“การปรับกระบวนทัศน์ (paradigm shift) เพื่อการพัฒนาสู่ RTNA 4.0”
สารบัญ
๑. เหตุผล และความจำเป็น
รร.นร.เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตนายทหารสัญญาบัตรหลักของ ทร. จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาให้เป็นหน่วยงานชั้นนำ มีการปฏิบัติงานที่เหนือมาตรฐาน มีการทำงานบนฐานฐานความรู้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบันและรูปแบบการปฏิบัติงานที่ไม่เหมือนเดิม ซึ่งปัญหาการปฏิบัติงานในปัจจุบัน ทั้งที่สะสมจากอดีต และปัญหาใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น ผลักดันให้ รร.นร.ต้องมีการสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงาน ให้การค้นหา/สร้าง/รวบรวม/กลั่นกรอง และจัดเก็บความรู้เป็นระบบ เพื่อให้บุคลากรที่ต้องการใช้ความรู้เหล่านั้น สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา นอกจากนั้น บุคลากรทั้งผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารจะต้องมีการเรียนรู้ มีการพัฒนาการทำางานอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ซึ่งไม่เพียงจะช่วยให้ รร.นร.อยู่รอดปลอดภัยในโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็วและมีการแข่งขันสูงแล้ว ยังมีความเติบโตก้าวหน้าอย่างยั่งยืน และพร้อมที่จะยกระดับเป็นองค์กรนวัตกรรม และองค์กรขีดสมรรถนะสูงในอนาคตอีกด้วย
“การปรับกระบวนทัศน์ (paradigm shift) เพื่อการพัฒนาสู่ RTNA 4.0” นับว่าเป็นจุดเริ่มต้น ในการวางรากฐานเพื่อการพัฒนาทั้งด้านขีดสมรรถนะการปฏิบัติงานตามตำแหน่งของบุคลากร กระบวนการปฏิบัติงานที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยในการจัดระบบฐานความรู้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึง/นำความรู้ไปใช้ ซึ่งการบรรลุถึงความสำเร็จตามเป้าหมายได้นั้น ต้องอาศัย ระยะเวลา พลังกายพลังใจจากบุคลากรทั้งหมดของ รร.นร. ที่จะทำให้ภารกิจการพัฒนาสู่ RTNA 4.0 สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ และพันธกิจของ รร.นร.ในอันที่จะทำให้ รร.นร.เป็นสถาบันแห่งการเรียนรู้ และมีการปฏิบัติอย่างมืออาชีพ สามารถทำให้วิสัยทัศน์ของ รร.นร.เป็นเรื่องที่เป็นไปได้
“การปรับกระบวนทัศน์ (paradigm) เพื่อการพัฒนาสู่ RTNA 4.0” จึงเป็นการพลิกวิกฤติ เป็นโอกาส เพื่อการพัฒนาแบบก้าวกระโดด มุ่งตอบสนองวิสัยทัศน์ของ รร.นร. ที่ว่า” โรงเรียนนายเรือจะเป็นสถาบันผลิตนายทหารเรือ ที่เป็นเลิศในภูมิภาคอาเซียน” และจำนวนผลผลิตที่มีคุณลักษณะที่กล่าวได้ว่า “มีความเป็นเลิศ” คือจำนวนผลผลิตร้อยละ ๑๐๐ ของ นนร.ทั้งหมดที่ผลิตได้ในแต่ละปี โดยได้กำหนดเกณฑ์ “คุณลักษณะของความเป็นเลิศ” ไว้ดังนี้
– การศึกษาตามหลักสูตรการศึกษา รร.นร. น้ำหนักร้อยละ ๒๕
– ขีดสมรรถนะทางกาย น้ำหนักร้อยละ ๒๕
– คุณธรรม จริยธรรม น้ำหนักร้อยละ ๒๕
– ภาวะผู้นำ น้ำหนักร้อยละ ๒๕
นอกจากนั้น “การปรับกระบวนทัศน์ (paradigm shift) เพื่อการพัฒนาสู่ RTNA 4.0” ยังมีที่มาจากนโยบายประเทศไทย 4.0 ซึ่งเป็นกระแสนำในปัจจุบัน โดยในบริบทของ รร.นร.ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษา ที่มีลักษณะเฉพาะในการผลิตนายทหารชั้นสัญญาบัตรหลักของ ทร. ได้ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อน รร.นร. ด้วยนวัตกรรม เริ่มต้นสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรม การสร้างฐานข้อมูลความรู้ขนาดใหญ่ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันของคนทั้ง รร.