พิธีลอยอังคาร
* * * * *
ความเป็นมา
ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า พิธีลอยอังคาร (หมายถึง พิธีการลอยอัฐิ – กระดูก และอังคาร – เถ้า ลงน้ำ)มีความเป็นมาอย่างไร และคนไทยเริ่มต้นลอยอังคารกันมาตั้งแต่สมัยใด เป็นแต่เพียงสันนิษฐานว่า พิธีกรรมนี้ได้รับอิทธิพลมาจากชาวอินเดีย ซึ่งนับถือศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู
เนื่องจากพิธีเผาศพของชาวฮินดูนั้นนิยมเผากันที่ริมน้ำ และหลังจากการเผาแล้วเขาจะไม่เก็บกระดูกมารักษาไว้เหมือนอย่างบ้านเราและเพราะต้องการให้ทั้งกระดูกและเถ้าได้ถูกกวาดลงแม่น้ำ
(จะเห็นภาพดังกล่าวทุกวันที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย) โดยมีความเชื่อว่า ทำให้ผู้ล่วงลับไปแล้วได้ไปสู่สรวงสวรรค์
สารบัญ
ความมุ่งหมาย
คนไทยคงถือคติตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น จึงประกอบพิธีลอยอังคารขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นพิธีการสุดท้ายในขั้นตอนการพิธีศพ คือนำอัฐิและอังคารส่วนหนึ่งไปไว้ในที่อันเหมาะสม ทั้งนี้โดยถือปฏิบัติตามคตินิยมว่า ผู้ล่วงลับไปแล้วจะมีความร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากความทุกข์ความเดือดร้อน บรรดาญาติของผู้ตายมีความประสงค์ให้ผู้ตายแม้เกิดที่ใด ๆ ก็ให้อยู่เป็นสุขเหมือนน้ำที่มีแต่ความชุ่มเย็น จึงนิยมลอยอังคารในน้ำ
การบำเพ็ญกุศล
ก่อนจะนำอังคารไปลอยตามวันที่กำหนด นิยมบำเพ็ญกุศลบังสุกุลให้เสร็จเรียบร้อยก่อนนำอังคารลงเรือ จะทำก่อนหลายวันหรือทำในวันลอยก็ได้จะนิมนต์พระสงฆ์จำนวนกี่รูปนั้นขึ้นอยู่กับศรัทธาของเจ้าภาพ (พระ ๑ – ๔ รูป) ไม่ควรนิมนต์พระสงฆ์ลงไปในเรือเพื่อให้ท่านบังสุกุล เพราะอาจจะเกิดความไม่สะดวกและเป็นความลำบากของพระ (หากจะนิมนต์พระที่คุ้นเคยลงเรือไปในพิธีด้วยบ้างก็ได้)
หมายเหตุ จะทำพิธีไหว้อังคารให้แล้วเสร็จพร้อมในคราวบำเพ็ญกุศลก็ได้
เครื่องใช้ประกอบพิธี
๑. สำหรับบูชาแม่ย่านางเรือ
– ดอกไม้สด ๑ กำ หรือพวงมาลัย ๑ พวง
– ธูป ๗ ดอก เทียนหนัก ๑ บาท ๑ เล่ม
– พานเล็ก ๑ ใบ (ใส่ดอกไม้ ธูป – เทียน ขณะบูชาแม่ย่านางเรือ)
– เชือก ๑ เส้น (สำหรับมัดธูป – ดอกไม้ที่เสาหัวเรือ)
๒. สำหรับไหว้อังคาร
– ลุ้งใส่อังคาร (ควรเป็นลุ้งดิน หรือห่อด้วยผ้าขาว) ๑ ลุ้ง
– พวงมาลัย ๑ พวง
– ดอกมะลิ กลีบกุหลาบ หรือดอกไม้อื่น ๆ (สำหรับผู้ร่วมพิธีโรยบนอังคาร)
– ๒ –
– น้ำอบไทย ๑ ขวด
– ดอกกุหลาบเท่าจำนวนผู้ร่วมพิธี
– ธูปเทียนเครื่องทองน้อย ๑ ชุด (หรือธูป ๑ ดอก เทียนหนัก ๑ บาท ๒ เล่ม พร้อมกระถางธูปเชิงเทียน ๑ ชุด)
– สายสิญจน์ ๑ ม้วน
– ผ้าขาว (กว้าง – ยาว ๑/๒ เมตร) ๑ ผืน
– พานโตก (ขนาดกลาง) รองลุ้งอังคาร ๑ ใบ
– พานก้นลึก (ขนาดเล็ก) ใส่ดอกไม้ต่าง ๆ ๑ ใบ
– พานก้นตื้น ใส่เงินเหรียญ ๑ ใบ
๓. สำหรับบูชาเจ้าแม่นที – ท้าวสีทันดร
– กระทงดอกไม้ ๗ สี ๑ กระทง
– ธูป ๗ ดอก เทียนหนัก ๑ บาท ๑ เล่ม
