๔. การร้อยรอกและการแก้รอกพันกัน
รอกเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งในเรือ เป็นเครื่องหมายสำหรับช่วยแรงหรือผ่อนแรงในการยกของหรือลากของหนัก เช่น ในการชักเรือโบตและยกเครื่องจักรขึ้นและลง เป็นต้น
การร้อยรอก การร้อยรอกมีอยู่หลายวิธี ประโยชน์ของการร้อยรอกก็เพื่อให้ได้เปรียบในแรงงานเป็นเครื่องช่วยผ่อนแรงและประสงค์ให้ยกน้ำหนักได้มากการร้อยรอกที่ฝึกกันต่อไปนี้มี ๖ วิธี ซึ่งเป็นวิธีง่ายและใช้กันมาก ก่อนที่จะกล่าวถึงวิธีร้อยรอก ควรเข้าใจความหมายของคำต่าง ๆ ที่ใช้ในการร้อยรอก คือ.-
รอกตาย คือรอกที่ผูกติดอยู่ที่ เมื่อร้อยเชือกแล้วเคลื่อนที่ไม่ได้
รอกเป็น คือรอกที่ไม่ผูกติดอยู่กับที่ เมื่อร้อยเชือกเป็นแล้วเคลื่อนที่ได้
หางเชือกตาย คือหางเชือกที่ผูกติดอยู่กับที่
หางเชือกเป็น คือหางเชือกที่จับดึงหรือหย่อนได้
รอกจาด คือรอกที่ร้อยเชือกแล้ว สำหรับใช้งาน
* การร้อยรอกทุกอย่าง ให้ใช้หางเชือกตายเป็นเส้นที่ร้อยรอกก่อนเสมอ
ก. การร้อยรอกจาดเดี่ยว
๑) ร้อยรอกตาย (รอกตาเดียว ๑ ตัว) คือใช้เชือกร้อยรอกติดประจำที่โดยใช้รอกตาเดียวผูกติดประจำไว้ในที่สูง
วิธีร้อย ใช้หางเชือกตายร้อยเข้าไปในช่องร้อยรอกแล้วดึงหางเชือกลงมาสำหรับผูกสิ่งของที่จะใช้ยกขึ้นลง ผู้ดึงตึงทางต้นเชือก
ประโยชน์ ใช้ยกสิ่งของหนักเบาขึ้นลงหรือย้ายเคลื่อนที่จากที่ต่ำไปยังที่สูงหรือจากที่สูงมายังที่ต่ำ เช่น ใช้ยกกระป๋องสีขึ้นไปทาบนยอดเสาและปล่อง เป็นต้น
การใช้รอก โดยวิธีนี้ไม่มีการได้เปรียบในการผ่อนแรงดึงเลย แต่ถึงกระนั้นก็มีประโยชน์อยู่บ้างในการที่เราออกแรงดึงได้คล่องและสะดวก เพราะมีความฝืดน้อยกว่าที่จะใช้เชือกหาบบนสิ่งอื่น และเป็นการพักแรงด้วย
๒) ร้อยรอกเป็น (รอกตาเดียว ๑ ตัว)
วิธีร้อย ใช้หางเชือกตายร้อย แล้วเอาหางเชือกไปผูกประจำที่ไว้ (เรียกว่า ร้อยรอกวิ่งเดี่ยว) คือ ตัวรอกไม่ได้ติดประจำที่ ตัวรอกวิ่งขึ้น – ลงได้
