
การกู้ชีพและดูแลขั้นต้น
เนื่องจากพบการรอดชีวิตที่มีการฟื้นตัวเป็นปกติหลังจากจมน้ำเป็นเวลานานในน้ำแข็ง หรือกระทั่งน้ำอุ่น ดังนั้นไม่ควรรอที่จะให้ทำการกู้ฟื้นคืนชีพ และส่งไปแผนกฉุกเฉิน การตัดสินใจไม่กู้ชีพ หรือยุติการกู้ชีพ กระทำได้ยากและการตัดสินใจซึ่งหน้าในพื้นที่หลายครั้งพบว่าไม่ถูกต้อง ให้พิจารณาตัดสินใจเริ่มการกู้ชีพหากจมน้ำไม่นานเกิน 60 นาที ยกเว้นผู้จมน้ำเสียชีวิตแล้วอย่างเห็นได้ชัด เช่น ลำตัวขาดกลาง มีลักษณะของการตายปรากฏชัด เช่น เน่า
อัตราการรอดชีวิตและไม่พิการขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการอยู่ใต้น้ำ อุณหภูมิน้ำ และความพร้อมในการกู้ชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วยหายใจหลังขึ้นจากน้ำ โดยให้เอาขึ้นจากน้ำอย่างปลอดภัยและรวดเร็ว โดยต้องระวังอันตรายของตนเอง หากได้รับการฝึกอาจเริ่มช่วยหายใจตั้งแต่อยู่ในน้ำ หากแต่จะต้องไม่ทำให้การย้ายขึ้นจากน้ำเกิดความล่าช้า
การช่วยหายใจอาจเลือกใช้ปากต่อจมูก(Mouth-to-Nose) แทนปากต่อปากหากยากในการบีบจมูก ประคองศีรษะเปิดทางเดินหายใจ ไม่ควรกดนวดหน้าอกระหว่างอยู่ในน้ำเนื่องจากไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอและทำให้ขึ้นจากน้ำล่าช้า เมื่อขึ้นจากน้ำแล้วอย่าเสียเวลาในการอัดหน้าอก (chest thrust) หรือกดท้อง (abdominal thrust) รวมถึง Heimlich maneuver หรือ เอาพาดบ่าให้น้ำไหลออก เนื่องจากอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บสำลักและล่าช้าในการช่วยเหลือ หากมีผู้ช่วยเหลือคนเดียว ให้เริ่มต้นการกู้ฟื้นคืนชีพโดยเริ่มต้นด้วยการหายใจไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง (เนื่องจากกระทำได้ยากเนื่องจากมีน้ำในทางเดินหายใจ) ตามด้วยกดนวดหน้าอก 30 ครั้ง ต่อด้วยการช่วย หายใจ 2 ครั้ง และกดนวดหน้าอก 30 ครั้ง จนกว่าจะมีสัญญาณชีพ หากมีคนเดียวให้ทำประมาณ 5 รอบ หรือ 2 นาที แล้วกระตุ้นระบบฉุกเฉิน หากมีมากกว่า 1 คน ให้ 1 คนไปกระตุ้นระบบฉุกเฉิน
การกู้ชีพยังคงใช้ระบบดังเดิม คือ การช่วยหายใจควรกระทำ 2 ครั้ง โดยให้มีการเคลื่อนไหวของอก หากผู้ป่วยยังไม่ตอบสนองหรือหายใจให้ติดแผ่นตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจากเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED) โดยเช็ดหน้าอกให้แห้งก่อนทำการกระตุกไฟฟ้า ตามคำแนะนำตามลักษณะของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ตรวจพบ
การบาดเจ็บของไขสันหลังพบได้น้อยมาก (ร้อยละ 0.5) ไม่ควรเสียเวลาในการดามกระดูกคอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดามที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้มีการอุดกั้นทางเดินหายใจและทำให้ล่าช้าในการช่วยหายใจ ควรสงสัยในรายที่มีอาการทางคลินิกชัดเจน มีร่องรอยการได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ใช้ยานพาหนะ ที่ลื่นไหลบนน้ำ เช่น สกีน้ำ Surf หรือเจ็ทสกี เป็นต้น อยู่ภายใต้การออกฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ หรือมีประวัติกระโดดพุ่งหลาวลงน้ำ อาจพิจารณาดามกระดูกคอ และสันหลัง หรือหากหยุดหายใจไม่มีชีพจร รีบนำขึ้นโดยจำกัดการเคลื่อนไหวของศีรษะและลำคอ และการจัดท่าพักฟื้น modified High Arm IN Endangered Spine (H.A.IN.E.S) ซึ่งแขนด้านล่างยืดเหนือศีรษะ
ผู้ป่วยจมน้ำที่ได้รับการช่วยหายใจ ประมาณ 2 ใน 3 จะมีการ อาเจียนและมากกว่านั้นหากได้รับการกดนวดหัวใจร่วมด้วยในระหว่างการช่วยเหลือ หากผู้ป่วยอาเจียนให้ตะแคงไปด้านข้าง และนำเอาออกด้วยนิ้วหรืออุปกรณ์ ดูดสิ่งคัดหลั่ง (suction) หากมีสงสัยการบาดเจ็บกระดูกสันหลังคอให้ใช้วิธีกลิ้ง เช่นท่อนซุง โดยให้ ศีรษะ คอ และลำตัว ไปพร้อมกัน
ที่มา : คู่มือแนวทางปฏิบัติการฉุกเฉินทางน้ำและทะเล