นร. โดยการพัฒนาขีดสมรรถนะข้าราชการทุกระดับในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานทุกสาขาให้สามารถเผชิญกับความท้าทายที่เกิดขึ้น เพื่อความเป็นมืออาชีพตามนโยบาย ผบ.ทร.๕๙ ให้ได้ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗ ทั้งนี้ รร.นร. ได้เล็งเห็นแล้วว่าการที่จะทำให้ รร.นร.อยู่รอดปลอดภัยในโลกที่เปลี่ยนแปลงและมีการแข่งขันสูง มีฐานในการสร้างความเติบโตก้าวหน้าอย่างยั่งยืน และพร้อมที่จะยกระดับเป็นองค์กรนวัตกรรม และองค์กรขีดสมรรถนะ สูงในอนาคตได้นั้น จำเป็นต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Change) อย่างลึกซึ้งและมีความหมาย
แนวคิดของการ “เปลี่ยน” ที่ได้มาจากนโยบายประเทศไทย 4.0 ทำให้ส่วนราชการทุกภาคส่วน ต้องหันกลับมามองหน่วยงานของตนเองว่าขณะนี้ เรายืนอยู่ตรงจุดไหน ซึ่งในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเกินกว่าที่เราจะคิดได้นั้น กระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบให้เกิดความจำเป็นที่ รร.นร. ต้องปรับ ทั้งในเรื่องของกระบวนทัศน์ด้านบริหารจัดการจากแบบเดิม ๆ ไปสู่กระบวนทัศน์ใหม่ เช่น จาก แนวคิดแบบยุคอุตสาหกรรม ไปสู่ยุคสารสนเทศ จากเดิมเน้นความมั่นคงไปสู่การมุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จากที่เคยใช้วิธีควบคุมที่ศูนย์อำนาจ ไปสู่การมุ่งกระจายอำนาจ กระจายความรับผิดชอบในการตัดสินใจ ให้แก่ข้าราชการระดับรอง ๆ ลงมา จากแนวคิดของบุคลากรที่ทำงานแบบต่างคนต่างทำไปเป็นการมุ่งแสวงหาความร่วมมือ จากที่เคยมุ่งไปที่ความสำเร็จของงาน ไปเป็นการให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงาน และบุคลากร และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และจากการเน้นความเหมือนกัน ไปสู่การเน้นให้มีความแตกต่างที่หลากหลายเพื่อให้ความหลากหลายกลายเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ เป็นต้น
จากการทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา สรุปประเด็นสำคัญได้ ดังนี้
ด้านคน
จุดแข็ง
๑. กำลังพลผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการความรู้
๒. กำลังพลสามารถใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ในการถ่ายทอดความรู้ของตนเอง
๓. กำลังพลมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตน
๔. กำลังพลพร้อมให้ความร่วมมือในการร่วมกิจกรรมการจัดการความรู้
๕. กำลังพลมีความรู้หลากหลายสาขาวิชา ทำให้โอกาสในการ ลปรร.ให้เกิดความคิดริเริ่ม และนวัตกรรมสูง
จุดอ่อน
๑. มีการโยกย้ายกำลังพลระดับผู้บริหารส่วนใหญ่ รวมทั้งผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญของ รร.นร.บ่อย ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน และไม่สามารถเชื่อมโยงงานด้านต่าง ๆ ของ รร.นร.เข้าด้วยกัน เช่น ไม่สามารถเขื่อมโยงงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ให้เข้ากับงานการจัดการความรู้ และงานประกันคุณภาพการศึกษา และไม่สามารถกำหนดหัวข้อความรู้ที่สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ของ รร.นร. รวมทั้งทำให้การผลักดันให้มีการนำความรู้ที่ผู้ใต้บังคับบัญชาทำไว้แล้วเป็นไปได้ยาก เพราะไม่ทราบว่ามีการจัดเก็บความรู้ไว้ที่ไหน ใครเป็นคนทำอะไรไว้บ้าง