ประโยชน์ การร้อยรอกวิธีนี้ คนดึงอยู่ในที่สูง ใช่สำหรับยกของจากที่ต่ำขึ้นไปบนที่สูงโดยใช้ขอของรอกเกี่ยวเข้ากับสิ่งของที่จะยก เช่น ยกของจากเรือโบตขึ้นบนเรือใหญ่ โดยผู้ที่ยกอยู่บนที่สูง ผ่อนแรงดึงลงได้ครึ่งหนึ่งหรือยกน้ำหนักได้เป็นสองเท่าของแรงดึง
ข. ร้อยรอกจาดตาเดียว ๒ ตัว (รอก ๑ ตา กับ ๑ ตา)
๑) ร้อยวิธีดึงลง ใช้ร้อยรอกตาเดียว ๒ ตัว ตัวบนเป็นรอกตาย ตัวล่างเป็นรอกเป็น หางเชือกเป็น อยู่ทางรอกตาย (ตัวบน)
วิธีร้อย ใช้หางเชือกตายร้อยผ่านรอกตาย (ตัวบน) แล้วร้อยผ่านรอกเป็น (ตัวล่าง) หางเชือกตายผูกติดกับรอกตาย (ตัวบน)
ประโยชน์ จะได้เปรียบแรงงานครึ่งหนึ่งของน้ำหนักที่ยก หรือได้เป็น ๒ เท่าของแรงดึง วิธีร้อยรอกตาเดียว ๒ ตัว มีวิธีร้อยอีกแบบหนึ่ง คือ แทนที่จะเอาหางเชือกตายไปผูกติดกับรอกตายนั้น ให้เอาเชือกตายไปผูกติดประจำที่ที่ใกล้กับที่ผูกรอกตาย
๒) ร้อยวิธีดึงขึ้น คือ ให้รอกตัวหนึ่ง เป็นรอกตาย อีกตัวหนึ่งเป็นรอกเป็นโดยให้หางเชือกเป็น อยู่ทางรอกเป็น
วิธีร้อย ใช้หางเชือกตายร้อยผ่านรอกเป็นแล้วไปร้อยผ่านรอกตาย เอาหางเชือกตายกลับมาผูกติดกับรอกเป็น (ตัวล่าง)
ประโยชน์ จะได้เปรียบในแรงงาน ๑ ใน ๓ ของน้ำหนักที่ยก คือ ของหนัก ๓ เท่า ออกแรงเพียง ๑ เท่า ดึงไม่สะดวก เพราะผู้ดึงอยู่ข้างบน
ค. ร้อยรอกจาดตาเดียวกับสองตา (รอก ๑ ตา กับ ๒ ตา )
๑) ร้อยวิธีดึงลง ให้ใช้รอกสองตาเป็นรอกตาย รอกตาเดียวเป็นรอกเป็น
วิธีร้อย ใช้หางเชือกตายร้อยผ่านรอกตายรอกสองตา (ตัวบน) ต่อไปร้อยผ่านรอกเป็นตาเดียว (ตัวล่าง) แล้วไปร้อยผ่านรอกสองตารอกตาย (ตัวบน) เอาหางเชือกตายมาผูกติดกับรอกเป็น (ตัวล่าง)
ประโยชน์ การร้อยดึงลงวิธีนี้จะได้เปรียบแรงงาน ๓ ใน ๔ ของน้ำหนักที่ยก คือ ของหนัก ๔ เท่า โดยออกแรงถึงเพียง ๑ เท่า
๒) ร้อยวิธีดึงขึ้น โดยให้รอกตาเดียวเป็นรอกตาย (ตัวบน) รอกสองตาเป็นรอกเป็น (ตัวล่าง)
วิธีร้อย โดยเอาหางเชือกตายร้อยผ่านลูกรอกลูกใดลูกหนึ่งของรอกเป็นรอกสองตา (ตัวล่าง) ต่อไปเอาหางเชือกตายร้อยผ่านลูกรอกของรอกตายตาเดียว (ตัวบน) แล้วกลับมาร้อยผ่านลูกรอกอีกลูกหนึ่งของรอกเป็นรอกสองตา (ตัวล่าง) และนำหางเชือกตายไปผูกติดกับรอกตายตาเดียว (ตัวบน)