– พานโตก (ขนาดกลาง) รองกระทงดอกไม้ ๗ สี ๑ ใบ
ลำดับการปฏิบัติ
๑. การบูชาแม่ย่านางเรือ
– คณะญาติมิตรนำอังคารไปสู่ท่าเทียบเรือ
– พิธีกรนำประธานในพิธี (ญาติอาวุโส) ลงเรือก่อนนอกนั้นรอบนท่าเทียบเรือ
– ประธาน นำดอกไม้ ธูป – เทียน (ใส่รวมในพาน) จุดบูชาแม่ย่านางเรือที่หัวเรือ
– กล่าวบูชาและขออนุญาตแม่ย่านางเรือ โดยประธานกล่าวเองหรือพิธีกรกล่าวนำ
คำกล่าวบูชา / ขออนุญาตแม่ย่านางเรือ
(ตั้งนะโม ๓ จบ)
นะมัตถุ/ นาวานิวาสินิยา/ เทวะตายะ/ อิมินา สักกาเรนะ/ นาวานิวาสินิง/ เทวะตัง/ ปูเชมิ.
ข้าพเจ้า/ ขอน้อมไหว้บูชา/ แม่ย่านางเรือ/ ผู้คุ้มครองรักษาเรือลำนี้/ ด้วยเครื่องสักการะนี้
ด้วยข้าพเจ้า / พร้อมด้วยญาติมิตร / ขออนุญาตนำอัฐิและอังคาร / ของ … / ลงเรือลำนี้ / ไปลอยในทะเล / ขอแม่ย่านางเรือ / ได้โปรดอนุญาต / ให้นำอัฐิและอังคารลงเรือได้ / และได้โปรดคุ้มครองรักษา /ให้ข้าพเจ้าและญาติมิตร / กระทำพิธีลอยอัฐิและอังคาร / ด้วยความสะดวกและปลอดภัย / โดยประการทั้งปวงเทอญ.
– คณะญาติมิตรนำอังคารลงเรือ
– ออกเรือไปยังจุดที่จะลอยอังคาร
๒. การไหว้อังคาร สามารถทำการไหว้อังคารได้ในคราวเดียวกับการบำเพ็ญกุศลก่อนนำอังคารลงเรือ หรือจะทำการไหว้อังคารบนเรือก่อนทำพิธีลอยลงน้ำก็ได้ ดังนี้
– ๓ –
๒.๑ ไหว้อังคารพร้อมการบำเพ็ญกุศลก่อนนำลงเรือ
– นำอังคารสู่วัด หรือสถานที่ประกอบพิธี
– ประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย จุดธูปเทียนไหว้อังคาร สรงด้วยน้ำอบไทย โปรยดอกมะลิ, กลีบกุหลาบหรือดอกไม้อื่น ๆ
– พิธีกรห่อลุ้งอังคารด้วยผ้าขาว ยาว – กว้าง ๑/๒ เมตร รวบมัดด้วยสายสิญจน์ทำเป็นจุกข้างบนไว้เพื่อสอดสวมพวงมาลัยในวันลอย
– พระสงฆ์ให้ศีล ทุกคนรับศีลพร้อมกัน
– ประธานในพิธีทอดผ้าบังสุกุล
– พระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุลแล้ว อนุโมทนา
– ประธานในพิธีกรวดน้ำ
– เสร็จพิธีสงฆ์และไหว้อังคาร
๒.๒ ไหว้อังคารบนเรือก่อนทำพิธีลอยลงน้ำ
– เมื่อเรือแล่นถึงจุดหมายแล้วให้หยุดเรือลอยลำ
– พิธีกรเปิดลุ้งอังคารจัดเครื่องไหว้อังคารให้ประธานในพิธี
– ประธานในพิธีจุดธูปเทียนไหว้อังคาร สรงด้วยน้ำอบไทย โรยดอกมะลิ,
กลีบกุหลาบ, ดอกไม้อื่น ๆ
– เมื่อทุกคนไหว้อังคารเสร็จแล้วพิธีกรห่อลุ้งอังคารด้วยผ้าขาว ยาว – กว้าง ๑/๒ เมตรรวบมัดด้วยสายสิญจน์ทำเป็นจุกข้างบนแล้วสอดสวมพวงมาลัย
– พิธีกรแจกดอกกุหลาบให้คณะญาติมิตร คนละ ๑ ดอก
๓. การบูชาเจ้าแม่นที – ท้าวสีทันดร
– พิธีกรจัดเครื่องบูชาเจ้าแม่นที – ท้าวสีทันดรให้ประธานในพิธี
– ประธานในพิธีจุดเทียน ๑ เล่ม และธูป ๗ ดอก ที่กระทงดอกไม้ ๗ สี
– กล่าวบูชา / กล่าวฝากอังคารกับเจ้าแม่นที – ท้าวสีทันดร โดยประธานในพิธีกล่าวเองหรือพิธีกรกล่าวนำ
คำกล่าวบูชา / กล่าวฝากอังคารกับเจ้าแม่นที – ท้าวสีทันดร
(ตั้งนะโม ๓ จบ)
นะมัตถุ/ อิมิสสัง/ มะหานะทิยา/ อะธิวัตถานัง/ สุรักขันตานัง/ สัพพะเทวานัง/ อิมินา สักกาเรนะ/สัพพะเทเว/ ปูเชมะ.