๒. กำลังพลส่วนใหญ่ ยังคงปฏิบัติงานไปตามความเคยชิน มากกว่าทำงานบนฐานความรู้ เนื่องจากไม่ทราบว่ามีการจัดเก็บความรู้ไว้ที่ไหน ใครเป็นคนทำอะไรไว้บ้าง ทำให้ไม่เกิดการพัฒนาเท่าที่ควร
ด้านกระบวนการ
จุดแข็ง
๑. มีกลยุทธ์ในการดึงความรู้จากตัวคนมาจัดเก็บเป็นเอกสาร ทำให้ รร.นร.มีองค์ความรู้จำนวนมาก และสามารถต่อยอดกระบวนงานต่าง ๆ ได้
๒. มีการจัดเก็บความรู้ตามหน่วยผู้ใช้ สำหรับกำลังพลทั่วไปที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
๓. มีการพัฒนางานและนวัตกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้
จุดอ่อน
๑. การบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง และนวัตกรรมยังไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากการบูรณาการการจัดการความรู้ กับเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐยังไม่มีประสิทธิภาพ
๒. ขาดเครื่องมือบริหารจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ
๓. โอกาสในการเกิดนวัตกรรมมีค่อนข้างน้อย เนื่องจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่ กระบวนการจัดการความรู้สะดุดอยู่ที่ขั้นตอนของการนำความรู้ไปใช้ และกำลังพลมีภาระงานจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในกระบวนงานหลักของ รร.นร. ซึ่งเมื่อไม่ได้นำความรู้ไปใช้ ก็ไม่เกิดการต่อยอด หน่วยไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควรจะเป็น ทำให้การจัดการความรู้ถูกมองว่าเป็นงานที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรที่คุ้มค่า
๔. การจัดเก็บความรู้ และเข้าถึงความรู้ในระบบสารสนเทศยังไม่มีความสะดวก เนื่องจาก รร.นร.ขาดบุคลากรที่ทำหน้าที่นี้โดยตรง การ upload การ update ความรู้ยังต้องอาศัย Admin ของ รร.นร.เพียงหนึ่งหรือสองคน(อาจารย์) ซึ่งมีภาระงานประจำอยู่แล้ว และมีหน้าที่โดยตรงในการปรับปรุงเว็บไซต์ของ รร.นร. ดังนั้นงานในส่วนการจัดการความรู้ ซึ่งต้องมีการปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จึงนับว่าเป็นภาระมากเกินกว่าที่ Admin ของ รร.นร.จะรับไหว
๕. การเชื่อมโยงความรู้ของทุกหน่วยใน รร.นร. นับว่ามีความสำคัญในการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน แต่ปัจจุบัน ยังไม่มีเครื่องมือในการดำเนินการดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านเทคโนโลยี
จุดแข็ง
๑. รร.นร.มีข้าราชการที่ศักยภาพในการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อให้ รร.นร.ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้เทคโนโลยีช่วยกรบริหารจัดการ โดยเฉพาะบุคลากรที่เป็นอาจารย์ ทำให้มีการค้นคว้า มีโอกาสในการเรียนรู้ และทันต่อการเปลี่ยนแปลง
๒. ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องทุกยุคทุกสมัย และสนับสนุนงบประมาณพัฒนาระบบเครือข่าย ทั้ง Hardware และ Software ทั้งนี้เป็นผลพลอยได้จากการที่ รร.นร.เป็นสถาบันการศึกษา ที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯ มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ที่บังคับให้ รร.นร.มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้าน IT แก่ นนร.อย่างเพียงพอ
จุดอ่อน
๑. รร.นร.ไม่มีอัตราสำหรับผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง
๒. ระบบอินเตอร์เน็ตไร้สาย ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ของหน่วยงานภายใน รร.นร.