ประโยชน์ การร้อยดึงขึ้นนี้จะได้เปรียบแรง ๒ ใน ๓ ของน้ำหนักที่ยกจะได้ ๓ เท่าของน้ำหนักของ แต่การร้อยวิธีนี้มีข้อเสีย คือ ดึงไม่สะดวกเพราะต้องดึงขึ้น
ง. ร้อยรอกจาดสองตาสองตัว (รอก ๒ ตา กับ ๒ ตา) ใช้รอกสองตา ๒ ตัว ตัวหนึ่งเป็นรอกตาย อีกตัวหนึ่งเป็นรอกเป็น ถ้าร้อยให้หาหงเชือกเป็นอยู่บนเรียกว่า “ดึงลง” ถ้าร้อยหางเชือกเป็นอยู่ทางล่างเรียกว่า “ดึงขึ้น”
๑) ร้อยวิธีดึงลง คือให้หางเชือกเป็นอยู่ทางรอกตาย
วิธีร้อย ใช้หางเชือกตายร้อยผ่านลูกรอกที่หนึ่งของรอกตาย (รอกตัวบน) ก่อนต่อไปร้อยผ่านลูกรอกที่หนึ่งของรอกเป็น (รอกตัวล่าง) และต่อไปร้อยผ่านลูกรอกลูกที่สองของรอกตาย (รอกตัวบน) แล้วกลับมาร้อยผ่านลูกรอกลูกที่สองของรอกเป็น (รอกตัวล่าง) เสร็จแล้วนำหางเชือกตายกลับไปผูกติดกับรอกตาย (รอกตัวบน)
ประโยชน์ การร้อยรอกวิธีนี้ได้กำลังดี ผ่านแรงดึงลง ๓ ใน ๔ ของน้ำหนักที่ยก คือ สามารถยกน้ำหนักได้เป็น ๔ เท่า ของแรงดึง ดึงได้สะดวกและยกน้ำหนักได้กำลังดีกว่าร้อยวิธีดึงขึ้น ใช้ยกเรือโบตที่มีขนาดใหญ่ และเรือยนต์
๒) ร้อยวิธีดึงขึ้น คือให้หางเชือกเป็นอยู่ทางรอกเป็น คือหางเชือกเป็นอยู่ทางล่างนั่นเอง
วิธีร้อย ใช้หางเชือกตายร้อยผ่านลูกรอกลูกที่หนึ่งของรอกเป็น (รอกตัวล่าง) แล้วไปร้อยผ่านลูกรอกที่หนึ่งของรอกตาย (ตัวบน) และต่อไปร้อยผ่านลูกรอกตัวที่สองของรอกเป็น (รอกตัวล่าง) แล้วกลับขึ้นไปร้อยผ่านลูกรอกลูกที่สองของรอกตาย (ตัวบน) เสร็จแล้วนำหางเชือกตายไปผูกติดกับรอกเป็น (รอกตัวล่าง)
ประโยชน์ การร้อยวิธีนี้สามารถผ่อนแรงดึงได้ถึง ๔ ใน ๕ ของน้ำหนักที่จะยก คือ สามารถยกน้ำหนักได้เป็น ๕ เท่า ของแรงดึง แต่วิธีนี้ดึงไม่สะดวก เพราะผู้ดึงจะต้องอยู่ข้างบน
จ. ร้อยรอกจาดสองตากับสามตา (รอกสองตา ๑ ตัว กับรอก ๓ ตา ๑ ตัว) ใช้รอกทั้งสองชนิดเป็นรอกเป็นและรอกตาย คือ ถ้าใช้รอกสามตาเป็นรอยตายก็ให้รอกสองตาเป็นรอกเป็น และถ้าใช้รอกสองตาเป็นรอกตายก็ต้องใช้รอกสามตาเป็นรอกเป็น
๑) ร้อยวิธีดึงลง คือให้รอกสามตาเป็นรอกตาย ส่วนรอกสองตาเป็นรอกเป็น