ข้าพเจ้าทั้งหลาย/ ขอน้อมไหว้บูชา/ เจ้าแม่นที/ ท้าวสีทันดร/ และเทพยดาทั้งหลาย/
ผู้สถิตคุ้มครองรักษาอยู่/ ในทะเลนี้/ ด้วยเครื่องสักการะนี้
ด้วยข้าพเจ้า…
– ๔ –
ด้วยข้าพเจ้าทั้งหลาย/ ได้ประกอบกุศลกิจ/ อุทิศส่วนบุญ/ แก่………./ ผู้วายชนม์/ และ ณ บัดนี้/จักได้ประกอบพิธี/ ลอยอัฐิและอังคาร/ ของ………./ พร้อมกับขอฝากไว้/ ในความอภิบาล/ ของเจ้าแม่นที/ท้าสีทันดร/ เจ้าแห่งทะเล/ และเหล่าทวยเทพทั้งปวง
ขอเจ้าแม่นที/ ท้าวสีทันดร/ แม่ย่านางเรือ/ และเทพยดาทั้งหลาย/ ได้โปรดอนุโมทนา/
ดลบันดาล/ ให้ดวงวิญญาณของ………./ จงเข้าถึงสุคติ/ ในสัมปรายภพ/ ประสบสุข/ ใน ทิพยวิมาน/
ชั่วนิจนิรันดร์กาลเทอญ.
๔. วิธีการลอย
– เมื่อกล่าวบูชา,กล่าวฝากอังคารกับเจ้าแม่นที – ท้าวสีทันดรเสร็จแล้ว พิธีกรเชิญทุกคนยืนขึ้นไว้อาลัย
– ประธานในพิธีโยนเงินเหรียญ (ตามสมควร) ลงทะเล เพื่อซื้อที่ตามธรรมเนียม แล้วลงบันไดเรือทางกราบซ้าย ลอยกระทงดอกไม้ ๗ สี โดยใช้มือประคอง ค่อย ๆ วางบนผิวน้ำ ต่อจากนั้น
อุ้มประคองห่อลุ้งอังคารค่อย ๆ วางบนผิวน้ำ โดยให้ผู้ร่วมพิธีทุกคนถือสายสิญจน์ด้วย
– หากกราบเรือสูงจากผิวน้ำมากเกินไป และไม่มีบันไดลงเรือ ให้ใช้สายสิญจน์ทำเป็นสาแหรก ๔ สาย จำนวน ๒ สาแหรก คือใส่กระทงดอกไม้ ๗ สี ๑ สาแหรก และใส่ห่อลุ้งอังคาร ๑ สาแหรกหย่อนลอยลงไป (ห้ามโยนลง)
– เมื่อห่อลุ้งอังคารลงสู่ผิวน้ำแล้ว ให้โรยดอกกุหลาบ ธูป เทียน ตามลงไป และสิ่งของสำหรับไหว้บูชาที่เหลือทั้งหมดก็ให้โรยตามลงไปด้วย
– เรือวนซ้าย ๓ รอบ
เสร็จพิธีลอยอังคาร
หากต้องการใช้บริการ ติดต่อได้ที่ โทร.084-0961881 หรือ 086-1007142