คณะกรรมการฯ ได้นำผลการประเมินสถานการณ์มาพิจารณา โดยจัดสัมมนาฯ ผู้บังคับบัญชาระดับสูง เพื่อหาแนวทางในการทำให้ทุนทางปัญญาที่ รร.นร.มีอยู่จำนวนมาก (กล่าวคือ รร.นร.มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มีความคิดริเริ่มอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งหาก รร.นร.สามารถผนึกกำลังบุคลากรทั้งหลายเหล่านั้นได้ รร.นร.จะมีโครงสร้างที่เข้มแข็ง สามารถเผชิญกับความท้าทายที่เกิดขึ้น) ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของ รร.นร. ซึ่งผลการสัมมนาฯ ทำให้ รร.นร.เห็นว่าการยกระดับ รร.นร.สู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ อง๕กรนวัตกรรม และองค์กรขีดสมรรถนะสูงนั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับ รร.นร. ได้แก่
๑. การผสานความรู้ของบุคลากรที่มีความหลากหลาย ทั้งสาขาวิชา คุณวุฒิ และวัยวุฒิ รวมทั้งคนเก่า คนใหม่ให้สามารถถ่ายทอด ลปรร.กันได้อย่างทั่วถึงทั้ง รร.นร.
๒. สร้างจริยธรรมใหม่ของการทำงาน โดยบุคลากรต้องมีความผูกพันกับ รร.นร. มีความจงรักภักดีกับ รร.นร. เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านค่านิยมในการทำงานมากขึ้น เช่น สร้างจิตสำนึกของการเป็นเจ้าของ รร.นร. การทำงานเป็นทีม การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
๓. มีการเรียนรู้และนำองค์ความรู้ไปใช้ในการทำงาน แทนที่จะทำงานด้วยความเคยชิน
๔. สร้างพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีและการเข้าถึงสารสนเทศ และใช้สารสนเทศร่วมกันได้รวดเร็วมากขึ้น
๕. บุคลากรต้องมีความยืดหยุ่น กล่าวคือต้องมีความคล่องตัวและยืดหยุ่นได้สูง ทำงานแทนกันได้ ต้องพร้อมเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากภาวะไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นทั้งภายใน และภายนอก รร.นร. ซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้
๖. ต้องสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงานให้เกิดขึ้น เพื่อการพัฒนาสู่ความเป็นมืออาชีพในอนาคต
ทีนี้เราจะเริ่มกันอย่างไร เป็นคำถามต่อไปที่ต้องตอบให้ได้ การที่จะทำให้กำลังพลลุกขึ้นมา “เปลี่ยน” อย่างไม่มีเงื่อนไข และการ “เปลี่ยน” นั้น ตอบสนองเป้าหมายและตัวชี้วัดสำคัญของ รร.นร. รวมทั้งข้อกำหนดต่าง ๆ เช่น นโยบาย ผบ.ทร. แผนแม่บทการจัดการความรู้ของ ทร. ตลอดจนการปลดล็อคการจัดการความรู้ของ รร.นร. ที่จะทำให้การพัฒนา รร.นร.มีความยั่งยืน และสามารถยกระดับสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ องค์กรนวัตกรรม และองค์กรขีดสมรรถนะสูงได้ต่อไปนั้น เป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่ง
๒. วัตถุประสงค์(ระยะสั้น)ของ “การปรับกระบวนทัศน์ (paradigm) เพื่อการพัฒนาสู่ RTNA 4.0”
๒.๑ เพื่อให้ รร.นร.มีเว็บไซต์การจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ
๒.๒ เพื่อให้บุคลากรมีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติในการทำงาน โดยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองความต้องการของ รร.นร.มากขึ้น
๒.๓ เพื่อให้บุคลากรสามารถถ่ายทอดความรู้ผ่านระบบสารสนเทศด้วยตนเอง โดยไม่ต้องให้การ upload และ update ข้อมูล/องค์ความรู้เป็นภาระหน้าที่ของ Admin แต่เพียงผู้เดียว
๒.๔ เพื่อพัฒนาขีดสมรรถนะบุคลากรของ รร.นร.ด้านการใช้เทคโนโลยี และสร้างนวัตกรรม
๒.๕ เพื่อสร้างฐานข้อมูลความรู้ขนาดใหญ่ในระบบสารสนเทศของ รร.นร.
๒.๖ เพื่อให้การถ่ายทอดความรู้ การเข้าถึงความรู้ และการนำความรู้ไปใช้เป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และทั่วถึงทั้ง รร.นร.