วิธีร้อย ใช้หางเชือกตายร้อยผ่านลูกรอกลูกที่หนึ่งของรอกตายสามตา (รอกตัวบน) ก่อนต่อไปร้อยผ่านลูกรอกลูกที่หนึ่งของรอกเป็นรอกสองตา (รอกตัวล่าง) ต่อไปร้อยผ่านลูกรอกลูกที่สองของรอกตาย (รอกตัวบน) แล้วเอาไปร้อยผ่านลูกรอกเป็น (รอกตัวล่าง) และต่อไปร้อยผ่านลูกรอกลูกที่สามของรอกตาย (รอกตัวบน) เสร็จแล้วนำหางเชือกมาผูกติดกับรอกเป็นรอกสองตา (รอกตัวล่าง)
ประโยชน์ การร้อยวิธีนี้ผ่านแรงดึงได้ ๔ ใน ๕ ของน้ำที่ยก คือสามารถยกน้ำหนักได้ ๕ เท่า ของแรงดึง หมายความว่าออกแรงดึงเพียง ๑ เท่า จะยกนำหนักได้ถึง ๕ เท่า
๒) ร้อยวิธีดึงขึ้น คือให้รอกสามตาเป็นรอกเป็น รอกสองตาเป็นรอกตาย หางเชือกเป็นผ่านรอกตัวล่าง (รอกเป็น) คือใช้ดึงขึ้นดึงทางบนหรือเรียกว่าหางเชือกอยู่ทางบนนั่นเอง
วิธีร้อย ใช้หางเชือกตายร้อยรอกตัวล่าง คือ รอกเป็นรอกสามตาก่อนโดยเอาหางเชือกร้อยผ่านลูกรอกลูกที่หนึ่งของรอกเป็น ต่อไปร้อยผ่านลูกรอกลูกที่หนึ่งของรอกตายสองตา (รอกตัวบน) แล้วต่อไปร้อยผ่านลูกรอกลูกที่สามของรอกตายรอกสองตา (รอกตัวบน) และกลับมาร้อยผ่านลูกรอกลูกที่สามของรอกสามตา (รอกตัวล่าง) เสร็จแล้วเอาหางเชือกตายไปผูกกับรอกตายรอกสองตา (รอกตัวบน)
ประโยชน์ การร้อยวิธีนี้จะผ่านแรงดึงได้ถึง ๕ ใน ๖ ของน้ำหนักที่ยก คือ สามารถที่จะยกน้ำหนักได้ถึง ๖ เท่า โดยออกแรงดึงเพียง ๑ เท่า ข้อเสีย คือ ไม่สะดวก เพราะผู้ดึงอยู่ข้างบน
ฉ. ร้อยรอกจาดสามตาสองตัว (รอก ๓ ตา กับ ๓ ตา) เป็นรอกเป็นตัวหนึ่งรอกตายตัวหนึ่ง และร้อยเป็นสองวิธี คือ ร้อยให้หางเชือกเป็นอยู่ทางรอกตาย เรียกว่า ร้อยวิธีดึงลง และร้อยให้หางเชือกเป็นอยู่ทางรอกเป็น เรียกว่า ร้อยวิธีดึงขึ้น แต่ส่วนมากที่ร้อยกันนั้นใช้หางเชือกเป็นอยู่ทางรอกตาย คือ ร้อยวิธีดึงลง การร้อยรอกสามตาสองตัวนี้จะร้อยให้เส้นเชือกเรียงกันตามลำดับอย่างรอกสองตากับตาเดียวหรือสองตาสองตัว หรือสามตากับสามตาไม่ได้ เพราะกำลังที่กระทำจะไม่อยู่กลางของรอก ฉะนั้นการร้อยจะต้องให้หางเชือกทั้งสอง (หางเชือกเป็น และหางเชือกตาย) ออกทางลูกรอกลูกล่างของรอกเป็นและรอกตาย (ลูกรอกลูกที่สอง) ทั้งสองวิธี