๓. แผนดำเนินการ
การปรับกระบวนทัศน์ (paradigm) เพื่อยกระดับ รร.นร.สู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ องค์กรนวัตกรรม และองค์กรขีดสมรรถนะสูง หรือ RTNA 4.0 มีแผนดำเนินการสู่เป้าหมายในระยะเวลา ๓ ปี นับตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ โดยได้กำหนดตัวชี้วัดของผลผลิตในแต่ละปีตามภาพ
๔.ตารางควบคุมการปฏิบัติงานตามแผนระยะที่ 1 แผนการปรับกระบวนทัศน์ เพื่อความพร้อมในการพัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learn to Learn) 2560
ที่ | กิจกรรม | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. |
๑ | การ ลปรร.ของกลุ่มงาน | ♦ | ♦ | |||||||
๒ | พัฒนาโปรแกรมรองรับ | ♦ | ♦ | ♦ | ♦ | |||||
๓ | ขอความเห็นชอบแนวคิดต่อ ผบ.รร.นร. | ♦ | ||||||||
๔ | ขออนุมัติแผนดำเนินการ | ♦ | ||||||||
๕ | Share Vision
-ผบ.ชาระดับสูง – ผู้บริหารระดับกลาง—ระดับต้น – KM Fa และ/ผู้ปฏิบัติงาน |
♦ | ||||||||
๖ | จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง | ♦ | ♦ | ♦ | ||||||
๗ | อบรมการเขียนคู่ปฏิบัติงาน และการใช้ e-mail ในการสื่อสาร | ♦ | ♦ | |||||||
๘ | อบรม KM Author ๖ รอบ ๆ ละ ๔๐ คน | ♦ | ♦ | |||||||
๙ | อบรม KM Admin | ♦ | ||||||||
๑๐ | อบรม KM Audit | ♦ | ||||||||
๑๑ | การติดตามและประเมินผลการเข้าใช้งานในระบบสารสนเทศ | ♦ | ||||||||
๑๒ | วิเคราะห์ปัญหา/แก้ไข | ♦ | ||||||||
๑๓ | การบริหารจัดการองค์ความรู้ในระบบสารสนเทศ | ♦ | ||||||||
๑๔ | รายงานผลการดำเนินงานปี ๖๐ | ♦ |
๕. RTNA 4.0 Easy Step
๖. ประโยชน์ที่คาดว่า รร.นร.จะได้รับจาก “การปรับกระบวนทัศน์ (paradigm shift) เพื่อการพัฒนาสู่ RTNA 4.0”
๑. นขต.ต่าง ๆ รวมทั้งหน่วยย่อยของ นขต.รร.นร.มีการใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน เช่น มีการบันทึกคู่มือการปฏิบัติงานประจำตำแหน่ง ของแต่ละบุคคล ลงในระบบสารสนเทศมีบุคลากรที่มีขีดสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี และสามารถบันทึกความรู้ด้วยตนเอง
๒. รร.นร.มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลในการทำงาน และเรียนรู้ร่วมกันระหว่างบุคลากรภายใน รร.นร. ผ่านระบบเครือข่ายแบบคราวด์ (Cloud Computing Network) ที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถเข้าถึงและเรียกใช้งานจากทุกมุมโลก
๓. รร.นร.มีการใช้ระบบบริหารจัดการข้อมูลขององค์กรขนาดใหญ่ ด้วยเทคโนโลยี Enterprise Content Management System ผ่านระบบเครือข่ายแบบผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง ซึ่งมิได้จำกัดสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะผู้ดูแลระบบแต่เพียงผู้เดียว ทำให้การพัฒนาระบบสาสรสนเทศเพื่อการปฏิบัติการและการจัดการความรู้ เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
๔. มีการปฏิบัติงานบนฐานความรู้ โดยเรื่องของการโยกย้าย แทบจะไม่มีผลกระทบต่อความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน และไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนากระบวนการปฏิบัติงาน
๕. เพิ่มโอกาสในการสร้างนวัตกรรม จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
๖. มีจุดเริ่มต้นในการยกระดับองค์กรสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ องค์กรนวัตกรรม และองค์กรขีดสมรรถนะสูง
—————————–
โดย นาวาเอกหญิง ผศ.ขนิษนาฏ รัตนพฤกษ์
นายทหารประสานงานการจัดการความรู้
และเลขานุการคณะทำงานการจัดการความรู้ รร.นร.
๑๙ มิ.ย.๖๐