๑) ร้อยวิธีดึงลง คือ ร้อยให้หางเชือกเป็นอยู่ทางรอก ตาย (รอกตัวบน) ดึงลง หรือร้อยให้หางเชือกดึงอยู่ทางล่าง
วิธีร้อย เอาหางเชือกตายร้อยผ่านลูกรอกลูกกลาง (ลูกที่สองของรอกตาย) (รอกตัวบน) ต่อไปร้อยผ่านลูกรอกลูกที่หนึ่ง ของรอกเป็นและต่อไปร้อยผ่านลูกรอกลูกที่หนึ่งของรอกตาย (รอกตัวบน) แล้วย้อนมาร้อยผ่านลูกรอกลูกที่สามของรอกเป็นแล้วสลับขึ้นไปร้อยผ่านลูกรอกลูกที่สามของรอกตาย แล้วกลับมาร้อยผ่านลูกรอกที่สองของรอกเป็นเสร็จแล้วเอาหางเชือกตายไปผูกที่รอกตาย (รอกตัวบน)
ประโยชน์ การร้อยวิธีนี้จะผ่านแรงดึงลง ๕ ใน ๖ ของน้ำหนักที่ยก คือ สามารถที่จะยกน้ำหนักได้ถึง ๖ เท่า โดยใช้แรงดึงแค่ ๑ เท่า เท่านั้น และทั้งดึงได้สะดวก
๒) วิธีร้อยดึงขึ้น การร้อยก็คงใช้วิธีร้อยเช่นเดียวกันกับวิธีดึงลง แค่ร้อยหางเชือกตายผ่านลูกรอกลูกกลาง (ลูกที่สอง) ของรอกเป็น (รอกตัวล่าง) ก่อนเท่านั้น
วิธีร้อย คือเอาหางเชือกตายร้อยผ่านลูกรอกลูกกลางของรอกเป็น (รอกตัวล่าง ) ก่อนแล้วร้อยผ่านลูกรอกลูกที่หนึ่งของรอกตาย (รอกตัวบน) แล้วย้อนกลับลงมาร้อยผ่านลูกรอกลูกที่หนึ่งของรอกเป็น ต่อไปก็ร้อยผ่านลูกรอกลูกที่สามของรอกตายและกลับมาร้อยผ่านลูกลูกที่สามของรอกเป็น และกลับขึ้นไปร้อยผ่านลูกรอกลูกกลาง (ลูกที่สองของรอกตายเสร็จแล้วเอาหางเชือกตายกลับมาผูกกับรอกเป็น (รอกตัวล่าง)
ประโยชน์ การร้อยรอกวิธีนี้ได้แรงดึงดียิ่งกว่าการร้อยรอกวิธีอื่น ๆ สามารถผ่านแรงดึงได้ ๖ ใน ๗ ของน้ำหนัก คือ สามารถยกน้ำหนักได้ ๗ เท่า โดยออกแรงดึงแต่เพียง ๑ เท่า เท่านั้น
วิธีร้อยรอกสามตาสองตัว ทั้งในการดึงลงและดึงขึ้นนั้น ยังมีอีกแบบหนึ่ง คือ ร้อยผ่านลูกรอกลูกกลางของรอก เป็นรอกตายก่อน ดังจะได้กล่าวต่อนี้
๑) ร้อยวิธีดึงลง เอาหางเชือกตายร้อยผ่านบลูกรอกลูกกลางของรอกตาย (รอกตัวบน) แล้วไปร้อยผ่านลูกรอกลูกกลางของรอกเป็น (รอกตัวล่าง) ต่อไปร้อยผ่านลูกรอกลูกที่หนึ่งของรอกตาย แล้วย้อนกลับลงมาร้อยผ่านลูกรอกลูกที่หนึ่งของรอกเป็นแล้วกลับขึ้นไปร้อยผ่านลูกรอกลูกที่สามของรอกตาย ต่อมาร้อยผ่านลูกรอกลูกที่สามของรอกเป็น เสร็จแล้วเอาหางเชือกตายไปผูกกับรอกตาย
๒) ร้อยวิธีดึงขึ้น การร้อยก็คือ ร้อยตามวิธีดึงลงเหมือนกัน เป็นแค่ร้อยหางเชือกตายผ่านลูกรอกลูกกลางของรอกเป็นก่อน ต่อไปก็ร้อยผ่านลูกรอกลูกกลางของรอกตาย และต่อ ๆ ไป ตามวิธีดึงลง
วิธีร้อย เอาหางเชือกตายร้อยผ่านลูกรอกลูกกลางของรอกเป็น (รอกตัวล่าง) แล้วไปร้อยผ่านลูกรอกลูกกลางของรอกตาย (รอกตัวบน) ต่อไปร้อยผ่านลูกรอกลูกที่หนึ่งของรอกเป็นแล้วย้อนกลับขึ้นไปร้อยผ่านลูกรอกลูกที่หนึ่งลองรอกตาย แล้วกลับลงมาร้อยผ่านลูกรอกลูกที่สามของรอกเป็น ต่อมาร้อยผ่านลูกรอกลูกที่สามของรอกตาย เสร็จแล้วเอาหางเชือกตายไปผูกกับรอกเป็น (ตัวล่าง)
ในการร้อยรอกสองตากับตาเดียวและสองตาสองตัวนั้น จะนับลูกรอกเป็นลูกที่ ๑ ที่ ๒ ก็ได้ แค่ลูกรอกลูกกลางนั่นต้องเป็นลูกรอกที่สองเสมอไป และการนับต้องให้เป็นแบบเดียวกันทั้งรอกเป็นและรอกตาย กล่าวคือ ถ้ารับลูกที่ ๑ มาจากทางขวาหรือกลับกันตรงข้าม ก็จะต้องมาจากทางขวาหรือกลับเป็นทั้งรอกเป็นและรอกตาย
ช. วิธีร้อยรอกสเปน (SPANISH BURTON) ใช้รอกตาเดียว ๒ ตัว และขอ ๑ อัน รอกตัวหนึ่งเป็นรอกเป็น อีกตัวหนึ่งเป็นรอกตาย รอกเป็นนี้ใช้หางเชือกยกของข้างหนึ่งมาทำเป็นตลกรอก
วิธีร้อย เอาหางเชือกตายร้อยผ่านลูกรอกของรอกเป็น (รอกตัวล่าง) แล้วไปร้อยผ่านลูกรอกของรอกตาย (รอกตัวบน) เสร็จแล้วเอาหางเชือกตายมาผูกกับรอกเป็น ส่วนขอที่ใช้เกี่ยวสิ่งของนั้นติดกับเชือกเป็น เมื่อผ่านรอกเป็นมาแล้ว
ประโยชน์ การร้อยรอกวิธีนี้ไม่ค่อยจะมีใช้ เพราะยกของได้ในระยะจำกัด การร้อยรอกตามวิธีที่กล่าวนี้ได้เปรียบในการผ่อนแรงดึงลง ๒ ใน ๓ ของน้ำหนักที่ยก คือ สามารถยกของได้หนัก ๓ เท่าของแรงดึง
ซ. วิธีร้อยรอกวิ่งผสม (RUNNER AND TACKLE) ใช้รอกตาเดียว ๒ ตัว และรอกสองตา ๑ ตัว รอกตาเดียวตัวหนึ่งเป็นรอกตาย รอกตาเดียวอีกหนึ่งตัวกับรอกสองตาเป็นรอกเป็น ใช้เชือกสำหรับร้อยรอก ๒ เส้น
วิธีร้อย ที่รอกตาย (รอกตาเดียว) ใช้หางเชือกเส้นหนึ่งร้อยผ่านลูกรอก แล้วเอามาทำเป็นตลกรอกของรอกสองตา หรือถ้าที่รอกสองตามีตลกรอกอยู่แล้ว ก็เอาหางเชือกผูกเข้ากับห่วงของตลกรอกที่กล่าวแล้ว จากนั้น เอาหางเชือกอีกเส้นหนึ่งร้อยผ่านลูกรอกที่หนึ่งของรอกสองตา ต่อไปก็ร้อยผ่านลูกรอกของรอกตาเดียวตัวล่าง แล้วย้อนกลับขึ้นไปร้อยผ่านลูกรอกลูกที่ ๒ ของรอกสองตา แล้วแล้วเอาหางเชือกกลับมาผูกกับรอกตาเดียว
ประโยชน์ การร้อยวิธีนี้ ได้เปรียบในการผ่อนแรงดึงลดลงได้ ๗ ใน ๘ ของน้ำหนักที่ยก คือยกน้ำหนักได้ ๘ เท่าของแรงดึง ใช้กับลวดที่โยงเสา ยกเรือยนต์ หรือใช้ในการยกขาปั้นจั่น
ฌ. วิธีร้อยรอกจิกเกอร์ (JIGGER) ใช้ในการร้อยรอกเล็กทั่วไป โดยใช้รอกสองตา ๑ ตัว ซึ่งมีหางตลกรอกยาวออกไปพอสมควร ซึ่งเรียกว่า หางจิกเกอร์ กับใช้รอกตาเดียวที่มีขอเกี่ยว ๑ ตัว
วิธีร้อย ร้อยเช่นเดียวกันกับวิธีร้อยรอกสองตากับตาเดียว และใช้หางจิกเกอร์พันกับเชือกใหญ่ที่มั่นคงพอ ไม่ต้องการใช้รอกที่ร้อย
ประโยชน์ การร้อยรอกตามวิธีนี้ได้เปรียบในการผ่อนแรงดึงลง ๒ ใน ๓ ของน้ำหนัก
หมายเหตุ ถ้ารอกตัวล่างของจิกเกอร์เป็นรอกสองตา จะสามารถยกของได้หนัก ๔ เท่าของแรงดึง
ญ. วิธีร้อยรอกสเปนคู่ (A DOUBLE SPANISH BURTON) การร้อยรอกสเปนคู่ แบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือ
๑) ใช้รอกตาเดียว ๓ ตัว ใช้เป็นรอกตาย ๑ ตัว รอกเป็น ๒ ตัว
วิธีร้อย เอารอกตาเดียวตัวหนึ่งผูกติดประจำที่เป็นรอกตาย เอาหางเชือกข้างหนึ่งผูกติดกับตลกรอกของรอกเป็น (คือ รอกตาเดียวตัวที่ ๒ ดูรูป) แล้วเอาหางเชือกข้างหนึ่งร้อยผ่านรอกตาย (คือ รอกตาเดียวตัวที่ ๑) นำเอาหางเชือกมาผูกติดกับตลกรอกของรอกเป็นอีกตัวหนึ่ง (คือ รอกตาเดียวตัวที่ ๓) ต่อไปเอาหางเชือกตายอีกเส้นหนึ่ง (คือ เชือกสำหรับยกของ) ร้อยผ่านลูกรอกของรอกเป็นตัวแรก (คือ รอกตาเดียวตัวที่ ๒) แล้วนำไปร้อยผ่านลูกรอกของรอกเป็นตัวหลัง (คือ รอกตาเดียวตัวที่ ๓) เสร็จแล้วแล้วเอาหางเชือกไปผูกประจำที่ไว้
ประโยชน์ การร้อยวิธีนี้ ผ่อนแรงได้ ๔ ใน ๕ เท่าของแรงดึง แต่ยกของได้ในระยะจำกัด คือได้ระยะเท่ากับความยาวของเส้นเชือกที่ร้อยผ่านรอกตาย
๒) ใช้รอกตาเดียว ๒ ตัว และรอกสองตา ๑ ตัว ใช้รอกสองตาเป็นรอกตาย รอกตาเดียวเป็นรอกเป็น
วิธีร้อย ใช้หางเชือกตลกรอกของรอกเป็นตัวที่ ๑ (ดูรูป) ร้อยผ่านลูกรอกลูกที่ ๑ ของรอกตาย (รอกสองตา) แล้วเอาไปผูกติดกับตลกรอกเป็นตัวที่ ๑ แล้วไปร้อยผ่านลูกรอกของรอกเป็นตัวที่ ๒ ต่อไปร้อยผ่านลูกรอกที่ ๒ ของรอกตาย แล้วเอาหางกลับลงมาผูกติดกับตลกรอกของรอกเป็นตัวที่ ๒
ประโยชน์ ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์เช่นเดียวกับการใช้รอกตาเดียว ๓ ตัว
ฎ. วิธีร้อยรอกสามตา ๒ ตัว (แบบเรียงเส้น) ใช้รอกสามตา ๒ ตัว ทำเป็นรอกตายตัวหนึ่ง อีกตัวหนึ่งเป็นรอกเป็น
วิธีร้อย ใช้หางเชือกร้อยตามลำดับลูกรอก คือ ร้อยผ่านลูกรอกลูกที่หนึ่งของรอกตายก่อนแล้วมาร้อยผ่านลูกรอกลูกที่ ๑ ของรอกเป็น และต่อไปตามลำดับ เสร็จแล้วเอาหางเชือกตายไปผูกติดประจำกับรอกตาย
ประโยชน์ ใช้ยกน้ำหนักได้ ๖ ถึง ๗ เท่าของแรงดึง
ฏ. วิธีร้อยรอกสี่ตา ๒ ตัว (แบบเรียงเส้น) โดยทำเป็นรอกตายและรอกเป็นอย่างละตัว
วิธีร้อย ร้อยรอกตามลำดับลูกรอกหรือร้อยเรียงเส้น คือ ใช้หางเชือกตาย ร้อยผ่านลูกรอกลูกที่ ๑ ของรอกตายก่อน แล้วไปร้อยผ่านลูกรอกลูกที่ ๑ ของรอกเป็น ต่อๆ ไปตามลำดับ เสร็จแล้วเอาหางเชือกตายไปผูกติดประจำกับรอกตาย (ดูรูป) ร้อยตามลำดับหมายเลข คือ ร้อยตั้งแต่ ๑ ก่อน และต่อไปโดยเรียงลำดับจนหมดตารอก
ประโยชน์ ใช้ยกของหนักได้ถึง ๘ หรือ ๙ เท่าของแรงดึง
ซ. แก้รอกพันกัน (บิเลารอก)
เมื่อรอกที่พันกันยิ่งจะด้วยเหตุที่เกิดจากการใช้งานหรือเก็บไว้ไม่เรียบร้อยจนพันกันยุ่ง จะต้องรู้หลักปฏิบัติในการแก้รอก ดังนี้คือ
วิธีแก้
๑) ตรวจดูอย่างพิจารณาไปตามเส้นเชือกรอกจากบนลงล่าง (ตรวจเมื่อรอกแขวนอยู่แล้ว)
๒) ใช้มือล้วงลงไปตามเส้นเชือกที่พันกันยุ่ง จากบนไปข้างล่าง แล้วจับขอรอกยกขึ้นมาแล้ว ปล่อยทิ้งลงไป
๓) ตรวจดูอย่างพิจารณาไปตามเส้นเชือกรอกจากบนลงล่าง (ใช้มือจับเส้นเชือกแยก ช่วยในการดูก็ได้)
๔) ใช้มือล้วงลงไปตามเส้นเชือกที่ยังพันกันจากบนลงไปล่าง และให้ปฏิบัติเช่นเดียวกันที่ทำมาแล้ว ตนกว่ารอกจะหายยุ่งไม่พันกัน